อ่านชื่อกระทู้แล้ว งง... เล็กน้อย อ้อ... ที่แท้ก็ LM317 นี่เองครับ การคำนวณกระแสคิดได้จาก แรงดันตกคร่อม ขา 2 กับ 3 ของ IC มีค่าเท่ากับ 1.25 V. หารด้วนค่าความต้านทานระหว่างขา 2 กับ 3 ซึ่งในรูปมีค่าเท่ากับ 18.5 Ohm.
ดังนั้น คำนวณกระแสที่ไหลผ่าน IC ได้เท่ากับ 1.25 / 18.5 = 0.0675 A. หรือ 67.5 mA. ครับ ซึ่งน่าจะเหมาะกับ EL34 พอดีครับ
ซึ่งในการจัดรูปแบบการทำงานของ IC ในรูปแบบนี้ไม่ต้องการแรงดันไฟเลี้ยงภายนอกมาเพิ่มครับ
ส่วนเรื่องแรงดันคกคร่อมวงจรในส่วนของวงสีแดง ไม่น่าจะคำนวณได้โดยตรง เพราะกระแสที่ไหลผ่านหลอด 67.5 mA เท่ากันก็จริงอยู่ แต่ปัจจัยที่มีผลโดยตรงต่อแรงดันจุดสำคัญอีกจุดหนึ่ง นั่นคือ ความต้านทานภายในหลอด EL34 เอง ซึ่งเมื่อหลอดมีอายุการใช้งานที่เพิ่มขึ้น ความต้านทานภายในหลอดก็อาจเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ซึ่งความต้านทานนี้ต่ออนุกรมกับวงจรในส่วนของวงสีแดง แล้วต่อเข้ากับแหล่งจ่ายแรงดัน ซึ่งในการพิจารณาวิเคราะห์การทำงานนั้น จะต้องมองว่าเป็นแหล่งจ่ายแรงดันคงที่ วงจรทั้ง 2 ส่วนที่ต่ออนุกรมกันอยู่นี้ จึงมีลักษณะเป็นวงจรแบ่งแรงดันนั่นเอง
ในวงจรแบ่งแรงดัน ซึ่งต่อกันในแบบอนุกรม กระแสที่ไหลผ่านในวงจรมีค่าเท่ากันทั้งหมด โดยจะส่งผลต่อแรงดันในจุดต่างๆ ดังนี้
หากความต้านทานภายในหลอดลดลง แรงดันตกคร่อมหลอดก็จะลดลงตามไปด้วย แรงดันคกคร่อมวงจรในส่วนของวงสีแดง จึงสูงขึ้นกว่าเดิม
ในทางกลับกัน หากความต้านทานภายในหลอดเพิ่มขึ้น แรงดันตกคร่อมหลอดก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย แรงดันคกคร่อมวงจรในส่วนของวงสีแดง ก็จะลดลงต่ำกว่าเดิม
ทั้งหมดทั้งมวลข้างต้น ว่ากันตามทฤษฎีครับ ยังไงก็คงต้องทดลองดูผลจากการต่อวงจรจริงๆ อ่ะครับ
