พี่วัตร เก๋กู๊ดไอเดียสุดๆ ทำทรง Avalon หรือ Lumenwhite ดีครับ

คิดว่าทำแบบไม่ซ้ำแบบใครในโลกดีกว่าครับ
คงทำใช้กับเพื่อนในกลุ่ม สอง-สามคู่ครับ
เสียงเบส ๑๑นิ้ว อาจจะมีการทบทวนใช้อีตั้นแทนก็ได้ (สีร้อยเหรียญ กับพันสองร้อยเหรียญ ต่างกันสามเท่าแหน่ะ)
ปลั๊กพ่วง AC wood Block จำเป็นต้องทำขึ้นมาใหม่เพื่อใช้ทดแทนของเดิม
วานนี้ต่อปลั๊กพ่วง ไม้ประดู่ ใหญ่ และหนักมาก ขนาด 20x20x10 cm โดยประมาณ
อุปกรณ์ที่ใช้
...IEC pure silver
...ปลั๊กผนัง Levinton Copper Alloy (สีแดงเข้ม/หน้าขาว เป็นของยูสท์ สมัยโบราณ หาไม่ได้แล้ว) สองตัว
(ถ้าเป็นวัตต์เกต ๒ตัว ก็คงร่วมหมื่นกระมัง)
...สายไวริ่ง #14 Silver plate Copper ฉนวนTeflon
วิธีเข้าหางปลา........กับสายโต#14 สี่เส้น (ยาวเส้นละ ๑๘ ซม โดยประมาณ) ทำได้อย่างไร
.......ใส่ธรรมดามันยัดไม่ลงแน่นอน สองเส้นยังแทบทำไม่ได้แล้ว
ปอกสายสองเส้นยาวประมาณ เซ็นต์ครึ่งคลี่๑เส้น อีก๑ตามเดิม ค่อยๆพัน/เรียวปลาย ยัดเข้าหางปลา ใช้คีมย้ำหางปลาบีบ บีบแล้วจะเหลือบางส่วนที่ปอกเปลือยไว้
จากนั้นอีกสองเส้นก็คลี่พันทบพอกลงไปที่ส่วนเปลือยของสายไฟ หมุนรัดให้แน่น( ใช้คีมบีบประคองช่วย)
แล้วก็จบงานด้วยตะกั่วเงิน บัดกรีพอกลงไปให้พอติดสม่ำเสมอ(ไม่ใส่ตะกั่วเยอะเกินไป...อันนี้บอกยากว่าอะไรคือความพอดี เทคนิคใครเทคนิคมันเน่อ)
ทำแบบนี้ทั้ง ไลน์ และนิวทรอล
..........ข้อดีของการใช้สายไฟเส้นเดียว สีเดียวคือ...........เราสามารถกำหนดทิศทางสายได้เลย เดินไปแล้ววกกลับ
จากนั้นก็ประกอบลงบล็อคไม้ ขันหางปลาเข้ากับ ขาไออีซีพอแน่น/ตึงมือ
เสร็จแล้วก็ลองต่อเบิร์นสี่ห้าชั่วโมง
สายไฟเอซีที่ทำใช้ ใช้ใส้ในของไออิโกะ ปลอกหัว-ท้าย กลึงจากอลูตัน (ออกแบบเอง)
ปลั๊กผนังเป็น Wattgate 381 ทอง
จากปลั๊กผนัง สายไฟนาคราชหัวท้าย 8095 ไออิโกะ เงินตัวท็อป ยาว2.30m(เนื้อสายทองแดง มันติสเตรน สายทองแดงรีดแบนหลากไซส์ ใช้สายพิเศษทำเป็นกราวนด์)
เข้าดูนฯ โมแหลก ใช้สายไฟนัครา หรือสายไวร์เวิล โมฯแหลก (WW Silver Electra 1.0m แด้มป์พิเศษ ทำดับเบิลชิลด์ +หัวท้าย 8085 ไออิโกะ ทองแดงชุบทอง)
เข้าอินทีเกรทเต็ดแอ็มป์ สายไฟนาคราชหัวท้าย 8085 ไออิโกะ ทองแดงชุบทอง ยาว1.80m(เนื้อสายทองแดง มันติสเตรน สายทองแดงรีดแบนหลากไซส์ ใช้สายพิเศษทำเป็นกราวนด์)
สรุปย่อๆคือ
....ด้านเสียงและภาพ เสียงลึก นิ่ง กังวานขึ้น รายละเอียด มิติ ความคมชัด ภาพก็เช่นกันดีขึ้นกว่าปลั๊กพ่วงตัวเดิมเห็นๆ
( ปลั๊กพ่วงบล็อคไม้สักเบาหวิว..........ที่ใช้ชั่วคราวมีปีกว่า สายไฟ ภายในฟูรูคาว่า แต่พ่วงบิลท์อินสายไฟ ไทยยาซากิ หัวตัวผู้มารินโก้สีดำ เนื้อเป็นทองเหลือง )
การวิเคราะห์เส้นทางการไหลของกระแสไฟฟ้า
....กล่องปลั๊กพ่วง / บล็อคไม้ แล้วแต่จะเรียก ในการใช้งานจริงถ้านับจากปลั๊กผนัง มันจะมีเส้นทางผ่านถึงเพียงนี้
381 gold >>> IeGO8095 silver >>> flat Copper wire >>> IeGO8095 silver >>> IEC silver >>> หางปลาโดนัท IeGo pure silver >>> silver plate copper wire >>> AC receptable ปลั๊กผนัง copper alloy >>> AC power cord
ทำให้เกิดข้อคิดว่า
........ที่เล่นๆกันอยู่ หรือที่ชอบเรียกกันว่าเล่นแบบ แม็ทชิ่ง นั้น
..................จริงๆแล้ว มันคือการแม็ทชิ่ง หรือการชดเชย ซึ่งกันและกัน แล้วก็รีบด่วนสรุปตัดสินว่าอะไรดี ไม่ดี แม็ทช์ ไม่แม็ทช์
...........................หากคิดให้รอบคอบ มันควรพิจารณาจุดต่อแบบละเอียดยิบ ทุกๆจุดแบบที่ผมลองวิเคราะห์ไว้หรือไม่
และหากพิจารณา แบบละเอียดยิบ แล้วเราเลือกใช้ของที่สอดคล้องกัน หรือเลือกทำ เลือกใช้แบบล่วงรู้/มีแบบแผน
เราก็จะได้คุณภาพ ทั้งภาพและเสียงแบบ "เลือกได้" หรือ "สั่งได้" ด้วยหรือเปล่า
อย่างกรณีตัวอย่างของข้าน้อย ดูเผินๆ ปลั๊กผนังที่ใช้ในกล่องปลั๊กพ่วง อาจดูด้อยค่า เพราะเป็นทองแดงอัลลอยด์ ไม่มีชุบทอง
แต่หากคิดถึงว่า มันเป็นเนื้อทองแดงที่ทำในอเมริกา ยุคก่อนที่จะทำให้วัตต์เกตด้วยซ้ำไปกระมัง (หากนับอายุการผลิตของเลวิงตั้นน่าจะเกิน ๓๐ หรือ ๔๐ปี โน่นกระมัง) คิดแบบนี้แล้วสบายใจขึ้น
และผลจากการลองฟังมาร่วมสิบปี มันให้อะไรๆได้ดี น้องๆวัตต์เกตด้วยซ้ำ
เดี๋ยวคงหาวัตต์เกต ทองมาลองเปลี่ยนดูตัวนึง เพื่อทดลองอะไรบางอย่างครับ
จากคุณภาพของภาพที่ได้มา แสดงว่า
ระบบไฟฟ้าข้าน้อยน่าจะพอเข้าใจบ้างแล้ว เมื่อเราทำไฟเน้นๆจึงได้ภาพที่ดีถูกใจยิ่งขึ้นครับ(เท่าที่จะรีดได้จากเครื่องราคาประหยัดๆที่ใช้อยู่)
ส่วนเรื่องเสียง ต้องว่ากันใหม่ทั้งหมดเลย แล้วก็คงต้องใช้เวลาอีกพักใหญ่ครับผม
เป็นเหตุให้ตอนนี้ที่บ้าน เวลาดูหนัง สมาชิกทุกคนก็จะรวมพลกันมาดูจากโปรเจ็คเตอร์กันหมด ทุกคนชอบเพราะทั้งดูสบายตา รายละเอียดภาพที่ชัดเจนกว่า ความชัดลึกและมีมิติ
เป็นผลให้จอพลาสม่าพานาฯของเด็กๆทำงานน้อยลงมาก
จอพลาสม่าซัมซุงก็ว่างงานลงบ้างเช่นกัน(เป็นโอกาสที่B850จะต้องถูกโมฯภาคจ่ายไฟ สวิทชิ่ง /การดีคัปปลิ้ง ขนานใหญ่เร็วๆนี้ครับ)