แผ่นบางส่วนที่ซื้อไว้ฟังนานกว่าสิบปี ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้ขยับมาใช้ระบบแบบเดียวกับสตูดิโอครับ

สมัยที่ยังรับข่าวสารจากฝั่งเครื่องเสียงบ้านอย่างเดียว ก็เหมือนมีกรอบว่า อยากได้เสียงดีๆ ต้องเล่นแผ่นระดับ Audiophile ที่มีการบันทึกที่ดีเยี่ยม
ซึ่งมันก็จริงตามนั้นครับ แต่ กลายเป็นว่า แผ่นทั่วๆไปนั้นให้เสียงได้ไม่น่าฟังเท่าไหร่ ผมคิดไปอีกอย่างว่า อย่างน้อยก็น่าจะฟังได้ในระดับปกติ
ไม่ควรออกมาไม่น่าฟัง มันไม่ค่อยคมชัดและไดนามิคก็ดูห่างไกลกับแผ่นระดับ Audiophile ซะเหลือเกิน
แต่เครื่องระดับไฮเอนด์ที่ผมพบเจอ ก็เปิดแผ่นพวกนี้ได้ไม่เพราะเช่นกัน เร่ียกว่า เครื่องแพงก็ต้องคู่กับแผ่นแพง
ทำให้ผมได้ไอเดียว่า งั้นก็มาเล่นเครื่องต้นทางระดับมืออาชีพซะเลย เครือ่งแบบเดียวกับที่ใช้ในห้องตัดต่อ
ก็คือบรรดายี่ห้อ Focusrite, MOTU (Mark of the Unicorn), RME, Apogee และอีกหลากหลายยี่ห้อ ซึ่งเป็นเครื่องต้นทาง
ที่ใช้ในห้องอัดครับ ซึ่งต่างจากเครือ่งเสียงบ้านตรงที่ เครื่องพวกนี้ "มีมาตราฐาน" เรื่องคุณภาพเสียงแบบมืออาชีพ
ทั้งภาค Pre ภาค Digital รวมถึงค่า Latency และ Clock และอีกมากมายครับ
ผลลัพท์ก็ไม่ทำให้ผิดหวังครับ ทั้งเรื่องประสิทธิภาพ คุณภาพเสียง และการใช้งานอื่นๆ
เช่นการแปลงค่าดิจิตอลต่างๆโดยเรียก Hardware ผ่าน Logic Pro X หรือโปรแกรมอื่นๆอย่าง Wavelab, Cubase และอีกมากมายครับ
แบบนี้
เมื่อกี้ทดสอบไดรฟ์ใหม่เสร็จพอดีครับ เป็นไดรฟ์สำหรับโน๊ตบุ๊ค แบบ Slim แต่ผมซื้อแบบที่ Slim มากขึ้นคือหนา 9mm ด้วยเหตุผลที่ว่า
มอเตอร์น่าจะได้รับการออกแบบใหม่ (คิดเองเออเอง) เป็นของ Panasonic (จะลงภาพทีหลังครับ) คราวนี้หายคาใจกันเลยกับแผ่น
Belafonte Sings the Blues ที่เก็บไว้สิบกว่าปี และไม่ได้หยิบมาฟังเท่าไหร่ ไม่ใช่เพราะเพลงไม่ดี หรือคุณภาพแผ่นไม่ได้
แต่ผมฟังว่าสปีดช้าเกินไปครับ และไดนามิคไม่ดีพอ ฟังแล้วจะหลับเคยเซ็ท MOTU จนฟังออกมาดีได้ทั้งไดนามิคและสปีด
แต่ความกว้างไม่ดีพอครับ (MOTU จะยกช่วง 500HZ ไว้ บางทีก็ฟังดูเสียงติดๆกันบ้าง)
แต่คราวนี้ต่างออกไปครับ หลังจากทำตามสูตรที่ผมได้ทดสอบไว้กับ Logic Pro X ผลลัพท์ที่ได้คือ
คราวนี้ผมต้องฟังไปตบเท้าไปกันเลย ทำได้ตามในคู่มือ Apogee เลยครับ คือ "You don’t have to choose between power and speed."
และยืนยันได้อีกเรื่องสำหรับผมเอง คือผมชอบเสียงจากไดรฟ์แบบ Slim มากกว่าครับ
(คราวก่อนอ่านด้วยไดรฟ์บลูเรย์ของ Pioneer เสียงเดินหน้าจนผมต้องกด Stop หรืออาจเป็นเฉพาะ Pioneer อย่างเดียว
ผมก็ต้องหาไดรฟ์อื่นมาเทียบครับ แต่ไดรฟ์ Panasonic ที่ได้มา การอ่านดีมากครับ คราวเร็วดีเยี่ยมและมีเสถียรภาพ เลยยังไม่อยาก
หาตัวอื่นมาเทียบให้เปลืองอีกครับ)
หน้าตาเวลาสร้าง Project บน Logic Pro X ครับ
เสียงออกมาดีหรือไม่ อยู่ที่ประสิทธิภาพของ Input Device และ Output Device เลยครับ
เพิ่งทดสอบแผ่นเสร็จอีกหนึ่งครับ แผ่นบนซ้าย
สิบกว่าปีก่อน ก็นั่งฟังแผ่นนี้อย่างสงบ แน่นอนว่าเพลงดี ซาวน์ดีครับ นั่งฟังนิ่งๆอย่างสุภาพ
แต่ตอนนี้ไม่ใช่เลยหลังจากฟังผ่าน Apogee ซึ่งได้ความสนุกเข้ามาด้วย ตบเท้าตามจังหวะได้เลย จากการที่สปีดเสียงดีขึ้น
ความคมชัดและความกว้างนี่ไม่ต้องพูดถึงครับเมื่อฟังผ่าน Apogee ทำให้ผมคิดว่า ในราคาแค่นี้ จะไปหา DAC อะไรมาแทนได้ล่ะเนี่ย
ที่สำคัญคือในเครือ่งนั้นเป็น D/A, A/D และ D/D ครับ แปลงดิจิตอลเป็นดิจิตอล ผ่าน Thunderbolt
ซึ่งคุณภาพก็ทิ้งห่างจาก Firewire ไปมากครับ (ก็ผมฟังเทียบมาเป็นลำดับครับ แผ่นก็เดิมๆ ทำซ้ำแล้วซ้ำอีก)
ทำให้ผมนึกในใจว่า ที่นั่งฟังเครือ่งเสียงไฮเอนด์แบบนั่งนิ่งๆที่ผมทำมาหลายปี จริงๆคืออารมณ์เพลงมันไม่ถึงนี่เอง ฟังแล้วยิ้มไม่ออก
แต่ตอนนี้มันเปลี่ยนไปเลยครับ ด้วยขุมพลังที่มารวมกันคือ
- Thunderbolt
- Logic Pro X
- macOS 10.12
- Apogee Element 24
- DI BOX (ตอนแรกใช้กับ Apogee Duet ครับ เพราะเอาท์พุท 470 Ohm ต่อกับเครื่องเสียงบ้านแล้วเสียงบางมาก และไม่เป็น Balance
เมื่อต่อผ่านกล่องนี้ก็จะเอาท์พุทเป็น 50 Ohm ครับ เหมาะกับเครือ่งเสียงบ้าน ส่วน Apogee Element 24 เอาท์พุท 75 Ohm ครับ
จะต่อตรงกับเครื่องเสียงบ้านเลยก็ได้ แต่เวลาต่อผ่าน DI BOX เสียงเข้มขึ้นอีกครับ เจ้ากล่อง DI BOX ก๋ออกแบบใช้กันมาตั้งแต่ปี
197X จนถึงปัจจุบันร่วม 50 ปี ไว้ใจเรื่องคุณภาพได้เลยครับ)