ต่อประเด็นมาจากเครื่องกรองไฟข้างบน
![yes Y]](https://www.htg2.net/Smileys/default/57.gif)
ขอมาเติมเรื่องแนวทฤษฎีๆหน่อย

คือว่าที่ผ่านมามีโอกาสเอาข้าวของชาวบ้านมาฟังเทียบกันหลายตัว มีโอกาสได้กลับไปคิดถึงทฤษฎีที่ผู้รู้ท่านเคยแนะนำไว้หลายปีก่อน หลักๆคือเวลาเราเปรียบเทียบอุปกรณ์ โดยการฟัง หรือ มีอุปกรณ์ใหม่มาลอง แนะนำให้สังเกตุลักษณะ 3 ประการหลัก ดังนี้
1. Total Balance (TB) สมดุลของเสียง การตอบสนองความถี่ย่านต่ำสุดไปจนสูงสุด หรือ ความดังของเสียงเครื่องดนตรีต่างๆทุ้ม กลาง แหลม
2. Dynamic Range (DR) ความกว้างของเสียง ดังสุดจนดังเบาสุด ว่าแคบหรือกว้างเพียงใด
3. Dynamic Contrast (DC) ความคมชัดรายละเอียดของเสียง ความแตกต่างของ (โน๊ต) เสียงทั้งหมดที่ได้ยิน และ ความสงัด
หากวาดเป็นวงกลม 3 วง ตามทฤษฎีเซ็ตที่เคยเรียนกันมาตอนเด็กๆ ส่วนพื้นที่ทับกัน (ระบายสีลงไปตรงกลาง) จะเป็นที่ของเสียงที่ดีที่สุดของเสียง ยิ่งมีมากเท่าไหร่ยิ่งดี หมายความว่าทั้ง 3 องค์ประกอบมีมากและมีความเท่าเทียมกัน
สมดุลของเสียง ควรจะ flat หากเขียนเป็นกราฟก็จะเป็นเส้นตรงแนบราบ ไม่มีจุดใดสูงขึ้นหรือต่ำลงไป การมีเบสมาไป ต่ำไป กลางและสูงดังไป ก็เสีย tonal balance ไปนั่นเอง
การสังเกตุ: ฟังหลายๆแผ่น หลายเพลง สังเกตุสมดุลเสียงของดนตรี ดังเท่าๆกัน (ดังตามที่แต่ละชิ้นควรจะดัง) ไม่มีชิ้นใดดังมากหรือน้อยไป เช่น เสียงทรัมเป็ด ไม่ดังล้นออกมา แล้วก็ต้องเช็คสมดุลเสียงที่ความดังต่างกันด้วย บางครั้งเมื่อเร่งวอลลุ่มขึ้นเพราะต้องการฟังเสียงกีต้าร์เบาๆ แต่เสียงเครื่องดนตรีอื่นดังขึ้นล้ำหน้าไปเยอะได้ ในถ้าตรงกันข้ามเมื่อหรี่เสียงกลองลงเสียงอื่นดันหายไปจนไม่ได้ยินได้เช่นกัน
ความกว้างของเสียง ยิ่งกว้างยิ่งดี เพราะเครื่องดนตรีในชีวิตจริงมีความกว้างทีสุด กลองดังสนั่นลั่นโรง ขลุ่ยแผวเบาพอให้ได้ยิน หากกลองไม่ดัง หรือขลุ่ยดังไป ก็จะเสียอรรถรสของผู้แต่งเพลงไปได้ เพลงคลาสสิกส่วนใหญ่มีการ "เล่น" ความดังความค่อยของโน๊ตตลอดเพลง ช่วงที่ดังควรดัง (หูแตก) พอดังแล้วก็จะกระจายตัว เสียงเบาลงทอดเสียงไปจนสิ้นเสียง ช่วงที่เบาควรเบา (ไม่พินิจก็ไม่ได้ยินได้) หากเสียงทุกอย่างมีระดับความดังออกมาหมด ก็มีความผิดเพี้ยนไปนั่นเอง คำว่า forward เป็นลักษณะที่มีความดังล้ำหน้าขึ่นมา ทำให้ความเป็นเวทีแคบคง
การสังเกตุ: ให้ลองปรับวอลลุ่ม ต่ำสุด ไป สูงสุด สังเกตว่า ความกว้าง (เสียงดังสุดไปเบาสุด) มีระยะเท่าใด โดยใช้ระยะหมุนวอลลุ่มเป็นตัวเปรียบเทียบได้ ระยะหมุนได้กว้างก็จะดีกว่าระยะแคบ ไม่ต้องค่อยหรี่เสียงตอนดัง หรือ เร่งวอลลุ่มตอนเบา
ความคมชัดรายละเอียดของเสียง อันนี้คือรายละเอียดต่างๆที่เราได้ยิน ความแยกแยะของโน๊ตเสียงต่างๆที่เล่นพร้อมกัน ควรจะละเอียด ยิ่งละเอียดยิ่งดี
การสังเกตุ: เล่นท่อนเพลงที่มีเครื่องดนตรีหลายชิ้น ฟังความละเอียดที่ได้ยิน เสียงตีกันกลบกันหรือไม่ โน๊ตนึงดัง อีกโน๊ตเบา หรือ หลายๆโน๊ตเบา แต่ก็ยังได้ยินอยู่ ให้สังเกตุเสียงที่มีความละเอียดอ่อน เช่น ambience ของห้อง เสียงร้องที่สะท้อนผนังห้องกลับมาเข้าในไมค์โครโฟน ความเอื้อน (ถอดยาวหรือสั้น) ของ ambience ที่ว่า และสังเกตุท่อนที่เล่นเบาๆ ปลายเสียงก่อนที่เสียงจะหายไป ความกังวาลของโน๊ตเปียโน สายกีต้าร์ เป็นต้น เรื่องความคมชัดนี้ยังมีเรื่อง น๊อยส์ ลักษณะเสียงบีบ และความเร็วของโน๊ต ให้เราได้สังเกตุฟังด้วย แต่พึงสังวรณ์ไว้ด้วยว่าการได้ยินรายละเอียดที่ชัดเจนทั้งหมดอาจมีความเพี้ยนในด้านความกว้างของเสียงได้ (เสียงต่างๆมีระดับความดังเกินความจริง) ความละเอียดนี่เองที่ช่วยให้เราแยกแยกลักษณะของวงได้ดีขึ้น
แต่เสียง ambience นี่ หากได้ยินแล้วอาจขนลุกได้เลยละ

มันมีมาในแผ่นด้วยนะ ตอนหลังๆหัดฟังพวก ambience เยอะเลย แม้ว่า TB กะ DR ไม่ดีนัก หรือมีน๊อยส์อยู่ แต่มันทำให้เรามีความสุขในการฟังเป็นอะไรที่อินได้มากๆ

บางชุดอาจพบว่าความดังในระดับเสียงนึงจะมีสมดุลของ TB DR และ DC ที่ดีที่สุด แต่หากเปิดดังหรือเบากว่านั้นจะเสียสมดุลนั้นไป หรือว่าเล่นเพลงนี้ต้องเปิดดังที่ 10 โมง อีกเพลงนึงต้องบ่ายโมง ... ไม่ใช่เวลานะ แต่เป็นหน้าปัดวอลลุ่มเสียง
เคยเจอว่าสายไฟที่เพื่อนเขาชอบนักชอบหนา พอเสียบลองดู โห้รายละเอียดมาตรึม แต่บังคับว่าห้ามปรับวอลลุ่มดังเกิน 9 โมง เพราะทุกอย่างมันจะดังจนล้นไปหมด ตีกล่องลั่นสนั่นหูแตก
![no N]](https://www.htg2.net/Smileys/default/onevil.gif)
"ของเล่น" ชิ้นไหนดีละเนี่ย มันได้อย่างเสียอย่างซะเรื่อยเลย
เวลาไปทดสอบฟังหลักการนี้น่าจะมีประโยชน์ เอาไปใช้สำหรับค้นหาอุปกรณ์ในฝันได้ บ่อยครั้งที่การเปลี่ยนสายไฟเพียงเส้นเดียวก็ช่วยแก้ปัญหาความไม่สุมดุลได้ เพียงแต่ว่าเส้นนั้นมันอยู่ที่ไหนนะ ใครรู้ช่วยบอกหน่อยเถอะ

รูปข้างล่างขอยืมมาจากเวป audio-team สำนักต้นตำหรับ