ลองอ่านวิธีการใช้มิเตอร์ที่นี่ครับ
http://ice.co.th/beginner/study/multimtr.htm
ส่วนการใช้มิเตอร์แบบเข็ม วัดตัวเก็บประจุจะเป็นการวัดง่าย ๆ ว่าช๊อตหรือไม่เท่านั้น โดยการตั้งมิเตอร์ที่ย่านวัดความต้านทาน ใช้สายมิเตอร์แตะเข้าที่ขาทั้ง 2 ของ ตัวเก็บประจุ เข็มจะตีขึ้นไปทางขวา และ ค่อย ๆ ลดลง กลับมาทางซ้าย ถ้าตัวเก็บประจุไม่ช๊อต เข็มจะต้องลงกลับมาทางซ้ายจนสุด ถ้าเข็มลดลงมานิ่งค้าง หรือ ขึ้นไปค้างอยู่ด้านขวาตลอด แสดงว่าตัวเก็บประจุนั้นช๊อต ตัวเก็บประจุค่าน้อยมาก ๆ เช่น .0XX จะวัดไม่ค่อยได้ครับ เข็มจะขึ้นน้อยมากจนแทบสังเกตุไม่เห็น ส่วน จะใช้มิเตอร์ย่าน R x1 R x10 หรือมากกว่านั้น ต้องลองดูครับ ว่าย่านไหนจะทำให้ดูง่ายที่สุด แต่ในทุกย่าน เข็มจะต้องกลับไปทางซ้ายสุดเหมือนกัน หลังจากวัดเสร็จ ควร คายประจุด้วยการ ช๊อตขาตัวเก็บประจุ แล้วสลับสายมิเตอร์ลองวัดซ้ำอีกครั้ง ... วิธีการวัดแบบนี้ จะบอกค่าของตัวเก็บประจุไม่ได้ และ วิธีการวัดแบบนี้ จะทดสอบตัวเก็บประจุที่แรงดันต่ำ ๆ เท่านั้นครับ ถ้าใช้แรงดันสูง ตัวเก็บประจุ อาจจะช๊อตได้ อีกอย่างหนึ่ง ขณะทำการวัด อย่าให้นิ้วมือไปโดนขั้วตัวเก็บประจุทั้ง 2 ข้าง เพราะตัวเรามีความต้านทาน เมื่อใช้ย่านการวัดสูง ๆ เข็มอาจจะค้างเพราะมือเราได้ครับ ควรใช้สายปากคีบดีกว่า
เพิ่มเติมจากอ.Mcครับ ผลการวัดCจะเป็นได้3กรณีดังนี้ครับ ให้ตั้งย่านวัดไปที่วัดค่าความต้านทานที่ค่าสูงที่สุดRx10k บางเครื่องRx100k
1.ถ้าปกติ เข็มของมิเตอร์จะต้องตีขึ้นไปด้านขวาและค่อยๆลดลงมาทางซ้ายตามอ.Mcบอกครับ(แค่วัดเบื้องต้นนะครับ บางทีอาจเชื่อถือไม่ได้ จะให้ชัวว์ต้องใช้มิเตอร์ดิจิตอลที่สามารถวัดค่าCได้ครับ)
2.กรณีCช๊อตหรือรั่ว เข็มของมิเตอร์จะตีขึ้นไปด้านขวาเหมือปกติแต่จะไม่ลดลงมาด้านซ้ายครับ คือมันจะค้างอยู่ตรงนั้นเลย
3.กรณีCขาด เข็มของมิเตอร์จะไม่ขึ้นเลยครับไม่ว่าเราจะสลับสายวัดอย่างไรก็ตาม
ย้ำอีกนิดตามที่ อ.Mcบอกห้ามไม่ให้น้วมือไปโดนที่ปลายสายวัดเด็ดขาดเพราะตัวคนเรามีค่าความต้านทานจะทำให้เข็มตีขึ้นไปด้านขวาได้ อีกอย่างถ้าเรานำไปวัดCที่มีค่าแรงดันสูงอาจโดนไฟดูดได้นะครับ

อีกอย่างสเกลของการวัดค่าความต้านทานจะแตกต่างจากการวัดอื่นๆคือความต้านทานเลขศูนย์จะอยู่ด้านขวา แถวบนสุด แต่อย่างอื่นศูนย์จะอยู่ด้านซ้ายครับ