5555
ในที่สุด ผมก็สงสัยยอมแพ้ กับการที่ต้องคอย กระแซะ ๆ จขกท เค้าบ่อย ในเรื่องข้อมูลต่างๆ ที่มาเขียน บางเรื่องอ่านแล้วเฮ้อ แต่ไม่สำเร็จ สงสัย คงต้องปล่อยให้กระทู้นี้ยาวไป
ที่ทำเช่นนี้ ก็แค่ ไม่อยากให้คนอื่นๆ มาอ่านแล้ว หลงไหลไปกับอุปกรณ์ที่ไม่จำเป็นสำหรับการ audio listening มันไม่ได้มีความจำเป็นอะไรอย่าง จขกท เขียนสักกระนิด (ยกเว้นใช้ทำงาน ในการผลิตสื่อ) แม้ว่า คุณน้า Malako, คุณน้า Goda จะมาช่วยชี้แจ้งอะไรต่างๆ แต่ จขกท เค้าไม่รับรู้รับทราบ สิ่งที่คนเค้าพยายามสื่อสารเลย เอาแต่จะบอกว่า อุปกรณ์ที่ตัวเองใช้งาน แนวทางที่ตัวเองใช้งาน ให้เสียงที่สุดยอดดดดดดดดดดดด
ผมเข้าใจความรู้สึก น้า Freedom แล้วละครับ ๕๕๕ (ท่านใดเพิ่งมาอ่าน ลองย้อนกลับขึ้นไปอ่านหน้าที่ผ่าน ๆ มานะครับ)
ผมหมดสนุก กับ การอ่านกระทู้นี้ และคอยกระทุ้งบางอย่างที่คิดว่า จะช่วยให้ผู้ที่มาอ่านที่เป็นมือใหม่ มือเก่า มือกลาง ไม่ให้หลงทาง ขอให้ จขกท พัฒนาไปให้สุด ๆ นะครับ เอาใจช่วย

อย่างเรื่องใช้ Logic Pro X Rip เพลง ว่าทำไมถึง Rip แล้วเสียงบาง เหตุผลมันก็มีอยู่ คือ มันเป็นโปรแกรม Studio สำหรับ Mix เสียง จากหลายๆ Channels เช่น มีกีตาร์ เบส นักร้อง กลอง และอื่นๆ อาจจะเล่นแยกกันหรือเล่นสด ต่อเข้า Interface แล้วเอามา Mix เสียง ซึ่ง พวกนี้ต้อง Real time, Low Latency หรือ ทำ Latency calibration (ตั้ง latency offset ให้เพลงเริ่มเล่นหยุดเล่นตรงกัน)
สำหรับคนที่แค่ฟังเพลง หรือ Rip เพลงจาก CD/DVD/BD Software พวกนี้ไม่มีความจำเป็นเลยครับ
แต่สำหรับคนไม่ฟัง อธิบายไปก็เท่านั้นจริงๆ

Logic Pro X มันเป็น Mixer เพราะงั้นเวลา rip เพลงมันก็เลยต้องไปผ่าน Mixer อย่างใน Mac คือ CoreAudio แล้วก็ไม่รู้ว่าระหว่างทางในนั้นมันไปเจอ Audio API กับ Resampler อะไรบ้าง แถมพวก Realtime กับ Low-Latency Kernel มีปัญหาเรื่องเสียงบางอยู่แล้ว แล้วด้วยความที่ Realtime Kernel มีข้อจำกัดเรื่อง Deadline โอกาสที่ Audio API จะเลือกใช้ Resampler ที่เน้นความเร็วมากกว่าคุณภาพมีสูงมาก แต่บน Linux มันเลือกได้ว่าจะ Boot เข้า Kernel ตัวไหน ไม่ได้โดนหักคอให้ใช้ Realtime Kernel แบบ Mac
แล้ว Resampler มันก็หลายสิบตัว ไม่รวมค่าเซ็ตติ้งยิบย่อยอีก เคยลองเปิดให้ที่ร้านฟังแล้วเสียงก็ไม่เหมือนกัน เหมาะกับเพลงคนละแบบ ปัญหาคือมันวุ่นวายกับชีวิตมากเสียจน ฟังแบบไม่ oversampling จะดีกว่า ไม่งั้นต้องมาสลับ Resampler ตามเพลงที่ฟัง
แล้วที่มันชัดเจนมากแน่ๆ ว่า Logic Pro X ผ่าน Mixer ก็ตรง Rip เพลงยาว 5 นาที ต้องใช้ เวลา 5 นาที rip ยาวเท่าไรก็ต้องใช้เวลาเท่านั้น rip ซึ่งจริงๆ ตรงนี้ผมเดาได้ตั้งนานแล้ว เพราะสมัยเมื่อสิบกว่าปีก่อน Software ห้องอัดก็เคยเล่น เห็นหน้าจอ Logic Pro X ตอนเขาเปิด Rip ก็รู้แล้วว่ามันเป็น Mixer ไอ้ที่มาบอกว่า Logic Pro X ไม่เหมาะ Rip CD น่ะ เคยเห็นหน้าจอมาแล้ว ว่ามันใช้ไง ถึงบอกว่ามันไม่เหมาะ
แล้วการเล่นบน HTPC มันยังมีปัญหาอะไรอีกเยอะ สาเหตุที่ผมไม่เล่น Macbook เพราะมันแพง และแก้ไขอะไรมันไม่ได้เลย อย่างยกตัวอย่างเช่น Voltage ใน Register และ Cache ของ CPU รวมถึง Voltage ของ RAM Northbridge Southbridge ไม่นิ่ง ทำให้เกิด Jitter แล้วพอเป็นแบบนั้น เอาไฟล์ lossless เช่นพวก flac มาฟังแล้วเสียงสู้ Wav ไม่ได้ ทั้งๆ ที่ ผลมันควรจะไม่ต่างกัน ซึ่งใน system ที่เป็น PC มันมีวิธีแก้ไขได้ แต่ใน Mac ทำไม่ได้เลย แถมบางบอร์ดรุ่นท็อปๆ ออกแบบภาคจ่ายไฟมาดี ปัญหาพวกนี้แทบไม่มี
เอาง่ายๆ คือ แค่เปลี่ยนค่า Voltage ที่จ่ายให้ RAM/CPU/Northbridge กับ Clock RAM/CPU แค่นี้เสียงก็เปลี่ยนแล้วครับ ไม่รวมเรื่องเปลี่ยนค่า Latency RAM กับ tRFC แต่ Macbook ทำไม่ได้
ยิ่งถ้าจะเพิ่มตัวกรองไฟแรม ยิ่งทำไม่ได้ อย่างในเครื่องที่ผมใช้อยู่จะเสียบตัวเก็บประจุสำหรับ RAM/CPU เพิ่มไปเป็นชิพของ NEC TOKIN Proadlizer Capacitors ซึ่งเมื่อก่อนจะมีการใส่ให้ในพวก Laptop แต่เดี๋ยวนี้มักจะตัดทิ้งเพื่อลดต้นทุน โดนส่วนใหญ่ชิพตัวนี้จะอยู่ใต้ PCB ข้างใต้ CPU พวก Laptop ดีหน่อยจะใส่มาให้ตัวนึงครับ แต่ส่วนใหญ่จะตัดตัวนี้ทิ้ง
และการปล่อยให้ OS เปลี่ยนตัวคูณ CPU on-the-fly ตอนเครื่องทำงานอยู่ นั่นก็มีผลกับเสียงครับ (ป.ล. แต่ในบาง OS เช่น Linux ปัญหาตัวนี้อาจจะไม่มีเพราะเขาพบมาหลายปีและมีการแก้ไขไปแล้ว)
แล้วอีกอย่างคือ Macbook ใช้ชิพ Core i ของ intel ซึ่งคล้ายๆ กับพวก AMD APU คือ built in GPU (หน่วยแสดงผลกราฟิก) เข้าไปใช้ CPU ในชิพพวกนี้มีปัญหาคือ มันแย่ง Bandwidth RAM ระบบไปใช้ในการแสดงผล
ผมเคยลองเล่นวีดีโอโหมด 4K ไปปรากฎว่าเสียงดรอปแบบฟังออก ตอนหลังเลยไปซื้อการ์ดจอแยก เปลี่ยนเป็น CPU แบบไม่มี GPU ในตัว ซึ่งตรงนี้สาย Audiophile หลายคน ใช้พวก Headless HTPC แต่มันจะฟังเพลงได้อย่างเดียว คือ ใช้สั่งการผ่านระบบ LAN หรือ Remote Desktop เข้าไปเล่นเพลง ตัว HTPC ไม่มีการ์ดจอ หรือ ไม่ได้เปิดใช้ GPU ใน CPU ไว้ (OS ที่เป็นแบบ Headless ก็เช่น Daphile) แต่ผมไม่เล่น Daphile เพราะผมใช้ดูหนังด้วย ไม่ใช่แค่ฟังเพลง บน Mac เองปัญหาตรงนี้ก็เยอะมากจนฟังออกได้โดยแทบไม่ต้องสังเกต ถึงขั้นตอน rip เพลง หรือ ฟังเพลง เปิดจอไว้ กับปิดจอ เสียงต่างกัน
ส่วนเรื่องปัญหาที่บอกๆ กันว่า USB ใช้ตัดต่อแล้วภาพมืด อันนั้นผมไม่แปลกใจนะ เพราะ USB มัน Latency สูง ถึง Bandwidth มันจะได้ ปัญหาคือ พวกนี้ใช้กับ Windows มันไม่มีปัญหาหรอก แต่ถ้าไปใช้กับ Mac มีปัญหาแน่ เพราะ Mac มันใช้ kernel realtime แล้วหลักการ kernel realtime คือ พยายามบีบให้ระบบทำงานได้ตรงตาม Deadline ที่ตั้งไว้ต่ำๆ ถ้าทำได้ไม่ทัน มันไม่รอ มันเป็นผู้รับเหมาทิ้งงานครับ แล้วภาพก็มืด นี่เป็นสาเหตุว่าทำไมพวกระบบที่เป็น Kernel Realtime ต้องการอุปกรณ์ที่ทั้ง High bandwidth และ Low Latency
ด้วยเหตุนี้พวก Kernel Realtime จึงไม่เหมาะอย่างมากในการเอามาทำ HTPC ที่ผู้ใช้เอาไว้แค่ฟังเพลงดูหนัง ยกเว้นเสียแต่ว่าเป็น Custom Kernel ที่แทบจะตัดอย่างอื่นทิ้งหมดเหลือเพียงส่วนที่รองรับเรื่อง Playback Audio (และ Video) เท่านั้น (มีคนทำ เช่น Audiophile Linux)
แล้วปัญหาเรื่อง Audio Interface อีกอย่าง คือ มันมีวงจร ADC มาด้วย ซึ่งเราไม่รู้ว่ามีสัญญาณอะไรจาก ADC มากวนภาค DAC ขนาดไหน เพราะงั้นแทนที่จะเสียเงินซื้อวงจรส่วนที่ไม่ได้ใช้ สู้มาทำเป็น DAC Standalone ไปเลยดีกว่า
เอาเงินที่เหลือไปอัพ clock เป็น TCXO 0.1ppm หรือ OCXO 0.01 ppm ดีกว่า
อย่าง TCXO ตัวนึงแถวๆ 7-800 บาท ถ้าเป็น TCXO ของ Crystek ตัวนึงราคาทะลุพันบาท ยิ่งถ้าเป็น OCXO ตัวนึงรวมบอร์ดแปลงก็ราคาแถวๆ 5,000-10,000 บาทแล้ว ใน DAC กับ USB Interface ใช้รวมๆ ประมาณ 4 ตัว เอาเข้าจริงๆ แค่ค่า clock ก็หลายตังค์ล่ะ
หลักๆ พวกเล่น HTPC ที่โมกันจริงๆ ก็เปลี่ยนเป็น OCXO กันเกือบหมด ทั้ง clock บน Motherboard PC (USB, LAN, Motherboard's main clock), Router แล้วก็ clock ใน DAC กับพวก Amanero หรือ XMOS พวก DIY พวกนี้ไม่ได้แปลว่าถูกกว่าพวกเล่น Interface ยี่ห้อดัง ดีไม่ดีแพงกว่าด้วย แต่พวกนี้มันไม่มียี่ห้อมาอวดเท่านั้นเอง
การโม Clock บน Motherboard เป็น OCXO


โดยส่วนตัวใน DAC ES9018 และ Amenero/XMOS XU208 ยังไม่เคยโมเป็น OCXO แต่เคยโมไปใช้ TCXO 0.1ppm กับ Crystek แล้ว เสียงดีขึ้นฟังออกได้โดยไม่ต้องสังเกต
ส่วนพวก Motherboard ที่จะเอามาใช้กับ HTPC เพื่อไปต่อ USB DAC ผมแนะนำของ Gigabyte มันมี feature ชื่อ USB DAC UP หรือ MSI ที่มี USB Audio Power ซึ่งไฟ USB จะนิ่งกว่า ซึ่งเป็นปัญหาว่าทำไมบน Mac ต้องไปใช้สาย USB แบบแยก หัว Data กับ Power แต่บน PC ไม่จำเป็น สำหรับบอร์ด Gigabyte รุ่นที่เป็น USB DAC UP 2 จะสามารถปรับ Voltage ได้ด้วย และในบอร์ด Gigabyte สามารถสั่งตัดไฟ USB ทิ้งได้ หาก USB I2S มีแหล่งจ่ายไฟในตัว ไม่ต้องใช้ไฟเลี้ยงจากคอม ทำให้เสียงดีขึ้นไปอีก เพราะไม่มีสัญญาณกวนจาก Power
USB DAC UP นี่เคยยกไปลองที่ร้าน Poem แล้วครับ คือ เสียงต่างกันค่อนข้างเยอะเลยทีเดียวกับ Port USB ธรรมดา ผมใช้รุ่น G1 Sniper A88x

