ผมลองเปลี่ยนเป็น 15 OHMก็ช่วยได้นิดหน่อยครับ แต่ก็ยังร้อนอยู่ ซึ่งดูแล้วไม่น่าจะเป็นการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง เพราะ LT 1085 ที่ผมใช้แทน LM317 จ่ายกระแสได้ถึง 3 A. ในขณะที่ค่า R ที่เราเลือกใช้ในวงจรคือ R 12 OHM ทำหน้าที่จำกัดกระแส ของ LM 317 ซึ่งทำหน้าที่เป็น CURRENT SOURCE ซึ่งหากลองคำนวณดูคร่าวๆ lm317 จ่ายกระแสให้โหลดไม่เกิน 100มิลลิแอมป์ ด้วยซ้ำ ส่วน TL431 หลักการทำงานก็เหมือน ZENER DIODE ตัวหนึ่งแค่นั้น ทำหน้าที่แค่รักษาแรงดันตกคร่อมตัวมัน โดยมี R 1 K. 2 ตัว เป็นตัวกำหนด เพื่อให้จ่ายแรงดันได้ 5 V. ผมว่าน่าจะเกิดจากการคำนวณค่า R ผิดพลาดหรือเปล่าครับ ทำให้มีกระแสไหลผ่าน TL431 มากเกินไปกว่าที่ตัวมันจะรับได้ เหมือนกับหลักการของ ZENER DIODE คือแทนที่กระแสจะไปไหลผ่านโหลด กลับไปไหลผ่าน TL 431 แทน
เชื่อเต่อว่า....เปลื่ยนค่า R มากขึ้นก็ไม่ร้อนแล้ว...ของผมใช้ 47 Ohm. ก็ใช้ได้ดีครับ..... 
ถูกต้องแล้วครับ

ตามวงจร LM317t ทำหน้าที่จ่ายกระแสคงที่ค่าหนึ่ง ซึ่งจำเป็นต้องมีโหลดที่ sink กระแสทั้งหมด โดยที่โหลดก็คือ TL431 และ TDA1541A
ยกตัวอย่างเช่น
LM317t ใช้ R limit กระแส 12 โอห์ม กระแสที่ไหลทั้งหมดเท่ากับ 1.25/12 = 104 mA
ถ้า TDA1541A ต้องการ 15v คิดที่กระแสสูงสุด 35mA (ไม่คิดเครื่องหมายลบ)
ดังนั้นกระแสที่เหลือทั้งหมด 69 mA
ไหลผ่าน R1k+R5.1K = 2.4mA และ TL431 รับไป 66.6mA
power ตกคร่อม TL431 คือ 66.6mA * 15V =0.999W ครับ
ซึ่ง TL431LP ตัวถัง TO-92 ทนได้แค่้ 0.7W
เกิน Maximum power rating ครับ ตัว TL431 จะร้อนมาก ยิ่งถ้าไม่ได้ใส่ TDA1541 ก็ยิ่งไปกันใหญ่
วิธีแก้ก็คือลดกระแสที่ LM317 จ่ายออกมา โดยเพิ่ม R
เช่น ให้กระแสไหล 50mA ใช้ R = 1.25/50mA = 25 โอห์ม
ทำให้ power ตกคร่อม TL431 คือ 12.6mA * 15V =0.189W
ความร้อนลดลงมากเลยครับ
โดยสามารถนำไปคำนวนกระแส ที่แรงดันไฟค่าอื่นๆ ได้ครับ