ทางผู้ผลิตจงใจต่อมาแบบนี้หรือเปล่าครับ
ตอบลำบากครับ มีทั้งจงใจ และไม่จงใจ
ยุคนั้นลำโพงญี่ปุ่นเสียงพุ่งจัด เหตุหมู่เกาะญี่ปุ่น ทะเลล้อมรอบ เสียงคลื่นลมดังมาก จึงออกแบบให้กลบเสียงน๊อยส์ฟลอร์
พอจะทำลำโพงส่งขายที่อื่นเลยต่อให้กลับเฟสเสียงแหลมลดจัดจ้านลง (เดานะครับ)
ดอกลำโพง 12 นิ้ว กับเสียงกลาง 5 นิ้วเอาถ่านไฟฉายเขี่ยดูด้วยตาเปล่าก็รู้ว่าขั้วบวก_ลบ ตรงหรือไม่
ส่วนทวีทเตอร์ต้องมีเครื่องมือตรวจเช็ค ถ้าไม่มีก็ต้องฟังเอา
ซึ่งถ้าตั้งใจจับไม่นานนักหูเราจะรับรู้ได้ครับ เพราะหูคนเราทุกคนพัฒนาเร็วมาก
สมมุติว่า Sansui เลียนแบบ JBL คือดอกลำโพงทำกลับเฟสมาแต่โรงงาน หรือจงใจทำซึ่งก็เป็นไปได้ทั้้งสิ้นครับ
เราต้องมารื้อหาความรู้เพิ่มเติมเอง
เช่นลำโพงติดรถยนต์ยี้ห้อ Isophon รุ่นใหญ่แบบโครงสี่เหลี่ยม ตอนปี 2518 , 2519
ทวีทเตอร์ที่มี Capacitor ที่ติดมาจากโรงงานก็ต่อไปที่ขั้วลบ(-)
สมัยโน้นที่เล่นเครื่องเสียงรถยนต์ต้องให้ช่างบัดกรีสลับใหม่ครับ ฟังไม่ออกหรอกแต่เอาสบายใจ
Sansui PM C-100II นี้ พาสสีพครอสตัดที่ 2000 , 8000 , 16000 Hz , มันก็มีเหตุผลในเรื่องของเสียงวรรณยุกต์
เสียงวรรรณยุกต์ คือเสียงสูง_ต่ำ หรือเสียงดนตรี ซึ่งมีทั้งหมด 8 คู่เสียงคือ โด เร มี ฟา ซอล ลา ที และโด เป็นหนึ่งอ๊อคเต็ป
ในเรื่องของเสียง First Octave เริ่มที่ประมาณ 32.7 Hz อ๊อคเต็ปที่สองสูงขึ้นหนึ่งเท่าเสมอคือ ประมาณ 65,4 Hz
แต่เรื่องของเสียงดนตรีที่หูคนเราได้ยินและพอแยกออกว่าเป็นเสียงกีตาร์ เสียงเปียโน จะอยู่ที่ประมาณ 250 Hz
สมมุติเราเอา 250 Hz มาเป็นอ๊อคเต็ปตั้งต้น สูงขึ้นไปทีละขั้นคือ 1 เท่าเสมอก็จะเป็นดังนี้
250 500 1000 2000 4000 8000 16000
การที่ Sansui รุ่นนี้ตัดครอสที่ 2000 ให้เสียงกลาง , 8000 ให้ทวีทเตอร์ , 16000 ให้ซูเปอร์ทวีทเตอร์
จึงมีนัยพอสมควรเชื่อถือ แม้ว่าจะไม่เด็ดขาดนักก็ตามครับ