HTG2.net (Since 1999)
Home Theater Guide webboard => มุม Thai DIY Audio => ข้อความที่เริ่มโดย: nunes ที่ 04 พฤษภาคม, 2007, 08:01:14 PM
-
ร้อนทุกตัวเลยครับ ในขณะที่ IC REGULATOR ไม่ร้อนเลย แต่ค่า VOTAGE ก็ได้ปกตินะครับ ไม่ทราบว่าเกิดจากอะไรครับ ขนาดตัวที่จ่ายไฟให้ CRYSTAL ยังร้อนเลย ลืมบอกไปผมใช้ LT 1085 C แทน LM 317 และใช้ TL1033C แทน LM 337 ทุกตัวในวงจรครับ ร้อนแบบนี้กลัวว่าจะใช้ได้ไม่ทนนะครับ
-
แฮะๆ..... ผมก็ไม่เคยเอานิ้วไปจิ้มซักทีอ่ะครับ
แตก็ไม่เห็นมันเป็นไรนะครับ
ยังไงเพื่อความสบายใจก็ลองหา Heatsink เล็กๆ
ที่ใช้กับตัวถังแบบ TO-92มาลองติดดูนะครับ
ลืมบอกไปผมใช้ LT 1085 C แทน LM 317 และใช้ TL1033C แทน LM 337 ทุกตัวในวงจรครับ
0)] 0)] 0)]
เปลี่ยนใส่แทนแล้วเสียงเป็นไงครับ
-
ของผมฟังเกือบจะ 1 ปียังร้องเพลงได้ครับ ไม่เคยจับดูเหมือนกันลงกล่องแล้วไม่ได้ยุ่งอีกเลย :)
-
ยังทำไม่เสร็จครับ แค่ลอง test power supply หาความผิดปกติดูก่อนนะครับ ก็เลยเจอว่า TL 431 นี่ร้อนเอาเรื่องเลยครับ แถมมีกลิ่นออกมาด้วย
-
แฮะๆ..... ผมก็ไม่เคยเอานิ้วไปจิ้มซักทีอ่ะครับ
แตก็ไม่เห็นมันเป็นไรนะครับ
ยังไงเพื่อความสบายใจก็ลองหา Heatsink เล็กๆ
ที่ใช้กับตัวถังแบบ TO-92มาลองติดดูนะครับ
ลืมบอกไปผมใช้ LT 1085 C แทน LM 317 และใช้ TL1033C แทน LM 337 ทุกตัวในวงจรครับ
0)] 0)] 0)]
เปลี่ยนใส่แทนแล้วเสียงเป็นไงครับ
ผมลองใช้ LT317-337 (ราคาต่ำกว่า 1085-1033 พอสมควรครับ )ไม่ได้เทียบกันจะๆ ใช้ใน DAC คนละตัวแต่วงจรคล้ายกัน
เหมือน LT background จะเงียบกว่า LM ครับ ;)
-
8) ผมเคยเจออาการ TL431 ร้อนจัดตอนที่ TDA1541A เสียเนื่องจากจ่ายไฟผิด (สลับขั้ว +/-)
ถ้าทุกอย่างปกติ TL431 อุ่นๆพอรู้สึกได้เท่านั้นครับ
-
ผมว่า tl431 นี่ร้อนเกินกว่าที่ควรจะเป็นนะครับ ในขณะที่ lt 1088 ไม่มีความร้อนเกิดขึ้นเลย ก็แน่นอนอนอยู่แล้ว จ่ายกระแสได้สูงสุด 3แอมป์ แต่ใช้จริงไม่ถึง 100 มิลลิแอมป์ ที่จริงไม่ต้องติด heatsink ก็ยังได้ นะครับ
-
ลองเพิ่มค่า R ( 12 โอม ) ที่ทำหน้าที่ลิมิตกระแสไฟก่อนเข้า TL431ดูครับ...
-
ผมลองเปลี่ยนเป็น 15 OHMก็ช่วยได้นิดหน่อยครับ แต่ก็ยังร้อนอยู่ ซึ่งดูแล้วไม่น่าจะเป็นการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง เพราะ LT 1085 ที่ผมใช้แทน LM317 จ่ายกระแสได้ถึง 3 A. ในขณะที่ค่า R ที่เราเลือกใช้ในวงจรคือ R 12 OHM ทำหน้าที่จำกัดกระแส ของ LM 317 ซึ่งทำหน้าที่เป็น CURRENT SOURCE ซึ่งหากลองคำนวณดูคร่าวๆ lm317 จ่ายกระแสให้โหลดไม่เกิน 100มิลลิแอมป์ ด้วยซ้ำ ส่วน TL431 หลักการทำงานก็เหมือน ZENER DIODE ตัวหนึ่งแค่นั้น ทำหน้าที่แค่รักษาแรงดันตกคร่อมตัวมัน โดยมี R 1 K. 2 ตัว เป็นตัวกำหนด เพื่อให้จ่ายแรงดันได้ 5 V. ผมว่าน่าจะเกิดจากการคำนวณค่า R ผิดพลาดหรือเปล่าครับ ทำให้มีกระแสไหลผ่าน TL431 มากเกินไปกว่าที่ตัวมันจะรับได้ เหมือนกับหลักการของ ZENER DIODE คือแทนที่กระแสจะไปไหลผ่านโหลด กลับไปไหลผ่าน TL 431 แทน
-
ผมลองเปลี่ยนเป็น 15 OHMก็ช่วยได้นิดหน่อยครับ แต่ก็ยังร้อนอยู่ ซึ่งดูแล้วไม่น่าจะเป็นการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง เพราะ LT 1085 ที่ผมใช้แทน LM317 จ่ายกระแสได้ถึง 3 A. ในขณะที่ค่า R ที่เราเลือกใช้ในวงจรคือ R 12 OHM ทำหน้าที่จำกัดกระแส ของ LM 317 ซึ่งทำหน้าที่เป็น CURRENT SOURCE ซึ่งหากลองคำนวณดูคร่าวๆ lm317 จ่ายกระแสให้โหลดไม่เกิน 100มิลลิแอมป์ ด้วยซ้ำ ส่วน TL431 หลักการทำงานก็เหมือน ZENER DIODE ตัวหนึ่งแค่นั้น ทำหน้าที่แค่รักษาแรงดันตกคร่อมตัวมัน โดยมี R 1 K. 2 ตัว เป็นตัวกำหนด เพื่อให้จ่ายแรงดันได้ 5 V. ผมว่าน่าจะเกิดจากการคำนวณค่า R ผิดพลาดหรือเปล่าครับ ทำให้มีกระแสไหลผ่าน TL431 มากเกินไปกว่าที่ตัวมันจะรับได้ เหมือนกับหลักการของ ZENER DIODE คือแทนที่กระแสจะไปไหลผ่านโหลด กลับไปไหลผ่าน TL 431 แทน
เชื่อเต่อว่า....เปลื่ยนค่า R มากขึ้นก็ไม่ร้อนแล้ว...ของผมใช้ 47 Ohm. ก็ใช้ได้ดีครับ..... :showoff
-
ผมลองเปลี่ยนเป็น 15 OHMก็ช่วยได้นิดหน่อยครับ แต่ก็ยังร้อนอยู่ ซึ่งดูแล้วไม่น่าจะเป็นการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง เพราะ LT 1085 ที่ผมใช้แทน LM317 จ่ายกระแสได้ถึง 3 A. ในขณะที่ค่า R ที่เราเลือกใช้ในวงจรคือ R 12 OHM ทำหน้าที่จำกัดกระแส ของ LM 317 ซึ่งทำหน้าที่เป็น CURRENT SOURCE ซึ่งหากลองคำนวณดูคร่าวๆ lm317 จ่ายกระแสให้โหลดไม่เกิน 100มิลลิแอมป์ ด้วยซ้ำ ส่วน TL431 หลักการทำงานก็เหมือน ZENER DIODE ตัวหนึ่งแค่นั้น ทำหน้าที่แค่รักษาแรงดันตกคร่อมตัวมัน โดยมี R 1 K. 2 ตัว เป็นตัวกำหนด เพื่อให้จ่ายแรงดันได้ 5 V. ผมว่าน่าจะเกิดจากการคำนวณค่า R ผิดพลาดหรือเปล่าครับ ทำให้มีกระแสไหลผ่าน TL431 มากเกินไปกว่าที่ตัวมันจะรับได้ เหมือนกับหลักการของ ZENER DIODE คือแทนที่กระแสจะไปไหลผ่านโหลด กลับไปไหลผ่าน TL 431 แทน
เชื่อเต่อว่า....เปลื่ยนค่า R มากขึ้นก็ไม่ร้อนแล้ว...ของผมใช้ 47 Ohm. ก็ใช้ได้ดีครับ..... :showoff
ถูกต้องแล้วครับ O0
ตามวงจร LM317t ทำหน้าที่จ่ายกระแสคงที่ค่าหนึ่ง ซึ่งจำเป็นต้องมีโหลดที่ sink กระแสทั้งหมด โดยที่โหลดก็คือ TL431 และ TDA1541A
ยกตัวอย่างเช่น
LM317t ใช้ R limit กระแส 12 โอห์ม กระแสที่ไหลทั้งหมดเท่ากับ 1.25/12 = 104 mA
ถ้า TDA1541A ต้องการ 15v คิดที่กระแสสูงสุด 35mA (ไม่คิดเครื่องหมายลบ)
ดังนั้นกระแสที่เหลือทั้งหมด 69 mA
ไหลผ่าน R1k+R5.1K = 2.4mA และ TL431 รับไป 66.6mA
power ตกคร่อม TL431 คือ 66.6mA * 15V =0.999W ครับ
ซึ่ง TL431LP ตัวถัง TO-92 ทนได้แค่้ 0.7W
เกิน Maximum power rating ครับ ตัว TL431 จะร้อนมาก ยิ่งถ้าไม่ได้ใส่ TDA1541 ก็ยิ่งไปกันใหญ่
วิธีแก้ก็คือลดกระแสที่ LM317 จ่ายออกมา โดยเพิ่ม R
เช่น ให้กระแสไหล 50mA ใช้ R = 1.25/50mA = 25 โอห์ม
ทำให้ power ตกคร่อม TL431 คือ 12.6mA * 15V =0.189W
ความร้อนลดลงมากเลยครับ
โดยสามารถนำไปคำนวนกระแส ที่แรงดันไฟค่าอื่นๆ ได้ครับ
-
References
-
ถูกต้องแล้วครับ O0
ตามวงจร LM317t ทำหน้าที่จ่ายกระแสคงที่ค่าหนึ่ง ซึ่งจำเป็นต้องมีโหลดที่ sink กระแสทั้งหมด โดยที่โหลดก็คือ TL431 และ TDA1541A
ยกตัวอย่างเช่น
LM317t ใช้ R limit กระแส 12 โอห์ม กระแสที่ไหลทั้งหมดเท่ากับ 1.25/12 = 104 mA
ถ้า TDA1541A ต้องการ 15v คิดที่กระแสสูงสุด 35mA (ไม่คิดเครื่องหมายลบ)
ดังนั้นกระแสที่เหลือทั้งหมด 69 mA
ไหลผ่าน R1k+R5.1K = 2.4mA และ TL431 รับไป 66.6mA
power ตกคร่อม TL431 คือ 66.6mA * 15V =0.999W ครับ
ซึ่ง TL431LP ตัวถัง TO-92 ทนได้แค่้ 0.7W
เกิน Maximum power rating ครับ ตัว TL431 จะร้อนมาก ยิ่งถ้าไม่ได้ใส่ TDA1541 ก็ยิ่งไปกันใหญ่
วิธีแก้ก็คือลดกระแสที่ LM317 จ่ายออกมา โดยเพิ่ม R
เช่น ให้กระแสไหล 50mA ใช้ R = 1.25/50mA = 25 โอห์ม
ทำให้ power ตกคร่อม TL431 คือ 12.6mA * 15V =0.189W
ความร้อนลดลงมากเลยครับ
โดยสามารถนำไปคำนวนกระแส ที่แรงดันไฟค่าอื่นๆ ได้ครับ
O0 O0 O0
-
d_d เยี่ยมครับคุณ Jansilp ใครใช้ R 12 โอห์มอยู่ เปลี่ยนเป็น 25 โอห์มด่วนเลยครับ
-
2f 2f :clap O0