สวัสดีครับ
ในที่สุด...วันนี้ผมก็ได้ฟังซับฯ ตัวรุ่นท็อปสุดที่คุณโก้ IAV ปลุกปล้ำกับมันมาร่วมๆ ครึ่งปีเห็นจะได้...กว่าจะเสร็จสมบูรณ์อย่างใจแก
บอกตามตรงครับ...ว่าเป็นการรอคอยที่ยาวนานมากจริงๆ แต่หลังจากได้ฟังน้ำเสียงของมันแล้ว ต้องบอกว่าหายเหนื่อยล้ากับการรอคอยเลยครับ...
มาดูรายละเอียดของซับฯ ตัวนี้กันเลยดีกว่าครับ...
รุ่น Ares-13 Signature เป็นรุ่นที่คุณโก้แกวางตำแหน่งเอาไว้สูงสุด สำหรับซับฯ passive แบบตู้เดี่ยว...
อย่างที่หลายๆ ท่านทราบกันแล้ว...ดอกในซับฯ ตู้นี้ใช้ดอกของ JL W7 series ขนาด 13.5 นิ้ว...ซึ่งเป็นดอกชนิดเดียวกับที่ใช้ใน Fathom F113 ของ JL Audio บางท่านบอกว่าเป็นดอกชนิดเดียวกันกับที่ใช้ใน F113..เหมือนกันเป๊ะเลย ระหว่างดอกของ W7 กับดอกที่ใช้ใน F113...บางท่านก็บอกว่าไม่เหมือนกัน...อันที่จริงแล้ว ผมก็ไม่ทราบเหมือนกันครับ ว่าที่จริงแล้วมันเหมือนกันหรือต่างกัน เอาเป็นว่าให้เสียงที่ดีเป็นพอครับ...
คุณสมบัติต่อไปนี้คือคุณสมบัติของซับฯ รุ่นนี้ที่คุณโก้เคยลงเอาไว้แล้วครับ
Ares Signature FeatureJL Audio W7 Subwoofer Driver Featureเป็นดอกลำโพง Subwoofer ที่ดีที่สุดโดยบรรจุ Technology ที่ก้าวล้ำหน้า กว่าดอกลำโพง Subwoofer อื่นๆทั่วไปมาก ให้ช่วงชักที่ยาวถึง 29 มม. (Ares-12S) และ 32 มม. (Ares-13S) พร้อมแม่เหล็กขนาดใหญ่ น้ำหนักดอกลำโพง Subwoofer อย่างเดียวหนักมากกว่า 20 Kgs เลยทีเดียว
ระบบ Tension Rod System (TRS)เป็นระบบการยึดโครงสร้างตู้แบบพิเศษ ซึ่งจะเพิ่มแรงในการอัดตู้ให้แข็งแรงแน่นยิ่งขึ้นโดยการใช้โครงเส้น Stanless Steel เสริมแรง 4 เส้น ยึดตั้งแต่แผ่นหน้าตู้จนถึงแผ่นหลังตู้ โดยระบบ TRS จะให้แรง Tension Force ในการบีบอัดตู้ในแต่ละมุมได้มากกว่า 200 PSI ซึ่งระบบ TRS จะถูกใช้ใน Ares Sig รุ่นเดียวเท่านั้น
Super Ridge Cut (SRC)เป็นระบบการเสริมโครงสร้างลำโพงที่รอยต่อในแต่ละด้าน ให้แข็งแรงขึ้นอีก 30% โดยการทำแนวฟันปากฉลามในแต่ละมุมที่ประกบกัน ทำให้แผ่นประกบด้านต่างๆ แต่ละมุมไม่มีการขยับตัวได้ ซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อคุณภาพเสียง ทำให้เกิดความนิ่งเพิ่มขึ้นอีกมาก
โครงสร้าง Double Matrix Rigid Bracing System (DMRB)เป็นระบบโครงสร้างแบบเมทริกที่ยึดโครงสร้างผนังตู้ทุกด้านให้ทำงานประสานเป็นเนื้อเดียวกัน และเป็นอุปกรณ์ที่เสริมความแข็งแรงของตู้ให้นิ่งที่สุด อีกทั้งยังกระจายแรงสะเทือนของตู้ให้กระจายออกไปทุกด้านของผนังตู้ โดยในรุ่น Ares จะเพิ่มโครงสร้างการดามตู้ ให้เหนือกว่ารุ่น Muses โดยเพิ่มการดามตู้ตามแนว Z ด้วย นอกเหนือจากแนว X,Y
ระบบการทำผนังตู้แบบ Dual Layer Damp Mode (DLDM)เป็นระบบที่ใช้การทำผนังตู้แบบ 2 ชั้นโดยใช้ไม้ MDM หนาขนาด 1 นิ้ว 2 แผ่น โดยรอบเพื่อ Shift Mode ในการสั่นของตู้ ให้สูงกว่า ช่วงเสียงที่ดอกลำโพงทำงาน ซึ่งมีผลทำให้เสียงออกมาสะอาด และได้เบสต้นที่เร็วปราศจากการสั่นค้าง
การ Seal ตู้แบบ Triple Sealed Air Lock (TSA)เนื่องจากการออกแบบให้มีพื้นที่สัมผัสระหว่างแนวประกบตู้แต่ละด้านให้มีพื้นที่มากชึ้นเป็น 3 เท่าจากพื้นที่ของตู้ลำโพงทั่วไป ทำให้โครงสร้างมีความแข็งแรงสูงที่สุด และโอกาศที่อากาศจะหลุดรอดออกไปเป็นศูนย์
Detachable Plate Front Panel (DPFP)ผนังด้านหน้าใช้ไม้ MDM หนา 4 นิ้ว โดยแบ่งเป็น 2 ชิ้น สามารถถอดแยกได้ เพื่อการ Service ดอกลำโพงได้อย่างสะดวก อีกทั้งยังช่วยให้เกิดความแข็งแรงสูงสุดเมื่อใช้ร่วมกับระบบ TRS
Specification Ares-12S Sig และ Ares-13S SigAccuris-12S Sig SpecificationCabinet Type: Sealed Box Speaker
Driver: JL Audio 12W7 12" Highly Linear, DMA Optimized Motor System, W-Cone, Ultra Long Voice Coil
Group Delay: Less than 8 ms
Nominal Impedance: 3 Ohm
Power Handling: 750 W RMS/1000 W Peak @ 3 Ohm
Sensitivity: 91.21 dB/2.83V @ 1 m
Peak SPL: 115 dB@ 60 Hz, 111.5 dB@ 30 Hz
Power Requirement: Min 500 w RMS/Ch @ 3 Ohm
Dimension: W x H x D - 51 x 51 x 52 cm
Weight: 65 Kgs/Subwoofer unit, 90 Kgs/Sub with Arakne Plate
Accuris-13S Sig SpecificationCabinet Type: Sealed Box Speaker
Driver: JL Audio 13.5W7 13.5" Highly Linear, DMA Optimized Motor System, W-Cone, Ultra Long Voice Coil
Group Delay: Less than 8 ms
Nominal Impedance: 2.41 Ohm
Power Handling: 1000 W RMS/1500 W Peak @ 3 Ohm
Sensitivity: 91.66 dB/2.83V @ 1 m
Peak SPL: 116.4 dB@ 60 Hz, 114.5 dB@ 30 Hz
Power Requirement: Min 750 w RMS/Ch @ 2.5 Ohm
Dimension: W x H x D 53.5 x 53.5 x 58 cm
Weight: 75 Kgs/Subwoofer unit, 105 Kgs/Sub with Arakne Plate


รายละเอียเพิ่มเติมลองอ่านจากลิ้งค์ข้างล่างดูนะครับ
http://www.htg2.net/index.php?topic=42633.0มาดูตัวตู้ซํบเป็นๆ กันต่อดีกว่าครับ...
จากรูปข้างล่างจะเห็นว่าตู้ซํบฯ มีขนาดใหญ่มาก เมื่อเทียบกับกล่อง blu-ray


ด้านหลังตู้ใช้ขั้วต่อสายลำโพงของ Furutech ถ้าให้ผมเดาน่าจะเป็นรุ่น FP-801B(G)

ส่วนเรื่องน้ำหนักตัวไม่ต้องพูดถึงเลยครับ...น่าจะราวๆ 80 กิโลฯ เห็นจะได้...ต้องช่วยกันยก 4 คนครับ..ไม่งั้นไม่ไหว

ส่วนสายลำโพงผมใช้ของ MIT รุ่น C1 หัว Speakon ของ neutrik
ส่วนพาวเวอร์ที่นำมาใช้ขับคือ ACM Audio รุ่น M21200

พร้อมด้วย DSP ของ Behringer รุ่น DCX2496

ต้องขอบคุณ คุณโก้มากๆ เลยครับ...ที่วันนี้แกสละเวลาทั้งวัน นั่งปลุกปล้ำปรับซับฯ ตัวนี้ให้ผม

มาถึงเรื่องคุณภาพเสียงกันบ้าง...
ต้องขอออกตัวก่อนเลยว่า...ผมไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับคุณโก้หรือร้านของแกใดๆ ทั้งสิ้น..ที่ผมมาบอกกล่าวเล่าให้ฟังคือความคิดเห็นส่วนตัวของผมล้วนๆ ไม่ได้เป็นหน้าม้าเชียร์สินค้าแต่ประการใด
เรื่องคุณภาพเสียง...ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อครับ...ดอกซับฯ ที่ขอบใหญ่ขนาดนี้ เมื่อก่อนผมเข้าใจว่าเสียงเบสน่าจะบวมๆ หนาๆ ขาดความกระชับชัดเจน...
แต่ไม่น่าเชื่อ...ด้วยตัวตู้ที่แข็งแกร่ง (แข็งจริงๆ ครับ..ผมลองเอานิ้วเคาะตัวตู้โดยรอบทั่วๆ ตัวตู้...เสียงมันตันไปหมด...เหมือนเคาะหินดีๆ นี่เอง) บวกกับ DSP ที่สามารถปรับค่าต่างๆ ได้อย่างละเอียดแม่นยำ (ละเอียดถึงที่ระดับ 0.1dB) เสียงที่ได้จึงสะอาดมากๆ กระชับ เก็บตัวเร็ว...
ในฉาก หรือในเพลงช่วงที่ต้องมีเสียงเบสโหม..มันก็โหมเหมือนโดนคลื่นโถมใส่ตัว...ยามนิ่ง ก็นิ่งสงบเก็บตัวได้เรียบจริงๆ
นี่ขนาดเพิ่งออกมาจากเตาร้อนๆ ยังไม่ได้เบิร์นเลย...ถ้าครบ 100 ชั่วโมง ไม่รู้จะขึ้นไปได้ขนาดไหน...
ถ้าอยากรู้ว่าซับฯ ตัวนี้ตอบสนองได้ดีเพียงไร...กับการฟังเพลง มีความกระชับ รวดเร็ว และหัวโน้ต คมขนาดไหน..ดูจากคลิปข้างล่างนี้นะครับ...ผมถ่ายตอนที่เปิดเพลงเอาไว้..ให้สังเกตุสัญญลักษณ์ W7 ให้ดีๆ จะสังเหตุเห็นว่าซับฯ ตัวนี้หยุดตัวได้นิ่งและเร็วขนากไหน
http://www.youtube.com/watch?v=xfhyy3u3K00โดยรวมๆ แล้วตอนนี้ผมพึงพอใจกับซับฯ ตัวนี้มากครับ...ตอนนี้ข้อจำกัดเรื่องเสียงเบส สำหรับผมไม่มีอีกต่อไปแล้ว...ข้อจำกัดต่างๆ ดันตกไปอยู่ที่ห้องผมแทนครับ...พอถึงฉากที่มีเสียงเบสถาโถมใส่ทีไร..ทั้งฝ้า ทั้งกระจก ประตู และหน้าต่างของห้องผม มันต่างพากันพร้อมใจสะเทือนและกระพือเลื่อนลั่นกันไปหมดเลยครับ...สมกับเป็นซับฯ พลังช้างสารจริงๆ :jawdrop:
สงสัยต้องทำห้องใหม่เสียแล้ว... :msn-cry:
สุดท้ายนี้...ผมเชื่อเหลือเกินว่า เพื่อนๆ หลายๆ ท่านต้องมีคำถามหนึ่งเกิดขึ้นในใจแน่ๆ คือ...ระหว่างเจ้า Accuris Ares-13 Signature เทียบกับ JL Fathom F113 ผลลัพท์จะเป็นอย่างไร?
แน่นอนครับ...วันนี้ผมคุยกับคุณโก้ถึงคำถามนี้เหมือนกัน...คุณโก้แกบอกว่า แกสั่ง F113 ไปเรียบร้อยแล้ว...เห็นว่าน่าจะเป็น 2 ตัวนะครับ (Aug 8th: ขอแก้ไขนะครับ...จากกระทู้ข้างล่าง..คุณโก้จะสั่งมา 1 ตัวครับ)...เพื่อเอามาเทียบกันตัวต่อตัวกับ Accuris Ares-13 Sig โดยเฉพาะ...
โดยแกจะจัดแมทช์ช้างชนช้างแมทช์นี้ที่โชว์รูมของแกครับ...คาดว่าน่าจะเร็วๆ นี้ เมื่อได้ของทุกอย่างครบแล้ว...
สำหรับเงื่อนไขกันทดสอบ...คุณโก้แกบอกว่า...เพื่อความยุติธรรม อุปกรณ์ทุกอย่างจะใช้เหมือนๆ กันหมด...ต่างแต่ Ares-13 Sig คุณโก้แกจะเป็นคนปรับเอาไว้...ส่วน F113 แกจะไม่เป็นคนปรับเองครับ...เพราะอาจจะโดนข้อครหาเอาได้ว่า จงใจปรับให้ F113 ด้อยกว่า...ดังนั้นแกจึงให้ใครก็ได้ที่สนใจ...ลองปรับได้ตามสบายเลยครับ..ปรับยังงัยก็ได้ เอาให้เหนือกว่า Ares-13 Sig ได้เลยยิ่งดี...จะได้เปรียบเทียบกันชัดเจนไปเลย...
ใครสนใจลองติดตามข่าวจากคุณโก้แกดูนะครับ...
ตอนนี้ผมขอตัวไปก่อนนะครับ..ยังไม่ได้ลองเทสดูหนังเป็นเรื่องเป็นราวเลย...ขอไปลองเล่นดูก่อน...ถ้าได้เรื่องอย่างไร หรือมีอะไรอัพเดทเพิ่มเติม ผมจะมาแจ้งให้ทราบนะครับ...ตอนนี้ขอตัวก่อนครับ