ชนิดและรูปแบบตัวเก็บประจุ ตัวเก็บประจุมีชนิดและรูปแบบที่หลากหลายมากครับ ซึ่งแต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติและการนำไปใช้งานที่แตกต่างกันไป ผมจะเริ่มไล่เรียงจากชนิดที่ใกล้ตัวเราในงาน DIY ไปเืรื่อยๆน่ะครับ แต่จะไม่ขอพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับผลทางเสียงครับ ข้อมูลทั้งหมดที่ผมให้ไปอย่าถือว่าเป็ยวิชาการไปเสียหมด บางอยากก็ได้จากการสังเกต หากเกิดความบกพร่องก้เอามาแนะนำ แลกเปลี่ยนกันได้เสมอครับ
1.ตัวเก็บประจุชนิดอิเล็กโทรไลท์ (Electrolytic Capacitors) เป็นตัวเก็บประจุที่พบเจอและมีการใช้งานมากที่สุด เนื่องจากมีช่วงค่าความจุไฟฟ้าที่กว้างตั้งแต่ค่าต่ำๆประมาณ 0.1 ไปจนถึง 10000 uF หรือมากว่านี้ก็มี เหตุที่เรียกตัวเก็บประจุชนิดนี้ว่า "อิเล็กทรอไลท์" นั่นก็คือ โครงสร้างของแผ่นเพลทตัวนำที่คั่นด้วยฉนวนแล้ว เมื่อบรรจุลงในตัวถัง จะถูกบรรจุสารที่มีคุณสมบัติเป็นฉนวนคือ "อิเล็กทรอไลท์" ลงไปด้วย การนำไปใช้งานในงาน DIY ของตัวเก็บประจุชนิดนี้ก็เช่น ใช้เป็นตัวกรองแรงดันในวงจรเรียงกระแส ใช้เป็นคาโทด อื่นๆแล้วแต่จะใช้ครับ
ตัวเก็บประจุลักษณะตัวถังเป็นแบบทรงกระบอก มีทั้งแบบวางแนวตั้งซึ่งขั้วต่อใช้งานอยู่ด้านเดียวกัน และแบบวางแนวนอนที่ขั้วอยู่คนละด้าน(หางหนู) และยังมีทั้งชนิดมีขั้ว (Polar) กับชนิดไม่มีขั้ว (Non-Polar) ครับ