HTG2.net (Since 1999)
Home Theater Guide webboard => มุม Thai DIY Audio => ข้อความที่เริ่มโดย: Audio Boy ที่ 17 สิงหาคม, 2010, 10:35:18 PM
-
จากที่เห็นเพื่อนสมาชิกหลายๆท่าน สอบถามเกี่ยวกับเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเรื่องเหล่านี้ สำหรับหลายๆท่านที่ได้ศึกษามาก็มองดูเป็นเรื่องง่าย แต่อีกหลายท่านที่ไม่เคยมีประสบการณ์ด้านนี้ก่อน เป็นเรื่องยากที่เดียวครับ ที่จะเข้าใจถึงหลักการทำงานของอุปกรณ์นั้นๆ
ผมจึงเห็นว่า เราควรที่จะนำความรู้ที่มี ที่ใช้ประโยชน์ในงาน DIY หรือเก็บไปเป็นความรู้ใช้ในชีวิตประจำวันมารวบรวมไว้ กระทู้จึงขอรวบรวมอุปกรณ์ที่พบเจอในงาน DIY บ่อยๆ นำมาอธิบายโครงสร้าง การทำงาน และทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง เอาแบบง่ายๆ เข้าใจได้ ไม่เข้าใจก็ถามได้ตลอดครับ
ทั้งนี้ก็ต้องขอเชิญ ปรมาจารย์ ทั้งหลาย มาช่วยกันให้ความรู้ แบ่งปันความคิดเห็น เพราะลำพังผมเองก็ใช่ว่าจะรู้ทุกอย่าง ;D แต่อยากริเริ่ม เพื่อเป็นประโยชน์ครับ d_d
เนื้อหาในกระทู้เพื่อความสะดวกในการค้นหาครับ
1.ปริมาณและหน่วยทางไฟฟ้าเบื้องต้น (http://www.htg2.net/index.php?topic=67698.msg841314#msg841314)
2.อุปกรณ์ไฟฟ้าเบื้องต้น (http://www.htg2.net/index.php?topic=67698.msg841802#msg841802)
ความต้านทานและตัวต้านทาน (http://www.htg2.net/index.php?topic=67698.msg842111#msg842111)
ชนิดของตัวต้านทานแบบค่าคงที่ (http://www.htg2.net/index.php?topic=67698.msg842529#msg842529)
การอ่านค่าความต้านทาน (http://www.htg2.net/index.php?topic=67698.msg844325#msg844325)
ตัวต้านทานแบบปรับค่าได้หรือเปลี่ยนค่าได้ (http://www.htg2.net/index.php?topic=67698.msg847595#msg847595)
การต่อใช้งานตัวต้านทานในวงจรไฟฟ้า (http://www.htg2.net/index.php?topic=67698.msg853011#msg853011)
-
มาปูเสื้อรออ่านครับ c)
-
ดีเลยครับ ในนี้ก็มี พี่ๆน้าๆลุงๆ หลายท่านเก่งๆทั้งนั้นเลย ;)
-
1.ปริมาณและหน่วยทางไฟฟ้าเบื้องต้น เริ่มแรกเรามาทำความรู้จักเกี่ยวกับปริมาณทางไฟฟ้าที่เราพบเจอบ่อยๆกันก่อนครับ เอาเฉพาะที่เป็นพื้นฐาน ไม่รู้แค่นี้จะพอหรือเปล่า
-
เข้าห้องเรียนด้วยคน :teach
-
มาเรียนด้วยคน :wiggle
-
1.1 ชื่อประกอบหน่วย ชื่อประกอบหน่วยเป็นชื่อที่กำหนดขึ้น เพื่อใช้เรียกแทนค่าที่มาจากเลขยกกำลัง 10 เพื่อให้ง่ายในการอ่าน เขียน ไม่ว่าตัวเลขนั้นจะมีค่ามากหรือน้อยเพียงไร อ่านแล้วงงไหมครับ ถามได้ครับถ้ามีข้อสงสัย :secret
จากตารางด้านล่าง ส่วนที่ผมทำพื้นสีเขียวคือส่วนที่เราๆใช้งานงาน DIY บ่อยๆครับ
-
เข้าห้องเรียนด้วยคน :teach
ตาคนนี้ต้องมาเรียนด้วยเหรอนี้ มาช่วยทำมาหากินหน่อยดีกว่ามั่ง ;D ;D
-
:D :D :D :D ดีมากเลยน้อง :D :D :D :D
-
อยากทำเป็นมากๆครับ
-
โอ้ เยี่ยมจริงๆๆครับ ขอร่วมเรียงเคียงหมอนด้วยคน นะครับ :clap :clap :clap
-
โอ้ เยี่ยมจริงๆๆครับ ขอร่วมเรียงเคียงหมอนด้วยคน นะครับ :clap :clap :clap
แปลว่าอะไรเนี่ย เบี่ยงเบนหรือเปล่าน้าอ้อน ...............
-
1.2 ชนิดของแรงดันและกระแสไฟฟ้า ไฟฟ้ามีอยู่ 2 ชนิดด้วยกันคือ ไฟฟ้าสถิตและไฟฟ้ากระแสครับ แต่ที่เราๆใช้กันอยู่ ไม่ว่าในแอมป์หรือในบ้าน เรียกว่า "ไฟฟ้ากระแส" ครับ
เข้าเลยดีกว่า เดี๋ยวเบื่อซ่ะก่อน ไฟฟ้ากระแสที่ใช้อยู่ทั่วไป แบ่งได้ 2 ชนิดคือ
1. ไฟฟ้ากระแสตรง เป็นไฟฟ้าที่มีทิศทางการไหลทางเดียว แล้วไฟฟ้าแบบไหนบ้างที่จัดเป็นไฟฟ้ากระแสตรง ??? ง่ายๆครับ ไฟฟ้าแบบไหนที่สามารถเก็บภาชนะ หรือเก็บรักษาไว้ได้คือไฟฟ้ากระแสตรงครับ เช่น แบตเตอรี่รถยนต์ ถ่านไฟฉาย แบตฯมือถือ ฯลฯ
2. ไฟฟ้ากระแสสลับ เป็นไฟฟ้าที่มีทิศทางการไหลของกระแสกลับไปกลับมา ตลอดเวลา ไฟฟ้าชนิดนี้ไม่สามารถเก็บไว้ได้ครับ เช่น ไฟฟ้าในบ้าน หรือ ไฟที่มาจากการไฟฟ้าครับ
ต่อไปเป็นตัวอย่างและความต่างของกระแสไฟฟ้าทั้ง 2 ชนิดครับ อ่านเบื่อหรือ บอกได้ครับ เพื่อจะได้ปรับปรุง Y]
-
รูปแสดงลักษณะคลื่นแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงครับ จะเห็นได้ว่า แรงดันมีค่าคงที่ เป็นเส้นตรง เข้าใจอย่างนี้ล่ะกัน ง่ายดี ;D
-
ต่อไปเป็นรูปลักษณะไฟฟ้ากระแสสลับ ที่วิ่งๆอยู่ในสายไฟบ้านเราๆครับ หน้าตาเป็นแบบนี้ครับ
-
มาเข้าห้องเรียนรอบดึก :black_eye :black_eye
-
นับถือในความกรุณาแบ่งปันความรู้ครับ :clap :clap :clap
-
เมื่อเราเอาตัวต้านทานต่อเข้ากับแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรง ซึ่งอาจเป็นแบตเตอรี่ วงจรตามรูป ก็จะเกิดกระแสไหลในวงจร รูปคลื่นกระแสก็จะมีลักษณะเช่นเดียวกับแหล่งจ่ายแรงดันครับ ตามรูปเลย
-
เช่นเดียวกัน ถ้าเรานำเอาแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ อย่างไฟในบ้านเราๆ จ่ายให้กับตัวต้านทาน รูปคลื่นกระแสที่ได้ก็จะเป็นเช่นเดียวกับแหล่งจ่ายครับ
-
สนับสนุนครับ
-
มานั่งอ่านด้วยครับ :showoff :showoff :showoff
-
นักเรียนมาแล้ว c)
-
ขอร่วมอ่านด้วยคนครับ :victory :victory
-
มีการเรียนก็มีการสอบเป็นธรรมดา มีข้อสอบมาให้ทำกันเล่นๆ เพื่อทดสอบความเข้าใจ ทำข้อสอบนี้ได้ก็จบชั้นอนุบาลไฟฟ้า เตรียมตัวขึ้น ป.1ไฟฟ้าได้เลยครับ ;D ;D ;D
-
มีการเรียนก็มีการสอบเป็นธรรมดา มีข้อสอบมาให้ทำกันเล่นๆ เพื่อทดสอบความเข้าใจ ทำข้อสอบนี้ได้ก็จบชั้นอนุบาลไฟฟ้า เตรียมตัวขึ้น ป.1ไฟฟ้าได้เลยครับ ;D ;D ;D
รูป 1 กระแสครง รูป 2กระแสลับ รูป 3 กระแสตรง รูป 4 กระแสตรง รูป 5 กระแสสลับ รูป 6 กระสลับ ครับ
-
มีการเรียนก็มีการสอบเป็นธรรมดา มีข้อสอบมาให้ทำกันเล่นๆ เพื่อทดสอบความเข้าใจ ทำข้อสอบนี้ได้ก็จบชั้นอนุบาลไฟฟ้า เตรียมตัวขึ้น ป.1ไฟฟ้าได้เลยครับ ;D ;D ;D
รูป 1 กระแสครง รูป 2กระแสลับ รูป 3 กระแสตรง รูป 4 กระแสตรง รูป 5 กระแสสลับ รูป 6 กระสลับ ครับ
พี่ duang53 ผ่านครับ เตรียมตัวขึ้น ป.1 ได้เลยครับ O0 O0 O0 ขยันแบบนี้ไม่นานก็จบปริญญาตรีไฟฟ้าแล้วครับ เหมือนให้กำลังใจตัวเองเลย ;D ;D ;D
-
ตามมาเรียนครับ อ่านปุ๊ป ทำข้อสอบปัป....ผมเลยขึ้น ป.1 เลย :D :D :D
ป.ล.คุณครูใจดี สอนง่าย สอนไว 2f
-
รูปสุดท้ายน่ากลัวจัง :cold :cold น่าจะโดน ไป 22kV หรือเปล่าเนี้ย
-
รูปสุดท้ายน่ากลัวจัง :cold :cold น่าจะโดน ไป 22kV หรือเปล่าเนี้ย
รูปสุดท้านลงไว้เพื่อเป็นอุทาหรณ์ครับ ว่าอย่าเล่นกับไฟหากไม่มีความรู้ครับ ไฟขนาดนี่ไขควงเช็คก็วัดไม่ได้ครับ ไปวัดอย่างเดียว :nono
เคยเจออย่างนี้ต่อหน้าต่อตาครั้งนึง ทำได้อย่างเดียวยืนอึ้ง แต่ก็ช่วยอะไรไม่ได้ ขนาดว่าเป็นช่างที่มีประสบการณ์นับ 10 ปีก็ยังมีพลาดกันได้ กว่าจะตัดไฟทันพี่แกก็จากเราไปแล้ว :nono
เห็นอย่างนี้แล้ว DIY ทั้งหลายอย่างเพิ่งกลัวจนไม่กล้าทำแอมป์น่ะครับ ท้ายๆจะมีวิธีป้องกันตัวมาฝากกัน
-
2. อุปกรณ์ไฟฟ้าเบื้องต้น เมื่อมาพิจารณาอุปกรณ์ที่เป็นองค์ประกอบหลักๆในทางไฟฟ้า จะแบ่งได้ 3 ชนิดคือ
1. ตัวต้านทาน(ความต้านทาน)
2. ตัวเก็บประจุ (ความจุไฟฟ้า)
3. ตัวเหนี่ยวนำ (ความเนี่ยวนำ)
ถ้าเราลองมองอุปกรณ์ไฟฟ้าที่อยู่รอบๆตัว เช่น พัดลม ตู้เย็น เครื่องซักผ้า คอมพิวเตอร์ ฯลฯ ในเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ก็จะมีอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้ง 3 ชนิดที่กล่าวมา เป็นส่วนประกอบทั้งสิ้น
เช่น ในพัดลมก็จะมีขดลวดก็จะมีขดลวด (ความเหนี่ยวนำ) ในขดลวดก็จะมีความต้านทานแฝงอยู่ มีตัวเก็บประจุ (ความจุไฟฟ้า) ใช้ในการสตาร์ทให้ทำงาน
ในหม้อหุงข้าว ก็มีลวดตวามต้านทานเพื่อให้ความร้อน เป็นต้นครับ
-
เข้ามาหาความรู้ครับ
-
นอกจาก ไฟกระแสตรง กระแสสลับ และ สถิตย์แล้ว ยังมีไฟราคะอีกด้วยนะ(นอกเรื่องเดี๋ยวโดนครูตีแน่ๆๆ) ;D
ขอบคุณมากๆๆครับ ผมตามจดอยู่ครับ เยี่ยมจริงๆๆ O0
-
นอกจาก ไฟกระแสตรง กระแสสลับ และ สถิตย์แล้ว ยังมีไฟราคะอีกด้วยนะ(นอกเรื่องเดี๋ยวโดนครูตีแน่ๆๆ) ;D
ขอบคุณมากๆๆครับ ผมตามจดอยู่ครับ เยี่ยมจริงๆๆ O0
เด็กชายอนุชิต จอมป่วน ต้องให้คาบไม้ถูพื้น ยืนขาเดียวหน้าห้อง
-
เข้ามาชมครับเก็บเกี่ยวความรู้ผมมันเด็กหลังห้อง O0 O0 O0
-
ขอชื่นชม และเข้ามาเก็บเกี่ยวความรู้ด้วยครับ
-
นักเรียนมาเข้าห้องแล้วครับ :)
-
นักเรียนมาเรียนแล้วครับ
-
:clap :clap :clap
-
2.1 ความต้านทานและตัวต้านทาน ความต้านทานเป็นคุูณสมบัติเฉพาะของสารแต่ละชนิด โดยความต้านทานนั้นหมายถึง ความสามารถในการต้านการไหลของกระแสไฟฟ้า หรือทำให้การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน (อิเล็กตรอนก็คือ กระแสครับ) ไม่สะดวก เสมือนกันความฝืดหรือแรงเสียดทานในทางกลครับ
อ่านดูแล้วเป็นวิชาการไปไหมยากไปแจ้งด้วยครับ มาต่อกันเลย อย่างที่บอกไปแล้วว่า ความต้านทานเป็นคุณสมบัติเฉพาะของสารแต่ละชนิด งั้นเรามาดูว่าสารที่เราเจอบ่อยๆ มีความต้านทานเป็นอย่างไรกันบ้าง
จากตารางแสดงค่าความต้านของสารแต่ละชนิด มีหน่วยเป็น โอห์มต่อเมตร โดยจากตารางเป็นผลการทดลองที่อุณหภูมิเดียวกันครับ
-
ยกตัวอย่างในตารางมาอธิบายสัก 2-3 ตัวอย่างครับ ขอบคุณครับ
-
ยกตัวอย่างในตารางมาอธิบายสัก 2-3 ตัวอย่างครับ ขอบคุณครับ
นักเรียนอย่าใจร้อน ผมเตรียมเอกสารการสอนไม่ทัน ;D ;D ;D
-
มานั่งเรียนด้วยคน
-
จากตารางที่ 2.1 เป็นตัวอย่างแสดงค่าความต้านทานของสาร 3 กลุ่ม คือ ตัวนำ(Conductor) กึ่งตัวนำ(Semiconductor) และฉนวน(Insulator) ลองมองที่ตัวนำที่ใกล้ๆตัวเราครับ
เงิน (Silver) จะมีความต้านทานน้อยกว่าทองแดง (Copper) มาทบทวนตรงหน่วยกันหน่อยครับ
เงิน มีความต้านทานเฉพาะ 1.64 x 10(-8) โอห์มต่อเมตร จะเท่ากับ 0.0000000164 โอห์มต่อเมตร ใช่หรือเปล่าครับ ? ???
ทองแดง มีความต้านทานเฉพาะ 1.72 x 10(-8) โอห์มต่อเมตร จะเท่ากับ 0.0000000172 โอห์มต่อเมตร ใช่ไหมครับ
จะเห็นว่า เงินและทองแดง ที่ขนาดพื้นที่หน้าตัดและความยาวเท่ากัน เงินจะมีความต้านทานน้อยกว่าทองแดงอยู่ 0.000000008 โอห์ม ครับ เห็นอะไรบ้างหรือยังครับ ว่าทำไมเค้าถึงทำสายชุบเงินกัน ?
จะเห็นว่าความแตกต่างของความต้านทานนั้น น้อยมากๆ มิเตอร์ที่เราๆใช้อยู่วัดค่าต่ำขนาดนี้ไม่ได้เลยครับ ส่วนเรื่องเสียงนั้น อยู่ที่ความสุขทางใจแล้วก็หูใครหูมันละครับ ;D ;D
มาดูตรงที่เป็นกระดาษ(Paper) และไมก้า (Mica) จะเห็นว่าค่าความต้านทานนั้นเยอะมากๆครับ ถ้าเป็นไมก้าก็ 5 x 10(11) โอห์มต่อเมตร ก็เท่ากับ 5000000000000 โอห์มต่อเมตร ค่าสูงมาก เค้าจึงวัสดูพวกนี้ไว้เป็นฉนวนครับ Y]
-
:) :)เข้าใจครับ
-
เมื่อเราทราบความต้านทานเฉพาะของตัวนำแต่ล่ะชนิด จะสามารถหาค่าตวามต้านทานของสายตัวนำหรือลวดตัวนำได้ ตามการคำนวณ ดังนี้ เอามาให้ดูเฉยๆครับ ถ้าใครอยากลองก็ดีครับ
ค่าความต้านทานที่ได้จะมีหน่วยเป็น โอห์ม ครับ
โดยตัวอักษรที่คล้ายตัว P เรียกว่า " โร " แทนด้วยค่าในช่องกลางของตารางที่ 2.1
-
ตัวต้านทาน จากที่เห็นแล้วว่าสารแต่ละชนิดมีความสามารถในการต้านทานการไหลของกระแสที่แตกต่างกัน จึงได้มีการนำเอาสารบางชนิดที่เหมาะสม เพราะสามารถนำมาทำให้มีค่าความต้านทานที่หลากหลายได้ จึงได้
ได้มีการคิดทำเป็น " ตัวต้านทาน " ขึ้น สารที่เราใช้ๆกันก็ได้แ่ก่ คาร์บอน ทังสเตน นิโครม หรืออาจจะเป็นสารประกอบโลหะ ออกไซด์ของโลหะ เป็นต้น ซึ่งการเลือกใช้สารแต่ละชนิดก็ขึ้นอยู่กับกำลังไฟฟ้าหรือกระแสที่ตัวต้านทานต้อง
แบกรับ จึงมีการผลิตออกมาหลายขนาดและหลายชนิด โดยจะมีการระบุค่าความต้านทานไว้ที่ตัวต้านทาน อาจจะเขียนเป็นตัวเลขหรือเป็นรหัสสีครับ
-
อ.เดียร์ ขอเข้าเรียนด้วยคนนะครับ ;D
-
ขอโทษครับอาจารย์ ไปข้างนอก พึ่งเข้ามา ครับ :) :)
-
อ.เดียร์ ขอเข้าเรียนด้วยคนนะครับ ;D
ยินดีครับพี่บัง เข้ามาช่วยเกลาด้วย เผื่ออาจารย์พลาดครับ ;D ;D ;D
นอกจาก ไฟกระแสตรง กระแสสลับ และ สถิตย์แล้ว ยังมีไฟราคะอีกด้วยนะ(นอกเรื่องเดี๋ยวโดนครูตีแน่ๆๆ) ;D
ขอบคุณมากๆๆครับ ผมตามจดอยู่ครับ เยี่ยมจริงๆๆ O0
เด็กชายอนุชิต จอมป่วน ต้องให้คาบไม้ถูพื้น ยืนขาเดียวหน้าห้อง
เด็กชายวีระยุทธ โดดเรียนอีกแล้ว 2 วันซ้อนแล้วน่ะเนี่ย ต้องให้คาบหลอด 845 ยืนขาเดียวเป็นเพื่อนกับเด็กชายอนุชิตซ่ะแล้ว ;D 2f 2f
-
นอกจาก ไฟกระแสตรง กระแสสลับ และ สถิตย์แล้ว ยังมีไฟราคะอีกด้วยนะ(นอกเรื่องเดี๋ยวโดนครูตีแน่ๆๆ) ;D
ขอบคุณมากๆๆครับ ผมตามจดอยู่ครับ เยี่ยมจริงๆๆ O0
เด็กชายอนุชิตครับ ป่วนตลอดเลยนะครับ d_d d_d
-
อาจารย์ครับเปิดห้องเรียนตอนค่ำกี่โมง :yahoo :yahoo
-
นอกจาก ไฟกระแสตรง กระแสสลับ และ สถิตย์แล้ว ยังมีไฟราคะอีกด้วยนะ(นอกเรื่องเดี๋ยวโดนครูตีแน่ๆๆ) ;D
ขอบคุณมากๆๆครับ ผมตามจดอยู่ครับ เยี่ยมจริงๆๆ O0
เด็กชายอนุชิตครับ ป่วนตลอดเลยนะครับ d_d d_d
ใช่เลย แต่ท่านน่ารักดีนะ ผมชอบ ............. 2f 2f 2f 2f 2f
-
ชนิดของตัวต้านทาน ตัวต้านทานที่เราใช้กันอยู่ทั่วไป หากแบ่งตามลักษณะการใช้งาน จะแบ่งได้ 2 แบบด้วยกันคือ
1. ตัวต้านทานแบบค่าคงที่ (Constant Resistor)
2. ตัวต้านทานแบบปรับค่าได้หรือเปลี่ยนค่าได้ (Variable Resistor)
1. ตัวต้านทานแบบค่าคงที่ ตัวต้านทานแบบค่าคงที่ผลิตจากสารที่มีคุณสมบัติ ที่สามารถปรับแต่งให้มีค่าความต้านทานที่หลากหลายได้ง่าย เช่น คาร์บอน ออกไซด์โลหะ ฟิลม์โลหะ หรือขดลวดความต้านทาน สัญลักษณ์ของตัวต้านทานแบบค่าคงที่ และรูปตัวต้านทานแบบค่าคงที่แบบต่างๆ ตามรูปด้านล่างครับ
-
:secret :secret
-
ชนิดของตัวต้านทานแบบค่าคงที่ ตัวต้านทานแบบค่าคงที่ เป็นแบบที่พบเห็นการนำมาใช้งานมากที่สุด ซึ่งมีหลายชนิดและหลายขนาดให้เลือกใช้ โดยขนาดมีตั้งแต่ทนกำลังได้น้อยๆอย่าง 1/16 วัตต์ ไปจนถึงหลายร้อยวัตต์ แต่ในที่นี้จะขอกล่าวถึงชนิดและแบบที่เราพบเจอและใช้งานในงาน DIY บ่อยๆครับ
1. ตัวต้านทานค่าคงที่ชนิดคาร์บอน
ตัวต้านทานชนิดคาร์บอนคอมโพสิต(Carbon Composite Resistor) เป็นตัวต้านทานที่ใช้คุณสมบัติการเกิดความต้านทานภายในเนื้อคาร์บอน เป็นตัวให้ความต้านทาน โครงสร้างภายในของตัวต้านทานจึงประกอบด้วยเนื้อคาร์บอนเป็นหลักครับ ขนาดทั่วไปที่พบเห็นการใช้งานบ่อยๆคือ 1/4 วัตต์ 1/2 วัตต์ 1 วัตต์ และ 2 วัตต์
แต่เนื่องจากเนื้อคาร์บอนเมื่อได้รับความชื้น คุณสมบัติจะเปลี่ยนแปลง ค่าความต้านทานจึงเปลี่ยนแปลงได้ง่าย ดังนั้นก่อนนำมาใช้งาน จึงควรวัดค่าก่อนน่ะครับ รูปโครงสร้างและลักษณะตามด้านล่างครับ
-
ต.จ.ว.ตัวต้านแบบนี้หาซื้อยากครับ(นอกเรื่องแล้ว)
-
:cry2อาจารย์ครับวันเสาร์เรียนครึ่งวัน วันอาทิตย์หยุดไหมตรับ :cry2 :cry2
-
:cry2อาจารย์ครับวันเสาร์เรียนครึ่งวัน วันอาทิตย์หยุดไหมตรับ :cry2 :cry2
ผมเพิ่มเติมให้เรื่อยๆครับ ว่างก็จะเข้ามาเพิ่มเติมเนื้อหา เข้ามาอ่านได้ตลอดครับ แต่ส่วนใหญ่เดือนนี้จะว่างช่วงเช้าหรือไม่ก็ช่วงดึกๆครับ d_d
-
c) c) c) c)
-
ตัวต้านทานชนิดคาร์บอนฟิล์ม (Carbon Film Resistor) เนื่องจากเมื่อใช้เนื้อคาร์บอนเป็นองค์ประกอบหลักจะทำให้ค่าเปลี่ยนแปลงได้ง่าย ดังนั้นจึงได้มีการคิดค้น เพื่อลดปริมาณเนื้อคาร์บอนลง โครงสร้างของตัวต้านทานแบบคาร์บอนฟิล์ม โดยการทำเอาแท่งฉนวน แล้วฉาบด้วยคาร์บอนรอบๆ ทำให้เกิดค่าความต้านทาน เนื้อคาร์บอนจึงเป็นเพียงฟล์มบางๆ ค่าความผิดพลาดที่เกิดขึ้น จึงมีค่าลดลง เมื่อเทียบกับคาร์บอนคอมโพลิตครับ
-
2. ตัวต้านทานค่าคงที่ชนิดสารประกอบโลหะ
ตัวต้านทานชนิดออกไซด์โลหะ (Metal Oxide Resister) ในอุปกรณ์ที่เครื่องมือบางชนิด ค่าความผิดพลาดของความต้านทานที่ใช้คาร์บอน ยังถือว่ามีค่ามากอยู่ จึงได้มีการนำสารประกอบที่เป็นออกไซด์โลหะ ซึ่งจะทนต่อการเปลี่ยนแปลงของความชื้นและอุณหภูมิได้ดีกว่า ค่าความผิดพลาดจึงน้อยกว่าชนิดที่ใช้คาร์บอน นิยมนำมาใช้กับอุปกรณ์ที่ต้องการความถูกต้อง เที่ยงตรงสูง ค่าความผิดพลาดของตัวต้านทานชนิดนี้จะอยู่ที่ 5 % 1 % หรือต่ำกว่านี้ครับ
-
ตัวต้านทานชนิดฟิล์มโลหะ (Metal Film Resistor) ลักษณะและคุณสมบัติของตัวต้านทานชนิดนี้ เช่นเดียวกับชนิดออกไซด์โลหะ แตกต่างกันตรงสารที่นำมาทำความต้านที่ไม่ใช่สารประกอบโลหะแต่เป็นโลหะชนิดเดียว นำมาฉาบบนแท่งฉนวน เช่นเดียวกับแบบฟิล์คาร์บอนครับ
-
ข้อมูลดีมากครับ จะได้เรียก ชนิดของ R กันได้ถูกต้อง
-
บางทีก็เรียกชนิดของ R ผิดครับ :clap
-
3. ตัวต้านทานค่าคงที่ชนิดขดลวด (Wire Wound Resistor) ตัวต้านทานแบบขดลวดใช้คุณสมบัติความต้านทานของโลหะบางชนิด เช่น ทังสเตน นิโครม แมงกานีส มาทำเป็นเส้นลวดความต้านทานหรือลวดให้ความร้อน โดยตัวต้านทานในกลุ่มนี้มีอยู่หลายชนิด จากการที่ลวดความต้านทานสามารถทำให้มีขนาดที่แตกต่างกันไป ดังนั้นขนาดของตัวต้านทานแบบขดลวด จึงมีขนาดที่สามารถมนกำลังได้สูง ตั้งแต่ 3 วัตต์ ไปจนถึงหลาย 100 วัตต์ หรือเป็น 1000 วัตต์ก็มี
ลักษณะโครงสร้างของตัวต้านทานชนิดนี้ มีโครงสร้างคล้ายๆกันคือ การนำเอาลวดความต้านทานพันลงบนแกนฉนวน แล้วฉาบผิวภายนอกด้วยวัสดูที่เป็นฉนวนอีกครั้ง เพื่อป้องการกระทบกระแทกที่การทำให้เส้นลวดความต้านทานขาดได้ และช่วยในการระบายความร้อนของเส้นลวดด้วย
-
ที่เขาเรียกว่า R ไวร์วาวใช่ไหมครับ
-
เนื่องจากตัวต้านทานที่มีลักษณะเป็นขดลวด มีหลากหลายชนิด จึงมีชื่อเรียกต่างๆกันเช่น ตัวต้านทานแบบเซรามิค ตัวต้านทานแบบกระเบื้อง ตัวต้านทานแบบฮีตซิงค์ เป็นต้น ซึ่งบางรูปแบบก็มีรูปร่างหน้าตาเหมือนกับตัวต้านทานชนิดคาร์บอนหรือโลหะ แต่หากมีขนาดระบุ 3 หรือ 5 วัตต์ขึ้นไป ให้สงสัยไว้ก่อนว่าโครงสร้างเป็นแบบขดลวด (wire wound) ครับ
-
อีกแบบครับ
-
อันนี้แบบที่ใช้ฮีตซิงค์หุ้มอีกครั้งเพื่อช่วยระบายความร้อนครับ
-
ออฟไซด์ อีกแล้วเรา K] K] K]
-
การอ่านค่าความต้านทาน จากที่ได้รู้จักชนิดของตัวต้านทานค่าคงที่ไปหลายชนิดแล้ว ค่าความต้านทานที่ระบุบนตัวต้านทาน นิยมทำกันหลายรูปแบบเช่น
1. การระบุค่าความต้านทานโดยระบุค่าลงไปตรงๆ เช่น 100 โอห์ม 1k โอห์ม เป็นต้น
2. การระบุค่าความต้านทานโดยใช้แถบสี เช่น 4 แถบสี 5 แถบสี
3. การระบุค่าความต้านทานโดยใช้รหัส แบบนี้ไม่นิยมใช้ครับ มักทำกับตัวต้านทานที่ผลิดขึ้นมาเฉพาะงานเท่านั้น
ดังนั้นจึงจะขอกล่าวถึงการระบุค่าความต้านทานที่เราใช้ในงาน DIY บ่อยๆนั่นคือ ข้อที่ 1 และ 2 ครับ d_d
-
นอกจาก ไฟกระแสตรง กระแสสลับ และ สถิตย์แล้ว ยังมีไฟราคะอีกด้วยนะ(นอกเรื่องเดี๋ยวโดนครูตีแน่ๆๆ) ;D
ขอบคุณมากๆๆครับ ผมตามจดอยู่ครับ เยี่ยมจริงๆๆ O0
น้า อ้อน มี R ดรอป ไฟราคะบ้างไหมครับ ผมอยากได้สักตัว ;D ;D ;D ;D ;D
-
1. ค่าความต้านทานชนิดระบุโดยตรง ตัวต้านทานที่แสดงค่าออกมาโดยตรง จะพิมพ์ค่าความต้านทานลงบนตัวต้านทานตามค่าความต้านทานของตัวต้านทานนั้น แสดงหน่วยไว้เป็น โอห์ม , กิโลโอห์ม หรือ เมกกะโอห์ม
บางครั้งมีค่าการทนกำลังไฟฟ้า(3W 5W) และค่าเปอร์เซ็นต์ผิดพลาดกำกับไว้ด้วยก็ได้(± 5% , ±10% ) ตัวต้านทานบางแบบจะมีตัวอักษรกำกับไว้ด้วย เพื่อแสดงค่าเปอร์เซนต์ผิดพลาดแทนตัวเลข ใช้ตัวอักษาภาษาอังกฤษมี 4 ตัว คือ J, K, L และ M มีความหมายดังนี้
อักษร J แทนค่าความผิดพลาด ± 5 %
อักษร K แทนค่าความผิดพลาด ± 10 %
อักษร L แทนค่าความผิดพลาด ± 15 %
อักษร M แทนค่าความผิดพลาด ± 20 %
-
จากรูปด้านบน
ตัวที่ 1 อ่านค่าได้ 10 โอห์ม ค่าความผิดพลาด ± 10 % หมายถึงค่าความต้านทานผิดพลาดเท่ากับ ± 1 โอห์ม ค่าจะอยู่ในช่วง 9 - 11 โอห์ม และสามารถทนกำลังไฟฟ้าได้ 2 วัตต์ครับ
ตัวที่ 2 อ่านค่าได้ 8.2 โอห์ม ค่าความผิดพลาด ± 5 % (J) หมายถึงค่าความต้านทานผิดพลาดเท่ากับ ± 0.41 โอห์ม ค่าจะอยู่ในช่วง 7.79 - 8.61 โอห์ม และสามารถทนกำลังไฟฟ้าได้ 10 วัตต์ครับ
-
แท้งกิ้ว หลายๆๆๆ จด และ จด และ จด รอขึ้นเรื่องซี ต่อ นะคร้าาาาาาบ Y] Y] Y]
-
:drive1 :drive1 :drive1
-
2.ค่าความต้านทานชนิดระบุโดบแถบสี ตัวต้านทานชนิดค่าคงที่โดยปกติแล้วจะแบ่งเป็น แบบใช้งานทั่วไป และแบบความเที่ยงตรงสูง ซึ่งตัวต้านทานแบบที่ใช้งานทั่วไปจะมีค่าความคลาดเคลื่อน 5 % หรือมากกว่า โดยแถบสีแสดงแทนค่าความต้านทานจำนวน 4 แถบ
ส่วนตัวค่าความต้านทานแบบเที่ยงตรงสูงจะมีค่าความคลาดเคลื่อน 2 % หรือน้อยกว่า โดยจะมีแถบสีแสดงค่าความต้านทานจำนวน 5 แถบ แถบสีที่ใช้ทั้งแบบ 4 แถบสีและแบบ 5 แถบสี ส่วนค่าของแถบสีแสดงดังรูปครับ
-
ต้วอย่างการอ่านค่าความต้านทาน 4 แถบสี จากรูปด้านล่าง น้ำตาล แดง น้ำตาล ทอง = 1 2 x10 ± 5 % จะได้ว่า 120 โอห์ม ± 5 % ครับ
-
ตัวอย่างที่ 2 เหลือง ม่วง ส้ม ทอง = 4 7 x1000 ± 5 % จะได้ว่า 47000 หรือ 47 กิโลโอห์ม ± 5 % ครับ
วิธีการคิิดที่ผมทำน่ะครับ เหลือง คือ 4 / ม่วง คือ 7 / ส้มคือ 3 ให้ใส่ศูนย์ 3 ตัว จะได้ 47000 หรือ 47 กิโลโอห์ม ครับ (อยากใส่เป็น K โอห์ม แต่พิมพ์เครื่องหมายโอห์มไม่ได้ครับ :'( )
-
ทำแบบทดสอบกันหน่อยครับ ตัวต้านทานทั้ง 8 ตัวด้านล่าง มีค่าเท่าไหร่กันบ้างครับ c)
-
จอผม สีเพี้ยนฮับ คุณครู ดูสีไม่ออก เห็นแต่สี วับ ๆ แวม ๆ
-
จอผม สีเพี้ยนฮับ คุณครู ดูสีไม่ออก เห็นแต่สี วับ ๆ แวม ๆ
จอคอมฯหรือจอประสาทตากันครับ ;D ;D ;D
ยังไม่มีใครส่งข้อสอบเลย เงียบเหงาๆ
-
1. 56K 5% 2. 15 โอมห์ 5% 3. 820 โอมห์ 5% 4. 75K 5% 5. 33K 5% 6. 390K 5% 7. 1M 5% 8. 6.8M 5% ผิดถูกค่อยว่ากัน อยู่งานภาคสนามครับอาจารย์เลยตอบช้าหน่อย
-
เก็บเอา (Ohm's law) มาฝากครับครู น่าจะมีประโยทสักนิดนะคับ :bye1
-
เก็บเอา (Ohm's law) มาฝากครับครู น่าจะมีประโยทสักนิดนะคับ :bye1
ขอบคุณครับพี่บัง แต่ยังก่อนครับ เดี๋ยวรอจบเรื่อง R C L ก่อนครับผม
-
1. 56K 5% 2. 15 โอมห์ 5% 3. 820 โอมห์ 5% 4. 75K 5% 5. 33K 5% 6. 390K 5% 7. 1M 5% 8. 6.8M 5% ผิดถูกค่อยว่ากัน อยู่งานภาคสนามครับอาจารย์เลยตอบช้าหน่อย
K] K] K] สีทอง กับสีส้ม มันดันคล้ายๆกันครับ K] K] K] งั้นเฉลยครับ
1. 5.6 โอห์ม 5%
2. 15 โอห์ม 5%
3. 820 โอห์ม 5%
4. 7.5K โอห์ม 5%
5. 33K โอห์ม 5%
6. 390K โอห์ม 5%
7. 1M โอห์ม 5%
8. 6.8M โอห์ม 5% ครับ
-
1. 56K 5% 2. 15 โอมห์ 5% 3. 820 โอมห์ 5% 4. 75K 5% 5. 33K 5% 6. 390K 5% 7. 1M 5% 8. 6.8M 5% ผิดถูกค่อยว่ากัน อยู่งานภาคสนามครับอาจารย์เลยตอบช้าหน่อย
K] K] K] สีทอง กับสีส้ม มันดันคล้ายๆกันครับ K] K] K] งั้นเฉลยครับ
1. 5.6 โอห์ม 5%
2. 15 โอห์ม 5%
3. 820 โอห์ม 5%
4. 7.5K โอห์ม 5%
5. 33K โอห์ม 5%
6. 390K โอห์ม 5%
7. 1M โอห์ม 5%
8. 6.8M โอห์ม 5% ครับ
บอกแว้ว จอมันเพี้ยน คุณครูก็ไม่เชื่อ :whistling :whistling :whistling
-
1. 56K 5% 2. 15 โอมห์ 5% 3. 820 โอมห์ 5% 4. 75K 5% 5. 33K 5% 6. 390K 5% 7. 1M 5% 8. 6.8M 5% ผิดถูกค่อยว่ากัน อยู่งานภาคสนามครับอาจารย์เลยตอบช้าหน่อย
K] K] K] สีทอง กับสีส้ม มันดันคล้ายๆกันครับ K] K] K] งั้นเฉลยครับ
1. 5.6 โอห์ม 5%
2. 15 โอห์ม 5%
3. 820 โอห์ม 5%
4. 7.5K โอห์ม 5%
5. 33K โอห์ม 5%
6. 390K โอห์ม 5%
7. 1M โอห์ม 5%
8. 6.8M โอห์ม 5% ครับ
ขัอ 4. 7.5K ผมพลาดเอง
-
มาซะสายเลยครับ :cry2 เป็นวิทยาทานชั้นเยี่ยม "ผู้ให้ย่อมมีความสุขกว่าผู้รับ" O0 O0 O0
-
ตัวอย่างการอ่านค่าความต้านทานแบบ 5 แถบสี จากรูปด้านล่าง แดง(2) เขียว(5) ดำ(0) ดำ(x1) น้ำตาล(±1%) = 2 5 0 x1 ± 1 % จะได้ว่า 250 โอห์ม ± 1 % ครับ
วิธีการคิดส่วนตัวก็คือ แดงคือ 2 เขียวคือ 5 ดำคือ 0 ดำคือจำนวน 0 ที่เติมเข้าไป (0 คือไม่เติมศูนย์) น้ำตาลคือ ± 1 % จะได้ 250 โอห์ม ± 1 % เช่นกันครับ
-
ตัวอย่างที่ 2 จากรูปด้านล่าง เหลือง(4) ม่วง(7) เขียว(5) แดง(x100) น้ำตาล(±1%) = 4 7 5 x100 ± 1 % จะได้ว่า 47500 โอห์ม หรือ 47.5 กิโลโอห์ม ± % ครับ
-
:drive1 :drive1
-
จบเรื่องตัวต้านทาน 5 แถบสี ทดสอบกันนิดนึง ว่าตัวต้านทานทั้ง 8 ตัวมีค่าเท่าไหร่บ้าง (ค่าจะเรียงจากน้อยไปมาก) ลองคิดดูครับ
-
เงียบๆเหงา :black_eye เลยเอาเว็บช่วยอ่านค่าความต้านทานมาฝาก ใช้ได้ทั้งแบบ 4 แถบสีและ 5 แถบสีครับ
http://www.diyalarmforum.com/5-band-resistor-calc/
-
ขอโทษครับอาจารย์ พอดีขึ้นงานภาคสนามติดฝนอยู่บนดอย แบตเตอร์รีโน้ตบุ๊คหมดตอบช้าครับ
1. 15.8โอมห์ 1% น้ำตาล เขียว เทา ทอง
2. 243 โอมห์ 1% แดง เหลือง ส้ม ดำ
3. 1.9 K โอมห์ 1% น้ำตาล ขาว น้ำตาล น้ำตาล
4. 5.6 K โอมห์ 1%
5. 47 Kโอมห์ 1%
6. 95.3 K 1%
7.348K 1%
8. 715 K 1%
d_d d_d
-
ขอโทษครับอาจารย์ พอดีขึ้นงานภาคสนามติดฝนอยู่บนดอย แบตเตอร์รีโน้ตบุ๊คหมดตอบช้าครับ
1. 15.8โอมห์ 1% น้ำตาล เขียว เทา ทอง
2. 243 โอมห์ 1% แดง เหลือง ส้ม ดำ
3. 1.9 K โอมห์ 1% น้ำตาล ขาว น้ำตาล น้ำตาล
4. 5.6 K โอมห์ 1%
5. 47 Kโอมห์ 1%
6. 95.3 K 1%
7.348K 1%
8. 715 K 1%
d_d d_d
:clap :clap
-
เงียบๆเหงา :black_eye เลยเอาเว็บช่วยอ่านค่าความต้านทานมาฝาก ใช้ได้ทั้งแบบ 4 แถบสีและ 5 แถบสีครับ
http://www.diyalarmforum.com/5-band-resistor-calc/
ดาวน์โหลดได้ไหมครับอาจารย์ (ใช้ง่ายแล้วงก็ไวด้วย)
-
เงียบๆเหงา :black_eye เลยเอาเว็บช่วยอ่านค่าความต้านทานมาฝาก ใช้ได้ทั้งแบบ 4 แถบสีและ 5 แถบสีครับ
http://www.diyalarmforum.com/5-band-resistor-calc/
ดาวน์โหลดได้ไหมครับอาจารย์ (ใช้ง่ายแล้วงก็ไวด้วย)
ครูอะไรเนี่ย เล่นให้นักเรียนใช้ทางลัดเลย :nono :nono
-
เงียบๆเหงา :black_eye เลยเอาเว็บช่วยอ่านค่าความต้านทานมาฝาก ใช้ได้ทั้งแบบ 4 แถบสีและ 5 แถบสีครับ
http://www.diyalarmforum.com/5-band-resistor-calc/
ดาวน์โหลดได้ไหมครับอาจารย์ (ใช้ง่ายแล้วงก็ไวด้วย)
ครูอะไรเนี่ย เล่นให้นักเรียนใช้ทางลัดเลย :nono :nono
เอาไว้เป็นตัวช่วย ตรวจทานอีกที กันพลาดครับ เรื่องดาวน์โหลดโปรแกรม ผมก็ไม่รู้น่ะ เวลาจะใช้ก็เปิดเน็ตเอาล่ะกัน ;D
-
c) :drive1 c) :drive1
-
ขอโทษครับอาจารย์ พอดีขึ้นงานภาคสนามติดฝนอยู่บนดอย แบตเตอร์รีโน้ตบุ๊คหมดตอบช้าครับ
1. 15.8โอมห์ 1% น้ำตาล เขียว เทา ทอง
2. 243 โอมห์ 1% แดง เหลือง ส้ม ดำ
3. 1.9 K โอมห์ 1% น้ำตาล ขาว น้ำตาล น้ำตาล
4. 5.6 K โอมห์ 1%
5. 47 Kโอมห์ 1%
6. 95.3 K 1%
7.348K 1%
8. 715 K 1%
d_d d_d
เฉลยคำตอบค่าตัวต้านทาน 1% จากด้านบนครับ
1. 15.8 โอห์ม
2. 243 โอห์ม
3. 1.91K โอห์ม
4. 5.62K โอห์ม
5. 47K โอห์ม
6. 95.3K โอห์ม
7. 348K โอห์ม
8. 715K โอห์ม
:) :) :)
-
c) c) c) c) c) c) c) ต่อเนื่องครับอาจารญ์ d_d
-
ตามมาเรียน ครับ คุณครู ผมซ้ำชั้นอีกแล้ว สอบทีไร ตกทุกที K] K] K]
-
2. ตัวต้านทานแบบปรับค่าได้หรือเปลี่ยนค่าได้ (Variable Resister : VR) เป็นตัวต้านทานที่ค่าความต้านทานสามารถปรับเปลี่ยนได้ โดยจะมีปุ่มสำหรับบิดหมุน เป็นรางเลื่อน หรือเป็นแทปให้เปลี่ยนได้ เราจะเห็นว่ามีการเรียกชื่อตัวตัวต้านทานแบบนี้ว่า "โพเทนติโอมิเตอร์" หรือ "รีโอสแตท" โดยโครงสร้างของตัวต้านทานแบบนี้ มีลักษณะคือ การนำเอาวัสดุที่มีคุณสมบัติความต้านทาน เช่น คาร์บอน หรือลวดความต้านทาน ยึดเข้ากับฉนวน จากนั้นใช้แผ่นโลหะสัมผัสไปบนสารที่เป็นความต้านทาน โดยแผ่นโลหะนี้จะต่อออกมาเป็นขั้วใช้งาน และสามารถปรับเปลี่ยนค่าโดยปรับ หมุน เลื่อน ให้แผ่นโลหะนี้เลื่อนไปยังจุดต่างๆกัน
ส่วนตัวต้านทานแบบเปลี่ยนค่าได้ ที่เราพบเจอบ่อยๆ จะใช้ลวดความต้านทานพันลงบนแกนฉนวน และมีการแทปลวดออกมาเป็นช่วงๆ แต่ละช่วงจึงได้ค่าความต้านทานที่แตกต่างกันครับ
ตัวอย่าง ตัวต้านทานแบบปรับค่าได้ที่เราใช้กันอยู่บ่อย จากรูปด้านล่างเป็นโพเทนติโอมิเตอร์ เรียกอยากจังเลย ผมเรียกง่ายๆว่า VR ครับ
-
สัญสักษณ์ของตัวต้านทานปรับค่าได้และเปลี่ยนค่าได้ กับโครงสร้างเบื้องต้นของโพเทนติโอมิเตอร์ (VR) ครับ
-
จากรูปโครงสร้างด้านบน ส่วนที่เป็นสีแดง หากเป็นโพเทนติโอมิเตอร์จะฉาบด้วยสารความต้านทาน คือ คาร์บอน ครับ แต่หากเป็นชนิดทนกำลังไฟฟ้าได้สูงกว่า ตรงส่วนสีแดงนี้จะเป็นการพันด้วยลวดความต้านทานลงไปครับ ซึ่งตัวต้านทานแบบที่พันลวดนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "รีโอสแตท" หรือตัวต้านทานปรับค่าได้แบบวายวาว ดูตามรูปด้านล่างเพิ่มเติมครับ
-
Y] Y] Y] Y] Y]
-
:drive1 :drive1 :drive1
-
:drive1 :drive1 :drive1
คุณครูกำลังเห่อหลอด uxcv11 2f 2f 2f 2f
-
:drive1 :drive1 :drive1
คุณครูกำลังเห่อหลอด uxcv11 2f 2f 2f 2f
อารมณ์ดีกลับมาสอนแล้วครับ ดังเท่ากันทั้ง 2 ข้าง c) c) c)
-
c)ไชโย...อาจารย์มาแล้ว c) c)
-
:drive1 :drive1 :drive1
คุณครูกำลังเห่อหลอด uxcv11 2f 2f 2f 2f
2f 2f 2f
-
ตัวอย่างตัวต้านทานแบบปรับค่าได้ ลักษณะอื่นๆที่พอเจอและใช้กันบ่อยๆครับ
อย่างตัวด้านล่าง เรียกว่า "ตัวต้านทานปรับค่าได้แบบเกือกม้า" ใช้ลงในแผ่นปริ้นหรือวงจรขนาดเล็กครับ การปรับจะหมุนได้ไม่ถึง 1 รอบ โครงสร้างก็จะเป็นหน้าสัมผัสที่แตะลงบนแถบคาร์บอนครับผม
-
ตามอ่านมาเรี่อย ..........
-
ตัวต้านทานปรับค่าได้แบบรางเลื่อน หรือแบบสไลด์ โครงสร้างจะเป็นแถบคาร์บอนแต่เป็นแนวยาวครับ ตัวอย่างการใช้งานเช่น ในพวกอีควอไลเซอร์ต่างๆ มิกเซอร์ ครับ
-
ตัวอย่างตัวต้านทาน แบบปรับค่า ได้ ลักษณะ อื่นๆ ที่พอ เจอ และ ใช้กันบ่อยๆ ครับ
อย่างตัวด้านล่าง เรียกว่า "ตัวต้านทานปรับค่าได้แบบ เกือกม้า" ใช้ลงในแผ่นปริ้นหรือวงจรขนาด เล็กครับ การปรับจะหมุนได้ไม่ถึง 1 รอบ โครงสร้างก็จะเป็นหน้าสัมผัสที่แตะลงบน แถบคาร์บอนครับผม
R แบบนี้ ถ้าหลีกเลี่ยงการใช้งานได้ ก็ควรหลีกเลี่ยง (โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวกับวงจรขยาย)เพราะมันชอบมีปัญหา หน้าสัมผัสสกปรกง่าย เนื่องจากมันไม่มีอะไรห่อหุ้ม
ว่าแต่วันนี้ไม่มีเรียนเหรอครับ :secret
-
ตามมาเรียนด้วย เยี่ยมจริง ๆ ครับ c)
-
จากตัวต้านทานปรับค่าได้ที่ได้กล่าวมา จะเห็นว่าการปรับเปลี่ยนค่าความต้านทานยังมีความละเอียดน้อย การจะปรับเปลี่ยนค่าเพียงเล็กน้อยทำได้ยาก ดังนั้นในงานที่ต้องการความละเอียดและแม่นยำสูงขึ้น จึงนิยมตัวต้านทานปรับค่าได้อีกชนิดนึงซึ่งเรียกทั่วๆไปว่า "พอท" (POT) ซึ่งแกนหมุนของตัวต้านทานชนิดนี้ จะมีการทดเฟือง เพื่อให้ช่วงการปรับเปลี่ยนค่ามีความละเอียดมากขึ้น จำนวนรอบการหมุนสำหรับเปลี่ยนจากค่าต่ำสุดไปค่าสูงสุด จึงมีรอบเพิ่มขึ้น เช่น 5 /10 /15/25 เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการผลิตครับ ในงาน DIY ที่เห็นใช้กันบ่อยคือ ใช้ปรับบาลานซ์ใส้หลอด (Hum Balance / Hum Pot) ครับ
-
วันนี้ครูมาเร็ว .. นักเรียนมาสาย :whistling :whistling
-
ในวงจรขนาดเล็กก็จะมีตัวต้านทานปรับค่าได้ชนิดที่มีการทดแกนหมุนเช่นเดียวกัน มีชื่อเรียกว่า "ทริมพอท" (Trim POT) โดยจะมี 2 แบบหลักๆคือ แบบแกนหมุนปรับแนวตั้ง และ แบบแกนหมุนปรับแนวนอน จำนวนรอบการหมุนเปลี่ยนจากค่าต่ำสุงไปค่าสูงสุด ที่ใช้ก็จะมีตั้งแต่ 1 / 5 / 10 / 15 / 25 รอบ เป็นต้นแล้วแต่การผลิตครับ ในงาน DIY นิยมใช้ Trim POT ในวงจรเร็กกูเลทแรงดันไฟฟ้าต่างๆครับ
-
ในวงจรขนาด เล็กก็จะ มีตัวต้านทานปรับค่า ได้ชนิดที่มีการทด แกนหมุน เช่น เดียวกัน มีชื่อ เรียกว่า "ทริมพอท" (Trim POT) โดยจะ มี 2 แบบหลักๆ คือ แบบ แกนหมุนปรับ แนวตั้ง และ แบบ แกนหมุนปรับ แนวนอน จำ นวนรอบการหมุน เปลี่ยนจากค่าต่ำ สุง ไปค่าสูงสุด ที่ ใช้ก็จะ มีตั้ง แต่ 1 / 5 / 10 / 15 / 25 รอบ เป็นต้น แล้ว แต่การผลิตครับ ในงาน DIY นิยม ใช้ Trim POT ในวงจร เร็กกู เลท แรงดัน ไฟฟ้าต่างๆ ครับ
แบบนี้เคยใช้เป็น R คาโทตภาคไดร์ฟ ปรับได้ละเอียดมากทีเดียว
-
ในวงจรขนาด เล็กก็จะ มีตัวต้านทานปรับค่า ได้ชนิดที่มีการทด แกนหมุน เช่น เดียวกัน มีชื่อ เรียกว่า "ทริมพอท" (Trim POT) โดยจะ มี 2 แบบหลักๆ คือ แบบ แกนหมุนปรับ แนวตั้ง และ แบบ แกนหมุนปรับ แนวนอน จำ นวนรอบการหมุน เปลี่ยนจากค่าต่ำ สุง ไปค่าสูงสุด ที่ ใช้ก็จะ มีตั้ง แต่ 1 / 5 / 10 / 15 / 25 รอบ เป็นต้น แล้ว แต่การผลิตครับ ในงาน DIY นิยม ใช้ Trim POT ในวงจร เร็กกู เลท แรงดัน ไฟฟ้าต่างๆ ครับ
แบบนี้เคยใช้เป็น R คาโทตภาคไดร์ฟ ปรับได้ละเอียดมากทีเดียว
ขอบคุณน้าเอกมากครับที่ช่วยเสริม O0 O0 O0
-
คุณครูคร้าบ สอนอ่านกราฟ ดาต้าชีสด้วยนะครับ
-
เมื่อวานนักเรียนไปเรียนพิเศษ :wiggle :wiggle กลับมาแล้วครับอาจารญื :drive1 :drive1
-
รูปแบบการเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทาน ชนิดของการเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานของตัวต้านทานแบบปรับค่าได้หรือ " Type" หมายถึง ค่าความต้านทานที่เปลี่ยนแปลงไปเทียบกับปริมาณการหมุน โดยทั่วไปที่เราพบเจอบ่อยๆ ประกอบด้วย 4 รูปแบบด้วยกันคือ แบบ A , B , C และ MN เช่นแบบที่เราใช้เป็นโวลุ่ม 100KA หรือ 100KB บางที่อาจจะเขียนเป็น A 100K หรือ B 100K ส่วนแบบ C ไม่ค่อยได้รับความนิยมในการใช้งาน ความแตกต่างของแต่ละแบบเป็นดังนี้ครับ
Type-A เมื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานจากน้อยไปหามาก อัตราส่วนการหมุนต่อการเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานจะเป็นแบบทวีคูณ (Logarithm) ดูจากกราฟจะเห็นว่า ช่วงแรกของการหมุนค่าความต้านทานจะเปลี่ยนแปลงน้อยและจะเปลี่ยนแปลงมากเมื่อเข้าสู่ช่วงท้ายของการหมุน ดังนั้นเมื่อเรานำใช้ทำโวลุ่ม ช่วงเปิดเสียงแรกๆช่วงแรกต้องเปิดเยอะจึงจะมีเสียงออก แต่ช่วงท้ายปรับเพียงนิดเดียวเสียงจะดังขึ้นมาก นั่นเองครับ
Type-B อัตราส่วนการหมุนต่อการเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานจะเป็นแบบคงที่หรือเป็นเชิงเส้น (Linearity) แบบนี้ได้รับความนิยมมากที่สุดครับ
Type-C อัตราส่วนการหมุนต่อการเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานจะเป็นแบบทวีคูณผกผัน (Anti-Logarithm) ลักษณะจะตรงกันข้ามกับแบบ A ครับ
Type-MN เป็นชนิดที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับการปรับแบบบาลานซ์ นิยมใช้ทำเป็นโวลุ่มบาลานซ์เสียงในระบบสเตอริโอครับ
-
:drive1 d_d :D
-
อาจารย์ครับขออนุญาตเรียนถาม R แบบ Thin Film รูปแบบเป็นอย่างไรครับเวลาเราไปซื้อเราจะบอกผู้ขายว่าอย่างไรครับ ขอบคุณครับ
-
อาจารย์ครับขออนุญาตเรียนถาม R แบบ Thin Film รูปแบบเป็นอย่างไรครับเวลาเราไปซื้อเราจะบอกผู้ขายว่าอย่างไรครับ ขอบคุณครับ
ขออนุญาตอ้างอิงจากบทความครับ
ตัวต้านทานแบบแผ่นฟิล์มบาง ( Thin Film Network) โครงสร้างของตัวต้านทานแบบนี้ทำมาจากแผ่นฟิล์มบาง มีลักษณะรูปร่างเหมือนกับตัวไอซี (Integrate Circuit) ใช้เทคโนโลยี SMT (Surface Mount Technology) ในการผลิตเช่นเดียวกับตัวต้านทานแบบแผ่นฟิล์มหนา โดยส่วนใหญ่จะมีขาทั้งหมด 16 ขา การใช้งานต้องบัดกรีเข้ากับแผ่นลายวงจร อัตราทนกำลัง 50 มิลลิวัตต์ มีค่าความคลาดเคลื่อนบวกลบ 0.1% และอัตราทนกำลัง 100 มิลลิวัตต์ จะมีค่าความคลาดเคลื่อนบวกลบ 5% ที่แรงดันไฟฟ้าสูงสุดไม่เกิน 50 VDC
-
Y] Y] Y] Y]
-
เมื่อมีแบบฟิล์มบาง ก็ต้องมีแบบฟิล์มหนาครับ
ตัวต้านทานแบบแผ่นฟิล์มหนา ( Thick Film Network) โครงสร้างของตัวต้านทานแบบนี้ทำมาจากแผ่นฟิล์มหนา มีรูปแบบแตกต่างกันขึ้นอยู่กับการใช้งาน ในรูปที่ 6 แสดงตัวต้านทานแบบแผ่นฟิล์มหนาประเภทไร้ขา (Chip Resistor) ตัวต้านทานแบบนี้ต้องใช้เทคโนโลยี SMT (Surface Mount Technology) ในการผลิต มีอัตราทนกำลังประมาณ 0.063 วัตต์ ถึง 500 วัตต์ ค่าความคลาดเคลื่อนบวกลบ 1% ถึง บวกลบ 5%
-
:) Y] :) Y] :secret
-
ให้ความรู้เป็นทานเป็นมงคลแห่งชีวิตครับ
-
เราใช้balance 2 ตัว มาทำโวลลุม จะดีไหม ถ้า balance เป็นของดีๆ
-
อ.กำลังคลั่ง UXCV ตะกี้เพิ่งมาเอาหม้อซีคอไป 2f 2f
-
อ.กำลังคลั่ง UXCV ตะกี้เพิ่งมาเอาหม้อซีคอไป 2f 2f
เพิ่งมาถึงห้องก็โดนเผาซ่ะแล้ว ;D ;D ;D คลั่งไม่มากครับ แต่ก็ระดับหนึ่ง เรื่องการเรียนการสอนไม่ต้องห่วงครับ ไม่ทิ้งแน่นอน c)
-
การต่อใช้งานตัวต้านทานในวงจรไฟฟ้า การนำตัวต้านทานไฟต่อใช้งานในวงจรไฟฟ้า แบ่งตามรูปแบบการต่อได้ 3 รูปแบบครับ ได้แก่
1. การต่อแบบอนุกรม
2. การต่อแบบขนาน
3. การต่อแบบผสม (อนุกรม+ขนาน)
การหาค่าความต้านทานรวมของตัวต้านทาน คือ การหาค่าความต้านทานที่เกิดจากการนำตัวต้านทานตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป มาต่อเข้าด้วยกัน เหตุของการนำตัวต้านทานมาต่อกันนั้นมีหลายอย่างเช่น การต่อเพื่อปรับค่าความต้านทานในจุดที่เราต้องการให้เพิ่มขึ้น/ลดลง การต่อเพื่อเพิ่มอัตราการทนกำลังไฟฟ้า การต่อเพื่อแบ่งกระแส/แรงดัน เป็นต้นครับ
-
c) c) c)
-
c) c) c)
คนนี้ สงสัยได้รางวัลนักเรียนดีเด่น
-
วิชาไฟฟ้า-อิเลคทรอนิคเบื้องต้น ที่ทุกคนควรรู้ Y]
-
1.การต่อตัวต้านทานแบบอนุกรม การต่อแบบอนุกรมหรือการต่อพ่วงตัวต้านทานอันดับกันไปเรื่อยๆ ค่าความต้านทานที่เกิดจากการต่ออนุกรม จะมีค่าเท่ากับ ผลรวมของค่าความต้านทานแต่ละตัวที่นำมาต่ออนุกรมกัน
ดังนั้นจะได้ว่า ความต้านทานรวม (RT) = R1 + R2 + R3 +.....+Rn (...+Rn หมายถึง ตัวต้านทานที่ต่ออนุกรมไปเรื่อยๆ เป็นตัวลำดับที่ n ครับ) โดยลักษณะการต่อตัวต้านทานแบบนี้ดูได้จากรูปครับ
ค่าความต้านทานที่เกิดจากการต่อแบบอนุกรม จะมีค่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆครับ อัตราการทนกำลังไฟฟ้า(วัตต์)ของค่าความต้านทานรวมจะคงเดิม ครับ
-
c) c) c)
คนนี้ สงสัยได้รางวัลนักเรียนดีเด่น
คงไม่แก่เกินเรียนครับ :drive1
-
งั้นมาลองหาคำตอบกันหน่อยครับ ตัวต้านทานที่ต่ออนุกรมกันดังรูป มีค่าความต้านทานรวมเท่าไหร่ ?
-
งั้นมาลองหาคำตอบกันหน่อยครับ ตัวต้านทานที่ต่ออนุกรมกันดังรูป มีค่าความต้านทานรวมเท่าไหร่ ?
131.5K ครับ
-
เหมือนได้รื้อฟื้นความรู้เก่าๆ เลยครับ
-
งั้นมาลองหาคำตอบกันหน่อยครับ ตัวต้านทานที่ต่ออนุกรมกันดังรูป มีค่าความต้านทานรวมเท่าไหร่ ?
131.5K ครับ
คิดๆ 131.511 KOHM ครับ ความละเอียดรอบคอบเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับงาน DIY ครับ ;D ;D ;D
-
K] K]ต่อไปจะพยายามให้ละเอียดยิ่งขึ้นครับ :drive1
-
2. การต่อตัวต้านทานแบบขนาน การต่อแบบขนานหรือการต่อตัวต้านทานในลักษณะคร่อมกันไปเรื่อยๆ ค่าความต้านทานที่เกิดจากการต่อในลักษณะนี้ จะมีค่าลดลงเรื่อยๆ โดยจะมีค่าน้อยกว่าค่าตัวต้านทานที่น้อยที่สุดที่นำมาต่อ การต่อแบบนี้แม้ว่าค่าความต้านทานจะลดลง แต่จะมีผลให้อัตราการทนกำลังไฟฟ้า(วัตต์)รวม มีค่าเพิ่มขึ้นครับ เนื่องจากจำนวนช่องทางการไหลของกระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้น จึงทนกำลังไฟฟ้าได้มากขึ้นนั่นเอง ลักษณะการต่อตัวต้านทานแบบขนานแสดงดังรูปครับ
โดย RN หมายถึง ตัวต้านทานลำดับใดๆ ที่นำมาต่อเพิ่มขึ้นในลักษณะขนานครับ
-
:drive1 :drive1 :drive1
-
ขอลงทะเบียนเรียนด้วยแบบติดๆ ถึงมาช้าแต่ก็ทำแบบทดสอบผ่านหมดครับ
รอเรียนขั้นต่อไปครับ
c) c)
จะได้เป็นสักที
-
:drive1 :drive1 :drive1
-
คุณครูหายไปไหนหลายวันแล้วเด็กนั่งรออยู่นะครับ
:'(
-
สมการหรือสูตรที่ใช้ในการคิดหาค่าความต้านทานรวม ของตัวต้านทานที่ต่อขนานกัน โดยจะยกตัวอย่างแบบที่เป็นที่นิยม 3 รูปแบบครับ
1. เมื่อตัวต้านทานที่นำขนานมีค่าเท่ากัน การขนานตัวต้านทานที่มีค่าเท่ากัน ตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป ค่าความต้านทานรวมจะมีค่าเท่ากับ ค่าความต้านทานที่นำมาขนานกัน หารด้วยจำนวนตัวต้านทานที่ต่อขนานกันครับ
-
สมการหรือสูตรที่ใช้ในการคิดหาค่าความต้านทานรวม ของตัวต้านทานที่ต่อขนานกัน โดยจะยกตัวอย่างแบบที่เป็นที่นิยม 3 รูปแบบครับ
1. เมื่อตัวต้านทานที่นำขนานมีค่าเท่ากัน การขนานตัวต้านทานที่มีค่าเท่ากัน ตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป ค่าความต้านทานรวมจะมีค่าเท่ากับ ค่าความต้านทานที่นำมาขนานกัน หารด้วยจำนวนตัวต้านทานที่ต่อขนานกันครับ
อาจารย์ต้องโน๊ตด้วยไหมว่า สูตรนี้ ค่า R ต้องเท่ากันทุกตัว
-
สมการหรือสูตรที่ใช้ในการคิดหาค่าความต้านทานรวม ของตัวต้านทานที่ต่อขนานกัน โดยจะยกตัวอย่างแบบที่เป็นที่นิยม 3 รูปแบบครับ
1. เมื่อตัวต้านทานที่นำขนานมีค่าเท่ากัน การขนานตัวต้านทานที่มีค่าเท่ากัน ตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป ค่าความต้านทานรวมจะมีค่าเท่ากับ ค่าความต้านทานที่นำมาขนานกัน หารด้วยจำนวนตัวต้านทานที่ต่อขนานกันครับ
อาจารย์ต้องโน๊ตด้วยไหมว่า สูตรนี้ ค่า R ต้องเท่ากันทุกตัว
c) c) :drive1 :drive1
-
อย่างที่น้ากิตติแนะนำไว้น่ะครับ คือ วิธีการคิดแบบนี้ ค่าตัวต้านทานที่นำมาต่อขนานกันต้องค่าเท่ากันเท่านั้นครับ มาดูตัวอย่างการคำนวณกันครับ
-
เข้าใจครับอาจารย์ :drive1 :drive1
-
2. เมื่อขนานตัวต้านทาน 2 ตัวที่ค่าแตกต่างกัน สามารถหาค่าความต้านทานรวมที่เกิดขึ้น โดยการนำผลคูณของค่าความต้านทานหารด้วยผลบวกของค่าความต้านทาน ตามสมการนี้ครับ
-
วันนี้นักเรียนมาสาย K]
-
3. เมื่อขนานตัวต้านทานตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นที่ค่าแตกต่างกัน สามารถคำนวณหาค่าความต้านทานรวมได้จากสมการ ดังนี้ครับ
-
c) :drive1 c)
-
2. เมื่อขนานตัวต้านทาน 2 ตัวที่ค่าแตกต่างกัน สามารถหาค่าความต้านทานรวมที่เกิดขึ้น โดยการนำผลคูณของค่าความต้านทานหารด้วยผลบวกของค่าความต้านทาน ตามสมการนี้ครับ
ถ้า R เกิน สองตัว สูตรยังคงใช้หลักการนี้หรือปล่าวครับ
-
ยังคงเดิมครับ สมมติมี R 3 ตัว
1=1k
2=1k
3=2k
ผมเอา R1//R2 = 500ohm
เอาค่าที่ได้มาขนานกับ R 2k อีกที
ดังนั้น R รวม ก็ = 500//2k
=( 500*2000)/(500+2000)=400ohm
-
ถ้าไม่แน่ใจค่าจากการคำนวณ ก็เอามิเตอร์วัดอีกที :bye1
-
2. เมื่อขนานตัวต้านทาน 2 ตัวที่ค่าแตกต่างกัน สามารถหาค่าความต้านทานรวมที่เกิดขึ้น โดยการนำผลคูณของค่าความต้านทานหารด้วยผลบวกของค่าความต้านทาน ตามสมการนี้ครับ
ถ้า R เกิน สองตัว สูตรยังคงใช้หลักการนี้หรือปล่าวครับ
ใช้ได้ครับ อย่างที่น้าเอกได้อธิบายไว้ครับ ค่อยๆจับขนานเข้าไปเป็นคู่ๆ แต่ผมแนะนำให้ใช้สมการในข้อ 3 มากกว่าครับ Y]
-
ก่อนจะจบในเรื่องเกี่ยวกับตัวต้านทานที่ได้เล่าสู่กันฟังมาเนิ่นนาน ;D หากมีข้อสงสัยประการใด สอบถามได้เสมอครับ งั้นมาทำแบบทดสอบกันหน่อยว่ามีความเข้าใจมากน้อยเพียงไร
1. ให้คำนวณหาค่าความต้านทานรวมในวงจรต่อไปนี้ครับ
-
2. หาความต้านทานรวมในวงจร (ที่ปลายสายครับ)
-
ก่อนจะจบในเรื่องเกี่ยวกับตัวต้านทานที่ได้เล่าสู่กันฟังมาเนิ่นนาน ;D หากมีข้อสงสัยประการใด สอบถามได้เสมอครับ งั้นมาทำแบบทดสอบกันหน่อยว่ามีความเข้าใจมากน้อยเพียงไร
1. ให้คำนวณหาค่าความต้านทานรวมในวงจรต่อไปนี้ครับ
ค่าความต้านทานรวม = 454.9058 ohm ใช่หรือเปล่าครับ :D :D :D
-
ข้อที่ 1.ตอบ 599.66โอมห์
ข้อที่ 2. ตอบ 921.73 โอมห์ ถ้าผิดพลาดประการใดอาจารย์ช่วยอธิบายด้วยครับ ขอบคุณครับ
-
ข้อที่ 1.ตอบ 599.66โอมห์
ข้อที่ 2. ตอบ 921.73 โอมห์ ถ้าผิดพลาดประการใดอาจารย์ช่วยอธิบายด้วยครับ ขอบคุณครับ
ข้อ2 ผมได้แค่ 494.439 ohm เอง สงสัยผมคิดผิดแน่เลย K] K] K] เรียนพื้นฐานมาเมื่อ 20 ปีที่แล้วสงสัยคืนวิชาอาจารย์ไปหมดแล้ว :whistling :whistling :whistling
-
ข้อที่ 1.ตอบ 599.66โอมห์
ข้อที่ 2. ตอบ 921.73 โอมห์ ถ้าผิดพลาดประการใดอาจารย์ช่วยอธิบายด้วยครับ ขอบคุณครับ
ข้อ2 ผมได้แค่ 494.439 ohm เอง สงสัยผมคิดผิดแน่เลย K] K] K] เรียนพื้นฐานมาเมื่อ 20 ปีที่แล้วสงสัยคืนวิชาอาจารย์ไปหมดแล้ว :whistling :whistling :whistling
ตอบเหมือนกัน 454.44 โอมห์ ;D
-
ข้อที่ 1 ผิดครับ ลองคิดดูใหม่อีกรอบน่ะครับ
ข้อที่ 2 ของพี่ Duang53 ผิดครับ ค่าความต้านทานที่ขนานกัน ความต้านทานรวมที่ได้จะต้องน้อยกว่าตัวที่น้อยที่สุดเสมอครับ
ลองแสดงวิธีคิดมาครับ เพื่อจะได้เข้าใจเหมือนๆกันครับ Y]
-
ข้อที่ 1.ตอบ 599.66โอมห์
ข้อที่ 2. ตอบ 921.73 โอมห์ ถ้าผิดพลาดประการใดอาจารย์ช่วยอธิบายด้วยครับ ขอบคุณครับ
ข้อ2 ผมได้แค่ 494.439 ohm เอง สงสัยผมคิดผิดแน่เลย K] K] K] เรียนพื้นฐานมาเมื่อ 20 ปีที่แล้วสงสัยคืนวิชาอาจารย์ไปหมดแล้ว :whistling :whistling :whistling
ตอบเหมือนกัน 454.44 โอมห์ ;D
มีคนตอบข้อ 2 ได้ถูกแล้ว รบกวนอธิบายให้เพื่อนๆเข้าใจด้วยครับ ช่วยทำมาหากินหน่อย ;D
-
ขอตอบข้อหนึ่งครับอาจารย์ ได้ 509.66 โอมห์ :D ;D
-
ขอตอบข้อหนึ่งครับอาจารย์ ได้ 509.66 โอมห์ :D ;D
เรียนถึง วิศวไฟฟ้า ตอบแค่นี้ไม่ได้ก็แปลกแล้วครับ รบกวนช่วยแนะนำวิธีคิดให้เพื่อนๆด้วย ขอบคุณครับ
-
ขอตอบข้อหนึ่งครับอาจารย์ ได้ 509.66 โอมห์ :D ;D
เรียนถึง วิศวไฟฟ้า ตอบแค่นี้ไม่ได้ก็แปลกแล้วครับ รบกวนช่วยแนะนำวิธีคิดให้เพื่อนๆด้วย ขอบคุณครับ
แหมแรง ;D
ข้อหนึ่งก็จับอาร์ที่ขนานกัน3ตัว 560,1k,1.5k จับคู่กันคู่ไหนก็ได้เช่นผมเอา1kdกับ1.5k มาเข้าสูตรขนานกันจะได้ 600 โอมห์ จากนั้นก้เอา 600 โอมห์จับคู่กับ 560 โอมห์ มันขนานกันก็จับเข้าสูตรขนานอีก ก็จะได้ 289.655 โอมห์ จากนั้นก็จะเหลืออาร์เพียง2ตัวคือ 289.655 โอมห์ กับอาร์ 220 โอมห์ ดูจากวงจรมันอนุกรมกันก็บวกกันโลด ;D ได้ 509.655 โอมห์
ข้อสองก้เหมือนกันแต่จับอนุกรมกันก่อนเท่านั้นแล้วจึงนำมาขนานกัน
-
ขอตอบข้อหนึ่งครับอาจารย์ ได้ 509.66 โอมห์ :D ;D
เรียนถึง วิศวไฟฟ้า ตอบแค่นี้ไม่ได้ก็แปลกแล้วครับ รบกวนช่วยแนะนำวิธีคิดให้เพื่อนๆด้วย ขอบคุณครับ
แหมแรง ;D
ข้อหนึ่งก็จับอาร์ที่ขนานกัน3ตัว 560,1k,1.5k จับคู่กันคู่ไหนก็ได้เช่นผมเอา1kdกับ1.5k มาเข้าสูตรขนานกันจะได้ 600 โอมห์ จากนั้นก้เอา 600 โอมห์จับคู่กับ 560 โอมห์ มันขนานกันก็จับเข้าสูตรขนานอีก ก็จะได้ 289.655 โอมห์ จากนั้นก็จะเหลืออาร์เพียง2ตัวคือ 289.655 โอมห์ กับอาร์ 220 โอมห์ ดูจากวงจรมันอนุกรมกันก็บวกกันโลด ;D ได้ 509.655 โอมห์
ข้อสองก้เหมือนกันแต่จับอนุกรมกันก่อนเท่านั้นแล้วจึงนำมาขนานกัน
ข้อที่หนึ่งคำนวนเหมือนกันกับอาจารย์อนุสรณ์ ผมอาจจะกดเลขผิด
ข้อที่สองผมจับRที่ขนานกัน(620กับ820ผมเข้าใจผิดหรือเปล่าไม่รู้)มาใส่สูตรต่อแบบขนาน แล้วก็บวกกับR220กับR330 เลยผิด อาจารย์ช่วยอธิบายหน่อยครับ ขอบคุณครับ
-
ขอตอบข้อหนึ่งครับอาจารย์ ได้ 509.66 โอมห์ :D ;D
เรียนถึง วิศวไฟฟ้า ตอบแค่นี้ไม่ได้ก็แปลกแล้วครับ รบกวนช่วยแนะนำวิธีคิดให้เพื่อนๆด้วย ขอบคุณครับ
แหมแรง ;D
ข้อหนึ่งก็จับอาร์ที่ขนานกัน3ตัว 560,1k,1.5k จับคู่กันคู่ไหนก็ได้เช่นผมเอา1kdกับ1.5k มาเข้าสูตรขนานกันจะได้ 600 โอมห์ จากนั้นก้เอา 600 โอมห์จับคู่กับ 560 โอมห์ มันขนานกันก็จับเข้าสูตรขนานอีก ก็จะได้ 289.655 โอมห์ จากนั้นก็จะเหลืออาร์เพียง2ตัวคือ 289.655 โอมห์ กับอาร์ 220 โอมห์ ดูจากวงจรมันอนุกรมกันก็บวกกันโลด ;D ได้ 509.655 โอมห์
ข้อสองก้เหมือนกันแต่จับอนุกรมกันก่อนเท่านั้นแล้วจึงนำมาขนานกัน
ข้อที่หนึ่งคำนวนเหมือนกันกับอาจารย์อนุสรณ์ ผมอาจจะกดเลขผิด
ข้อที่สองผมจับRที่ขนานกัน(620กับ820ผมเข้าใจผิดหรือเปล่าไม่รู้)มาใส่สูตรต่อแบบขนาน แล้วก็บวกกับR220กับR330 เลยผิด อาจารย์ช่วยอธิบายหน่อยครับ ขอบคุณครับ
รูปที่2 มันขนานกันไม่ได้ครับ ถ้ายังไม่ได้จับอาร์ทั้ง3ตัว 220,820,330 มาอนุกรมกันก่อนบวกโลดให้เหลือแค่อาร์ตัวเดียว ที่นี้ก็จะเหลืออาร์ค่า 1370 โอมห์กับอาร์ 680 โอมห์ มันถึงจะขนานกัน แล้วก็เข้าสูตรขนานโลด ;D
-
วันนี้เด็กเข้าเรียนเยอะ :clap
-
ขอตอบข้อหนึ่งครับอาจารย์ ได้ 509.66 โอมห์ :D ;D
เรียนถึง วิศวไฟฟ้า ตอบแค่นี้ไม่ได้ก็แปลกแล้วครับ รบกวนช่วยแนะนำวิธีคิดให้เพื่อนๆด้วย ขอบคุณครับ
แหมแรง ;D
ข้อหนึ่งก็จับอาร์ที่ขนานกัน3ตัว 560,1k,1.5k จับคู่กันคู่ไหนก็ได้เช่นผมเอา1kdกับ1.5k มาเข้าสูตรขนานกันจะได้ 600 โอมห์ จากนั้นก้เอา 600 โอมห์จับคู่กับ 560 โอมห์ มันขนานกันก็จับเข้าสูตรขนานอีก ก็จะได้ 289.655 โอมห์ จากนั้นก็จะเหลืออาร์เพียง2ตัวคือ 289.655 โอมห์ กับอาร์ 220 โอมห์ ดูจากวงจรมันอนุกรมกันก็บวกกันโลด ;D ได้ 509.655 โอมห์
ข้อสองก้เหมือนกันแต่จับอนุกรมกันก่อนเท่านั้นแล้วจึงนำมาขนานกัน
ข้อที่หนึ่งคำนวนเหมือนกันกับอาจารย์อนุสรณ์ ผมอาจจะกดเลขผิด
ข้อที่สองผมจับRที่ขนานกัน(620กับ820ผมเข้าใจผิดหรือเปล่าไม่รู้)มาใส่สูตรต่อแบบขนาน แล้วก็บวกกับR220กับR330 เลยผิด อาจารย์ช่วยอธิบายหน่อยครับ ขอบคุณครับ
รูปที่2 มันขนานกันไม่ได้ครับ ถ้ายังไม่ได้จับอาร์ทั้ง3ตัว 220,820,330 มาอนุกรมกันก่อนบวกโลดให้เหลือแค่อาร์ตัวเดียว ที่นี้ก็จะเหลืออาร์ค่า 1370 โอมห์กับอาร์ 680 โอมห์ มันถึงจะขนานกัน แล้วก็เข้าสูตรขนานโลด ;D
ขอบคุณครับอาจารย์ อาจารย์ Adio Boy ตั้งโจทย์คำถามเรื่องต่อRอีกสักครั้งครับ
-
ข้อที่ 2 ดูจากรูปน่ะครับ
680 ขนานกับ 820 ไม่ได้ครับ เพราะ มี 220 กับ 330 คั่นอยู่ เช่นเดียวกับ 330 กับ 220 ก็ไม่ได้ขนานกันครับ เพราะมี 820 กับ 680 คั่นกลางอยู่
ดังนั้นวิธีที่ถูกต้องก็คือ จะเห็นว่า 220 820 และ 330 ต่ออนุกรมกันอยู่ ให้ยุบรวม 3 ตัวนี้ให้เหลือเพียงค่าเดียวก่อนครับ
ก็จะได้ 220 + 820 + 330 = 1370 โอห์มครับ จากนั้นจะเห็นว่า ค่า 1370 โอห์มที่เกิดขึ้นใหม่ ต่อขนานกับ 680 เดิมที่มีอยู่ ใช้สมการ R 2 ตัวขนานกันก็จะได้
( 1370 x 680 ) / ( 1370 + 680 ) = 454.439 โอห์มครับ
-
ขอตอบข้อหนึ่งครับอาจารย์ ได้ 509.66 โอมห์ :D ;D
เรียนถึง วิศวไฟฟ้า ตอบแค่นี้ไม่ได้ก็แปลกแล้วครับ รบกวนช่วยแนะนำวิธีคิดให้เพื่อนๆด้วย ขอบคุณครับ
แหมแรง ;D
ข้อหนึ่งก็จับอาร์ที่ขนานกัน3ตัว 560,1k,1.5k จับคู่กันคู่ไหนก็ได้เช่นผมเอา1kdกับ1.5k มาเข้าสูตรขนานกันจะได้ 600 โอมห์ จากนั้นก้เอา 600 โอมห์จับคู่กับ 560 โอมห์ มันขนานกันก็จับเข้าสูตรขนานอีก ก็จะได้ 289.655 โอมห์ จากนั้นก็จะเหลืออาร์เพียง2ตัวคือ 289.655 โอมห์ กับอาร์ 220 โอมห์ ดูจากวงจรมันอนุกรมกันก็บวกกันโลด ;D ได้ 509.655 โอมห์
ข้อสองก้เหมือนกันแต่จับอนุกรมกันก่อนเท่านั้นแล้วจึงนำมาขนานกัน
ข้อที่หนึ่งคำนวนเหมือนกันกับอาจารย์อนุสรณ์ ผมอาจจะกดเลขผิด
ข้อที่สองผมจับRที่ขนานกัน(620กับ820ผมเข้าใจผิดหรือเปล่าไม่รู้)มาใส่สูตรต่อแบบขนาน แล้วก็บวกกับR220กับR330 เลยผิด อาจารย์ช่วยอธิบายหน่อยครับ ขอบคุณครับ
รูปที่2 มันขนานกันไม่ได้ครับ ถ้ายังไม่ได้จับอาร์ทั้ง3ตัว 220,820,330 มาอนุกรมกันก่อนบวกโลดให้เหลือแค่อาร์ตัวเดียว ที่นี้ก็จะเหลืออาร์ค่า 1370 โอมห์กับอาร์ 680 โอมห์ มันถึงจะขนานกัน แล้วก็เข้าสูตรขนานโลด ;D
ขอบคุณครับอาจารย์ อาจารย์ Adio Boy ตั้งโจทย์คำถามเรื่องต่อRอีกสักครั้งครับ
ผมตั้งโจทย์ไว้ทั้งหมด 4 ข้อ อีก 2 ข้อที่เหลือบอกคำเดียวว่า"ยาก"ครับ
-
ข้อที่ 2 ดูจากรูปน่ะครับ
680 ขนานกับ 820 ไม่ได้ครับ เพราะ มี 220 กับ 330 คั่นอยู่ เช่นเดียวกับ 330 กับ 220 ก็ไม่ได้ขนานกันครับ เพราะมี 820 กับ 680 คั่นกลางอยู่
ดังนั้นวิธีที่ถูกต้องก็คือ จะเห็นว่า 220 820 และ 330 ต่ออนุกรมกันอยู่ ให้ยุบรวม 3 ตัวนี้ให้เหลือเพียงค่าเดียวก่อนครับ
ก็จะได้ 220 + 820 + 330 = 1370 โอห์มครับ จากนั้นจะเห็นว่า ค่า 1370 โอห์มที่เกิดขึ้นใหม่ ต่อขนานกับ 680 เดิมที่มีอยู่ ใช้สมการ R 2 ตัวขนานกันก็จะได้
( 1370 x 680 ) / ( 1370 + 680 ) = 454.439 โอห์มครับ
เข้าใจครับแต่ต้องอ่านทำความเข้าใจหลายตลบเหมือนกัน(มาเรียนตอนแก่)
-
งั้น ถ้าผ่าน 2 ข้อนี้ไปได้ เยี่ยมครับพี่ Duang เริ่มกันเลยครับ
ข้อที่ 3 หาค่าความต้านทานรวมที่ปลายสายครับ
-
อาจารย์Adio Boy สอนเข้าใจดีครับ(ไม่ใช่ว่าอาจารย์คนอื่นสอนไม่ดีนะครับ ผมตามไม่ทันเอง)
-
งั้น ถ้าผ่าน 2 ข้อนี้ไปได้ เยี่ยมครับพี่ Duang เริ่มกันเลยครับ
ข้อที่ 3 หาค่าความต้านทานรวมที่ปลายสายครับ
ข้อนี้เวลเท่าเดิม แต่นิ้วหงิกหน่อย 2f
-
งั้น ถ้าผ่าน 2 ข้อนี้ไปได้ เยี่ยมครับพี่ Duang เริ่มกันเลยครับ
ข้อที่ 3 หาค่าความต้านทานรวมที่ปลายสายครับ
ข้อนี้เวลเท่าเดิม แต่นิ้วหงิกหน่อย 2f
ลืมดูค่าอาร์เท่ากันหมดเลยอิอิ นิ้วไม่หงิกและ :black_eye
-
งั้น ถ้าผ่าน 2 ข้อนี้ไปได้ เยี่ยมครับพี่ Duang เริ่มกันเลยครับ
ข้อที่ 3 หาค่าความต้านทานรวมที่ปลายสายครับ
ข้อนี้เวลเท่าเดิม แต่นิ้วหงิกหน่อย 2f
ลืมดูค่าอาร์เท่ากันหมดเลยอิอิ นิ้วไม่หงิกและ :black_eye
ใจเย็นๆ พ่อวิศวะ รอเพื่อนๆคิดมาก่อนเด้อ ;D ;D ;D
-
ตอบครับ 756.098โอมห์ครับ
-
ตอบครับ 756.098โอมห์ครับ
ตอบ 756.0976 โอห์ม เยี่ยมครับพี่ duang c) c) c) เล่นเอาวิศวะอายไปเลย ;D ;D ;D
-
วันนี้ห้องเรียนคึกคัก ครูอารมณ์ดี :whistling :whistling 2f 2f
-
ตอบครับ 756.098โอมห์ครับ
ตอบ 756.0976 โอห์ม เยี่ยมครับพี่ duang c) c) c) เล่นเอาวิศวะอายไปเลย ;D ;D ;D
ยินดีด้วยครับพี่ duang O0
บอกแล้วอย่าเข้ามาห้องนี้นะเรา เจ้าที่เค้าแรงจริงๆ :smashed ;D
-
ตอบครับ 756.098โอมห์ครับ
ตอบ 756.0976 โอห์ม เยี่ยมครับพี่ duang c) c) c) เล่นเอาวิศวะอายไปเลย ;D ;D ;D
ยินดีด้วยครับพี่ duang O0
บอกแล้วอย่าเข้ามาห้องนี้นะเรา เจ้าที่เค้าแรงจริงๆ :smashed ;D
ขอบคุณครับ :) :)ได้อาจารย์หลายๆท่านช่วยสอนต้องตั้งใจหละครับ
-
ข้อที่ 4 สุดท้ายแล้วครับ ผมเตรียมไว้เท่านี้ครับ ข้อนี้จัดแข่งขันระหว่างวิศวะกับหนุ่มชาวดอย ;D ;D ;D
หาความต้านทานที่ปลายสายครับ
-
ตอบครับ 1297.506โอมห์ หรือ 1.298K ครับ (ผมใช้โทรศัพท์มือถือคำนวนเลยช้าหน่อยครับ )
-
แก้ใขนิดครับ
ถ้าดูจากรูปแล้ว ค่า R รวมที่ผมคิดได้ คือ 925.33ohm
-
จากรูปในวงจร ค่า R รวมต้องต่ำกว่า 100ohm
ทำไมคิดได้ 1170 ohm ล่ะ สงสัยคิดผิดอีกแล้ว K] K] K]
-
มาให้กำลังใจกับนักเรียนทุกคนครับ :clap :clap
-
ตอบอีกครั้งครับ ตอนกลางคืนเบลอหน่อย 1.247K ผมคิดว่าผิดแน่อาจารย์ช่วยอธิบายหน่อยครับ
-
หลักในการคิด คือ ให้ยุบวงจรที่มี R มากๆ ให้เหลือเป็น R ตัวเดียว แล้ววาดวงจรใหม่ จะคิดได้ง่ายขึ้น
-
ตอบอีกครั้งครับ ตอนกลางคืนเบลอหน่อย 1.247K ผมคิดว่าผิดแน่อาจารย์ช่วยอธิบายหน่อยครับ
ลองคิดใหม่แล้วก็ได้ 1247.472 ohm นี่นา K] K] คิดผิดตรงใหนนี่ :cry2 :cry2 :cry2
ผมลองแบ่งเป็นช่วงๆดังนี้นะครับ
15+(860//860)+(1489.55//92.31)+(6875//780)+15 = 1247.472 ohm ( ถ้ากดเครื่องคิดเลขไม่ผิดนะครับ :D :D :D )
-
คงคิดในแนวเดียวกันกับผมครับ
ตอบอีกครั้งครับ ตอนกลางคืนเบลอหน่อย 1.247K ผมคิดว่าผิดแน่อาจารย์ช่วยอธิบายหน่อยครับ
ลองคิดใหม่แล้วก็ได้ 1247.472 ohm นี่นา K] K] คิดผิดตรงใหนนี่ :cry2 :cry2 :cry2
ผมลองแบ่งเป็นช่วงๆดังนี้นะครับ
15+(860//860)+(1489.55//92.31)+(6875//780)+15 = 1247.472 ohm ( ถ้ากดเครื่องคิดเลขไม่ผิดนะครับ :D :D :D )
ผมก็คิดแบบนี้ครับ :help
-
คงคิด ใน แนว เดียวกันกับผมครับตอบอีกครั้งครับ ตอนกลางคืน เบลอหน่อย 1.247K ผมคิดว่าผิด แน่อาจารย์ ช่วยอธิบายหน่อยครับ
ลองคิด ใหม่ แล้วก็ ได้ 1247.472 ohm นี่นา K] K] คิดผิดตรงใหนนี่ :cry2 :cry2 :cry2
ผมลองแบ่งเป็นช่วงๆ ดังนี้นะ ครับ
15+(860//860)+(1489.55//92.31)+(6875//780)+15 = 1247.472 ohm ( ถ้ากดเครื่องคิดเลขไม่ผิดนะ ครับ :D :D :D )
ผมก็คิดแบบนี้ครับ :help
ผมคิดผิดครับ 1248.77 ohm หรือ 1.249k ประมาณนี้ครับ :P
-
:drive1 :drive1 :drive1
-
่เราผิดทั้งสองเที่ยวเลย
สนุกดีเหมือนกัน ได้ทบทวนความรู้ ผิดถูก ช่วยกันออกความคิด O0
-
่เราผิดทั้งสองเที่ยวเลย
สนุกดีเหมือนกัน ได้ทบทวนความรู้ ผิดถูก ช่วยกันออกความคิด O0
ผมนะครับเป็นนักเรียนใหม่ อาศัยจำมาจากตอนเรียนพื้นฐาน ปวช.(ช่างยนต์) มา(สามสิบกว่าปีนิดๆมาแล้ว)มาฟื้นใหม่หมด ก็ดีครับได้ฝึกสมอง เพลิดเพลินได้ความรู้ ได้เพื่อนฝูงและความมีน้ำใจครับ
-
่เราผิดทั้งสองเที่ยวเลย
สนุกดีเหมือนกัน ได้ทบทวนความรู้ ผิดถูก ช่วยกันออกความคิด O0
ผมนะครับเป็นนักเรียนใหม่ อาศัยจำมาจากตอนเรียนพื้นฐาน ปวช.(ช่างยนต์) มา(สามสิบกว่าปีนิดๆมาแล้ว)มาฟื้นใหม่หมด ก็ดีครับได้ฝึกสมอง เพลิดเพลินได้ความรู้ ได้เพื่อนฝูงและความมีน้ำใจครับ
ของผมเพิ่งผ่านไป 20 ปีเอง ยังจำไม่ค่อยได้เลยครับ ;D ;D ;D
-
ผมขอเฉลยวิธีคิดในข้อที่ 4 เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาน่ะครับ จากรูปวงจรที่ 4 ให้เรายุบรวมตัวต้านทานในจุดที่ขนานกันและอนุกรมกันก่อนครับ ให้เหลือเป็นตัวเดียวก่อนครับ โดยใช้งิธีการคำนวณตามที่ได้กล่าวมาแล้วครับ
(http://image.ohozaa.com/ib/resistertest08.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=c6f217d24c21ea59d4332599fbf02ae8)
ยุบรวมตัวต้านทานที่ขนานกันอีกครั้ง คือ ค่า 860R ที่ขนานกัน 2 ตัว จะยุบได้เป็น 860 / 2 = 430R และ 6875R // 780R จะได้ (6875 x 780) / (6875 + 780) = 700.5225 R ครับ
(http://image.ohozaa.com/iv/resistertest09.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=1b0252e91293f809ab46467a0b3764cb)
จัดวงจรใหม่นิดหน่อย ให้ดูง่ายขึ้นครับ จะเห็นว่ามีตัวต้านทานที่ขนานกัน เพิ่มขึ้นมาอีกชุด
(http://image.ohozaa.com/im/resistertest10.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=539e2523ef0882db78819668819fd79a)
ให้ยุบรวมตัวต้านทานที่ขนานกัน ก็จะเหลือวงจรที่อนุกรมกันทั้งหมด ค่าความต้านทานรวมจึงหาได้จากการนำค่ามารวมกันครับ ได้ดังนี้
ความต้านทานรวม = 15 + 430 + 86.9518 + 700.5225 + 15 = 1247.5 R ครับ
(http://image.ohozaa.com/i4/resistertest11.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=2b7e0f852974d0a3ab2317b1cb7e3294)
-
ไม่ใช่ก็ใกล้เคียง ได้คำตอบมากกว่าเพื่อน ;D
-
ไม่ใช่ก็ใกล้เคียง ได้คำตอบมากกว่าเพื่อน ;D
;D ;D ;D นิดหน่อย หยวนๆครับน้า
เรื่องต่อก่อนที่จะจบเกี่ยวกับตัวต้านทานและความต้านทาน ผมจะแนะนำการใช้เครื่องมือวัดในการวัดค่าความต้านทานครับ ซึ่งในที่นี้ก็คือ " โอห์มมิเตอร์" ครับ โดยปกติที่เราๆใช้กันอยู่ก็จะเป็นมัลติมิเตอร์ ซึ่งเป็นการรวบเอามิเตอร์หลากหลายรูปแบบไว้ในตัวเดียวกัน และโอห์มมิเตอร์ก็เป็นหนึ่งในนั้นครับ ถึงเวลาต้องถ่ายรูปประกอบ แต่กล้องดันไม่ชัดเพราะมีแค่กล้องมือถือ :cry2 แต่จะพยายามถ่ายให้ดีที่สุดละกันครับ Y]
-
c) c) c) c) c)
-
ช่วยกันทำมาหากินครับ อันนี้แบบอนาล็อคหรือแบบเข็มครับ มีหลายราคาหลายยี้ห้อแล้วแต่ความพอใจครับ
-
อีกรูปครับ ส่วนอะไรเป็นอะไรเดี๋ยวให้คุณครูเดียร์มาอธิบายเพิ่มเติมนะครับ
-
เดี๋ยวลุงเดียแกมองไม่เห็น
(http://image.ohozaa.com/ip/mmter2.gif) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=0f2a917f7f8bfe709feee6f7d4b7c37b)
-
ขอบคุณอาจารย์เอกสิทธิ์และอาจารย์แมคครับ
ว่าแต่อาจารย์แมคไม่สงสารลุงเดียมั่งเหรอแกเน็ตช้าบ้างเหรอ ลงรูปซ่ะบึ้มเลย :'( :'( :'(
-
ขอบคุณอาจารย์เอกสิทธิ์และอาจารย์แมคครับ
ว่าแต่อาจารย์แมคไม่สงสารลุงเดียมั่งเหรอแกเน็ตช้าบ้างเหรอ ลงรูปซ่ะบึ้มเลย :'( :'( :'(
เห็นร้องอยากได้ใหญ่ ๆ ;D ;D ;D
-
มัลติมิเตอร์และการวัดค่าความต้านทาน มัลติมิเตอร์เป็นเครื่องมือวัดทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นการรวมเอามิเตอร์แบบต่างๆไว้ในตัวเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น โอห์มมิเตอร์ สำหรับวัดค่าความต้านทาน โวลท์มิเตอร์ทั้งกระแสตรงและสลับ แอมป์มิเตอร์ หรืออาจจะมีคุณสมบัติพิเศษเพิ่มเติ่มขึ้นมาซึ่งแล้วแต่รุ่นน่ะครับ ชนิดของมัลติมิเตอร์ที่เราๆใช้อยู่ทั่วไปแบ่งๆได้ 2 ชนิดครับ
1. มัลติมิเตอร์ชนิดอะนาล๊อก หรือแบบเข็ม แบบที่อาจารย์เอกสิทธิ์และอาจารย์แมคลงรูปไว้น่ะครับ
2. มัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล
ซึ่งโครงสร้างและการทำงาน ผมจะไม่ขอกล่าวถึงน่ะครับ จะเน้นไปทางการใช้งานอย่างเดียว
-
มัลติมิเตอร์และการวัดค่าความต้านทาน มัลติมิเตอร์เป็นเครื่องมือวัดทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นการรวมเอามิเตอร์แบบต่างๆไว้ในตัวเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น โอห์มมิเตอร์ สำหรับวัดค่าความต้านทาน โวลท์มิเตอร์ทั้งกระแสตรงและสลับ แอมป์มิเตอร์ หรืออาจจะมีคุณสมบัติพิเศษเพิ่มเติ่มขึ้นมาซึ่งแล้วแต่รุ่นน่ะครับ ชนิดของมัลติมิเตอร์ที่เราๆใช้อยู่ทั่วไปแบ่งๆได้ 2 ชนิดครับ
1. มัลติมิเตอร์ชนิดอะนาล๊อก หรือแบบเข็ม แบบที่อาจารย์เอกสิทธิ์และอาจารย์แมคลงรูปไว้น่ะครับ
2. มัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล
ซึ่งโครงสร้างและการทำงาน ผมจะไม่ขอกล่าวถึงน่ะครับ จะเน้นไปทางการใช้งานอย่างเดียว
ขวามือ เป็นยี่ห้อที่อยากได้มาก ;D
-
เดี๋ยวลุงเดียแกมองไม่เห็น
เต็มๆเลยอาจารน์ ของปลอม อิอิ ;D
-
ขอบคุณอาจารย์เอกสิทธิ์และอาจารย์แมคครับ
ว่าแต่อาจารย์แมคไม่สงสารลุงเดียมั่งเหรอแกเน็ตช้าบ้างเหรอ ลงรูปซ่ะบึ้มเลย :'( :'( :'(
เห็นร้องอยากได้ใหญ่ ๆ ;D ;D ;D
เธอจะรู้บ้างไหม ว่ากว่าจะมาครบทั้งรูปรวม 2 นาที :cry2 :cry2 :cry2
-
เดี๋ยวลุงเดียแกมองไม่เห็น
จ๊ากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆใหญ่จัง ;D ;D
-
วันนี้ ขอเริ่ม อ่านกระทู้นี้ก่อนเลย ฮาา
มันอยากจะเชื่อตัวเอง ว่าเรียน ปวช. ปวส อิเล็ครอนิกส์ มาแต่ คืนอาจารย์ไป สิบกว่าปีแร่ะ K]
ดีเหมือนกันครับ ถือเป็นการ reset เริ่มอ่านใหม่เลย ..
-
1. การวัดค่าความต้านทานโดยใช้มัลติมิเตอร์แบบเข็ม สเกลที่ใช้ในการอ่านค่าความต้านทานของมัลติมิเตอร์แบบเข็ม จะอยู่ด้านบนสุดของหน้าปัทม์น่ะครับ(ดูรูปอาจารย์แมคประกอบ) จะเห็นว่าการแบ่งช่องสเกลนั้นมีสัดส่วนที่ไม่เท่ากันตลอดทั้งช่วง รูปแบบสเกลนี้เรียกว่า Non- Linearity โดยค่าต่ำสุดของสเกลความต้านทานจะอยู่ทางด้านขวามือครับ เทคนิคการใช้งานเพื่อให้ได้ค่าที่ถูกต้องที่ผมจะแนะนำมีดังนี้ครับ
1.การวางมิเตอร์ชนิดเข็มขณะทำการวัดมีข้อกำหนดซึ่งจะระบุไว้ที่ตัวมิเตอร์ (ของอ.แมคไม่มี ปลอมจริงๆ ;D) ดูจากรูปด้านล่างที่ไม่ชัดประกอบน่ะครับ จะเห็นสัญลักษณ์ครึ่งสี่เหลี่ยมคว่ำ นั่นหมายถึง ขณะทำการวัดต้องวางมิเตอร์ให้ขนานไปกับพื้น หากวางในลักษณะอื่นค่าที่วัดได้จะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นครับ
2.ค่าต่างๆที่วัดได้จากมิเตอร์แบบเข็มจะมีความถูกต้องสูงขึ้น เมื่อเข็มมิเตอร์แสดงค่าอยู่ในส่วนที่ 3 ของสเกล ( แบ่งสเกลของหน้าปัทม์เป็น 3 ส่วน นับจากซ้ายไปขวา ส่วนที่ 3 อยู่ขวามือสุดครับ)
3. การอ่านค่าจากสเกลของมิเตอร์เข็ม ให้มองเข็มให้แนวสายตาตั้งฉากกับหน้าปัทม์ โดยให้เงาของเข็มในกระจกด้านหลัง ทับซ้อนเข็มพอดีครับ
-
ใครบอกของปลอม เค้าเรียกของเทียม ... ว้า
-
ใครบอกของปลอม เค้าเรียกของเทียม ... ว้า
หรือเรียกว่าของเลียนแบบ
-
ใครบอกของปลอม เค้าเรียกของเทียม ... ว้า
ใครว่าปลอม เทียม ไม่ใช่ครับ เค้าเรียกว่าของ ก็อปแท้ๆๆ 2f 2f
ใครใช้เข็ม ก็ต้องซิมสันครับ ราคาแพงกว่าไอ้ตัวเหลืองทางขวาอีกนะ หายากครับ
-
อ่านจบ .. ตามทันแล้วว :yahoo
คิดค่า R รวม ข้อ 4 ได้ .. 1246.3 ครับ ก็ใกล้เคียงอยู่น่ะ ฮาาา
-
c) :drive1 c)
-
c) :drive1 c)
พี่ duang สงสัย Drift ลงจากดอยบ่อยๆ ฝนตกระวังถนนลื่นน่ะครับ ;D ;D ;D
-
c) :drive1 c)
พี่ duang สงสัย Drift ลงจากดอยบ่อยๆ ฝนตกระวังถนนลื่นน่ะครับ ;D ;D ;D
ติดฝนบนดอยคั้งนานหลายวัน ลงมาได้แล้ว
-
มาดูการใช้มัลติมิเตอร์แบบเข็มวัดค่าความต้านทานกันต่อครับ เมื่อต้องการวัดค่าความต้านทานให้ปรับลูกบิดเลือกย่านการวัดไปที่โอห์มครับ (โอห์มิเตอร์) โดยย่านการวัดทั่วไปก็จะมี x 1 , x 10 , x 1k , x 10k , x 100k ทั้งนี้แล้วแต่รุ่นนั้นๆผลิตมาครับ ซึ่งย่านที่กล่าวมานั้น หมายถึงตัวคูณของค่าที่อ่านได้จากหน้าปัทม์แถวบนสุด ตัวอย่างเช่น หากเราอ่านค่าได้ 15 และปรับอยู่ที่ย่าน x 1k ค่าของตัวต้านทานก็จะเป็น 15k โอห์ม เป็นต้นครับ
ส่วนที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของการใช้มิเตอร์แบบเข็มวัดค่าความต้านทานคือ การปรับตั้งศูนย์โอห์ม (Zero Adjust) ทุกครั้งที่เลือกย่านความต้านทานและเปลี่ยนย่านการวัด จะต้องปรับศูนย์โอห์ม ก่อนทำการวัดทุกครั้งนะครับ เพื่อค่าที่ถูกต้องครับ
-
อ.Mc ใช้กล่องอะไรถ่ายรูปมิเตอร์ครับ ชัดดีจัง
-
มาดูการใช้มัลติมิเตอร์แบบเข็มวัดค่าความต้านทานกันต่อครับ เมื่อต้องการวัดค่าความต้านทานให้ปรับลูกบิดเลือกย่านการวัดไปที่โอห์มครับ (โอห์มิเตอร์) โดยย่านการวัดทั่วไปก็จะมี x 1 , x 10 , x 1k , x 10k , x 100k ทั้งนี้แล้วแต่รุ่นนั้นๆผลิตมาครับ ซึ่งย่านที่กล่าวมานั้น หมายถึงตัวคูณของค่าที่อ่านได้จากหน้าปัทม์แถวบนสุด ตัวอย่างเช่น หากเราอ่านค่าได้ 15 และปรับอยู่ที่ย่าน x 1k ค่าของตัวต้านทานก็จะเป็น 15k โอห์ม เป็นต้นครับ
ส่วนที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของการใช้มิเตอร์แบบเข็มวัดค่าความต้านทานคือ การปรับตั้งศูนย์โอห์ม (Zero Adjust) ทุกครั้งที่เลือกย่านความต้านทานและเปลี่ยนย่านการวัด จะต้องปรับศูนย์โอห์ม ก่อนทำการวัดทุกครั้งนะครับ เพื่อค่าที่ถูกต้องครับ
:drive1
-
ครูยังไม่มา เอารูปมาตั้งคำถามเล่น
ให้บอกค่าความต้านทานที่อ่านได้ตามตำแหน่งเข็ม สีแดง และสีน้ำเงิน ;D ;D
-
ครูยังไม่มา เอารูปมาตั้งคำถามเล่น
ให้บอกค่าความต้านทานที่อ่านได้ตามตำแหน่งเข็มสีแดง และ สีน้ำเงิน ;D ;D
ขอหนุกด้วยคนครับจารย์ ตอบเลยแระกัน
สีแดงอ่านได้ 30k, สีน้ำเงินอ่านได้ 7k ครับ
-
ครูยังไม่มา เอารูปมาตั้งคำถามเล่น
ให้บอกค่าความต้านทานที่อ่านได้ตามตำแหน่งเข็มสีแดง และ สีน้ำเงิน ;D ;D
ขอหนุกด้วยคนครับจารย์ ตอบเลยแระกัน
สีแดงอ่านได้ 30k, สีน้ำเงินอ่านได้ 7k ครับ
:clap :clap :clap :clap :clap
-
ครูยังไม่มา เอารูปมาตั้งคำถามเล่น
ให้บอกค่าความต้านทานที่อ่านได้ตามตำแหน่งเข็ม สีแดง และสีน้ำเงิน ;D ;D
น้ำเงิน 7k แดง 30K ครับ
-
ครูตัวจริงมาแล้ว ;D ;D
-
แวะมาเรียน กศน.ด้วยคน ;D ;D
-
แวะมาเรียน กศน.ด้วยคน ;D ;D
ยินดีต้อนรับนักเรียนใหม่อีกคน คนนี้ไม่ต้องเรียน มาช่วยแบ่งปันความรู้ดีกว่าไหมครับ c) c) c)
-
มาเริ่มวัดค่าความต้านทานกันครับ
เริ่มแรกให้ปรับลูกบิดไปยังย่านวัดค่าความต้านทานย่านไหนก็ได้ (อาจจะประมาณเอาจากค่าความต้านทานที่นำมาวัด) แล้วทำการปรับศูนย์โอห์ม โดยจับปลายสายวัดทั้งลองข้างแตะกัน แล้วหมุนปรับปุ่มศูนย์โอห์ม ให้เข็มชี้ที่ 0 พอดี
อย่าลืมว่า "เมื่อเปลี่ยนย่านการวัด ต้องปรับศูนย์โอห์มทุกครั้ง" น่ะครับ
-
จากนั้นก็ทำการวัดค่าความต้านทานครับ ข้อควรระวัง อย่าใช้มือจับปลายสายวัดทั้ง 2 ข้างเข้ากับขาตัวต้านทานน่ะครับ เพราะจะทำให้ค่าผิดพลาดได้ แต่จะผิดพลาดอย่างไร เดี๋ยวจะอธิบายในช่วงท้ายครับ ทางที่ดีคือ จับปลายสายแค่ข้างเดียว หรือใช้เป็นอุปกรณ์ช่วย อย่างปากคีบครับ จะทำให้สะดวกขึ้น เมื่ออ่านค่าได้จากสเกล ให้คูณค่านั้นด้วยย่านที่เราปรับตั้งไว้ ก็จะกลายเป็นค่าตัวต้านทานที่วัดอยู่ครับ
-
ต่อไปเป็นการใช้มัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล ในการวัดค่าความต้านทานครับ ซึ่งจะง่ายและสะดวกกว่า เพราะหากเราเลือกย่านการวัดค่าความต้านทานและปรับให้การเปลี่ยนย่านอยู่ในโหมดอัตโนมัติ (Auto Range) จึงไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนย่าน และไม่ต้องปรับศูนย์โอห์มอีกด้วย แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่บ้างตรงความต้านทานที่เกิดที่สายวัด ที่มีค่าต่ำๆ โดยจะมีผลเมื่อเราวัดค่าความต้านทานที่มีค่าต่ำ ก็จะเกิดความผิดพลาดได้มากครับ เครื่องบางรุ่นได้มีการชดเชยความต้านทานส่วนนี้ให้ แต่ในรุ่นที่ไม่มีการชดเชย ก็ควรจดจำความต้านทานที่เกิดในสาย เพื่อนำไปหักลบในกรณ๊ที่วัดค่าความต้านทานต่ำๆครับ
-
ตัวอย่างค่าความต้านทานที่เกิดในสายวัดครับ ซึ่งจะมีค่าต่ำ เช่น 0.3 โอห์ม ซึ่งหากเราใช้วัดตัวต้านทานที่มีค่า 0.47 โอห์ม ก็จะวัดได้ 0.77 โอห์ม ทำให้เกิดความผิดพลาดขึ้นได้ครับ (ทำไมฟลุดไม่ชดเลยให้น่ะเนี่ย K])
-
จากนั้นก็ทำการวัดความต้านทานได้เลย วิธีการก็เช่นเดียวกับการวัดด้วยมิเตอร์แบบเข็มครับ คืออย่าจับปลายสายวัดพร้อมกันทั้ง 2 ข้าง ขณะทำการวัดครับ ค่าที่อ่านได้เป็นค่าความต้านทานของตัวต้านทานโดยตรง สามารถนำไปใช้งานได้เลยครับ
-
เสริมนิดครับจารย์
ข้อควรระวังในการใช้มิเตอร์ให้ปลอดภัย
ในกรณีที่เอามิเตอร์วัดค่าแรงดัน ต้องแน่ใจว่าได้ตั้ง rang ของมิเตอร์ไว้ถูกต้องเหมาะสมแล้ว โดยเฉพาะกรณีของมิเตอร์เข็ม จะพบบ่อย เอาไปวัดแรงดัน แต่ไม่เปลี่ยน rang ทำให้มิเตอร์เสียหายมานักต่อนักแล้ว....โดนมาแล้ว :secret
-
เสริมนิดครับจารย์
ข้อควรระวังในการใช้มิเตอร์ให้ปลอดภัย
ในกรณีที่เอามิเตอร์วัดค่าแรงดัน ต้องแน่ใจว่าได้ตั้ง rang ของมิเตอร์ไว้ถูกต้องเหมาะสมแล้ว โดยเฉพาะกรณีของมิเตอร์เข็ม จะพบบ่อย เอาไปวัดแรงดัน แต่ไม่เปลี่ยน rang ทำให้มิเตอร์เสียหายมานักต่อนักแล้ว....โดนมาแล้ว :secret
ผมเคยโดนมาเหมือนกัน :cry2
-
ไม่เรียนหลายวันแล้ว อาจารย์คงกลับมาบ้าน ทำบุญเดือนแน่
-
ไม่เรียนหลายวันแล้ว อาจารย์คงกลับมาบ้าน ทำบุญเดือนแน่
ไม่ได้กลับครับน้าเอก แต่คิดถึงอย่างแรง คิดถึงบรรยากาศงานเดือนสิบที่วัดพระธาตุฯ ที่ทุ่งท่าลาด ทำงานรอรับส่วนบุญอยู่ กทม. นี่แหละ ;D
-
จากที่เคยกล่าวไว้เรื่องเหตุที่ว่าทำไม่จึงไม่ควรใช้มือจับสายวัดกับตัวต้านทานขณะทำการวัด มาดูเหตุผลและที่มาครับ
เมื่อเราวัดค่าความต้านทานที่มีค่าน้อย ผลที่เกิดจากการใช้มือทั้งสองข้างจับสายวัดกับตัวต้านทาน อาจมีผลไม่มากนัก โดยปกติตัวคนเรสจะมีความต้านทานอยู่ ซึ่งค่าจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสภาวะความชื้นของร่างกาย ผมลองทดสอบวัดค่าความต้านทานที่เกิดที่ปลายนิ้วของมือทั้งสองข้าง สังเกตค่าความต้านทานที่ได้จากรูปน่ะครับ
-
จะเห็นว่าความต้านทานที่ปลายนิ้วผมตอนนี้มีค่าประมาณ 1.5 M โอห์ม จากนั้นผมทำการวัดค่าตัวต้านทานมาตรฐานที่อ่านค่าจากแถบสีได้ 1 M โอห์ม ค่าความต้านทานวัดได้ถูกต้องและใกล้เคียงกับค่าที่อ่านได้ครับ
-
นักเรียนประจำมาแล้ว c)(อาจารย์หายไปนานเลย)
-
นักเรียนประจำมาแล้ว c)(อาจารย์หายไปนานเลย)
มาถึงก็ต่อว่าผมเลยน่ะ ;D ;D ;D ไม่ได้หายไปไหน ช่วงนี้บ้าหลายอย่างเลยไม่ค่อยว่าง เรื่องงาน โปรเจคการเรียน กำลังจะบ้า 2A3 อีกเนี่ย 2f
-
มาดูกันต่อครับ ถ้าเราทำการวัดตัวต้านทานขนาด 1 M โอห์ม ตัวนี้ โดยใช้มือจับตัวต้านทานเข้ากับสายวัด จะเกิดอะไรขึ้น ลองดูค่าที่ได้อีกครั้งครับ ตามรูป
-
จากการทดลองทั้งหมดจะเห็นว่า เมื่อเราวัดค่าความต้านทานที่มีค่ามาก โดยใช้มือจับตัวต้านทานเข้ากับสายวัด ค่าผิดพลาดนั้นจะมีมาก เนื่องจากค่าความต้านทานที่เกิดขึ้นในร่างการของเรา ไปขนานกับค่าความต้านทานที่ทำการวัดอยู่ ยิ่งค่าความต้านทานที่วัดมีค่ามากขึ้นเท่าไร ความผิดพลาดที่เกิดก็เพิ่มขึ้นตามครับ แต่ในกรณีการวัดค่าความต้านทานต่ำ ค่าผิดพลาดที่เกิดก็จะน้อยลง สามารถพิสูจน์ได้ถึงเหตุผลข้อนี้จากการคำนวณตัวต้านทาน 2 ตัวขนานกันครับ
ที่สุดแล้วก็ไม่แนะนำให้ใช้มือจับขาตัวต้านทานทั้งสองข้างขณะทำการวัดครับ เพื่อความถูกต้องของค่าที่ได้ ไม่ว่าค่าความต้านทานจะสูงหรือต่ำครับ ฝึกไว้ให้เป็นนิสัยครับผม O0 O0
-
ไม่ เรียนหลายวัน แล้ว อาจารย์ คงกลับมาบ้านทำ บุญ เดือน แน่
ไม่ได้กลับครับน้าเอก แต่คิดถึงอย่างแรง คิดถึงบรรยากาศงาน เดือนสิบที่วัดพระ ธาตุฯ ที่ทุ่งท่าลาด ทำงานรอรับส่วนบุญอยู่กทม. นี่แหละ ;D
น่าเสียดาย ผมหยุดตั้ง 3 วัน ทำงานอีกทีก็วันจันทร์ ;D
-
ไม่ เรียนหลายวัน แล้ว อาจารย์ คงกลับมาบ้านทำ บุญ เดือน แน่
ไม่ได้กลับครับน้าเอก แต่คิดถึงอย่างแรง คิดถึงบรรยากาศงาน เดือนสิบที่วัดพระ ธาตุฯ ที่ทุ่งท่าลาด ทำงานรอรับส่วนบุญอยู่กทม. นี่แหละ ;D
น่าเสียดาย ผมหยุดตั้ง 3 วัน ทำงานอีกทีก็วันจันทร์ ;D
อิจฉา K] K] K] ฝากทำบุญเผื่อด้วยครับน้าเอก
-
จากการทดลองทั้งหมดจะเห็นว่า เมื่อเราวัดค่าความต้านทานที่มีค่ามาก โดยใช้มือจับตัวต้านทานเข้ากับสายวัด ค่าผิดพลาดนั้นจะมีมาก เนื่องจากค่าความต้านทานที่เกิดขึ้นในร่างการของเรา ไปขนานกับค่าความต้านทานที่ทำการวัดอยู่ ยิ่งค่าความต้านทานที่วัดมีค่ามากขึ้นเท่าไร ความผิดพลาดที่เกิดก็เพิ่มขึ้นตามครับ แต่ในกรณีการวัดค่าความต้านทานต่ำ ค่าผิดพลาดที่เกิดก็จะน้อยลง สามารถพิสูจน์ได้ถึงเหตุผลข้อนี้จากการคำนวณตัวต้านทาน 2 ตัวขนานกันครับ
ที่สุดแล้วก็ไม่แนะนำให้ใช้มือจับขาตัวต้านทานทั้งสองข้างขณะทำการวัดครับ เพื่อความถูกต้องของค่าที่ได้ ไม่ว่าค่าความต้านทานจะสูงหรือต่ำครับ ฝึกไว้ให้เป็นนิสัยครับผม O0 O0
:) :) :)
-
อาจารย์ครับวันนี้ห้องเรียนเงียบเหงาจัง :'( :'(
-
เริ่มเรื่องใหม่ครับ สำหรับเรื่องเกี่ยวกับความต้านทานที่ผ่านมา หากมีข้อสงสัยใด ยินดีตอบคำถามครับ ทาง PM ก็ยินดีครับ d_d
-
ความจุไฟฟ้าและตัวเก็บประจุ (Capacitance & Capacitor)
ความหมายของคำว่า " ความจุไฟฟ้า " นั้น หมายถึง " ความสามารถในการเก็บหรือสะสมประจุไฟฟ้าเอาไว้ได้ " เครื่องมือหรืออุปกรณ์อะไรก็ตามที่สามารถเก็บหรือสะสมประจุเอาไว้ได้ ก็จะเหมือนกับเป็นการสะสมพลังงานไฟฟ้าเอาไว้ เราเรียกเครื่องมือเหล่านี้ว่า "ตัวเก็บประจุ" ครับ ซึ่งประจุไฟฟ้าในที่นี้มีหน่วยเป็น คูลอมบ์/โวลท์ แต่ชื่อหน่วยของความจุไฟฟ้าที่นิยมเรียกกันคือ "ฟารัด" (Farad) เพื่อเป็นเกียรติให้กับ Michael Faraday ที่เป็นผู้พัฒนาแนวคิดในเรื่องนี้ครับ
แต่ความจุ 1 ฟารัด ( 1ฟารัด = 1 คูลอมบ์/โวลท์) (F) เป็นความจุที่มีค่ามากครับ ดังนั้นหน่วยย่อยที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ที่เราพบเจอกันบ่อยๆ คือ
ไมโครฟารัด ( uF )
นาโนฟารัด ( nF )
พิโคฟารัด ( pF )
-
c) c) c)
-
มาถึงเรื่องที่ชอบเลย สงสัยเราจะท๊อปวิชานี้แน่แน่ เริ่มหรือยังครับ ครู (แอบอยู่หลังห้องมานาน วันนี้ขอนั่งหน้า)
-
ขอเรียนด้วยคนครับ สำหรับนักเรียนใหม่วัย(เกือบ)=ik K)
-
มาทราบถึงโครงสร้างพื้นฐานของตัวเก็บประจุครับ ประจุไฟฟ้าสามารถเกิดขึ้นได้ระหว่างตัวนำที่วางขนานกันและมีศักย์ไฟฟ้า(แรงดัน) แตกต่างกัน เช่น ระหว่างสายไฟ 2 เส้น แต่ค่าความจุไฟฟ้าที่เกิดขึ้นขึ้นอยู่กับลักษณะของตัวนำที่วางขนานกันครับ รูปแบบที่เป็นที่นิยมใช้ทำเป็นตัวเก็บประจุมากที่สุดคือ รูปแบบแผ่นโลหะขนานกัน เนื่องจากสามารถควบคุมค่าความจุไฟฟ้าได้ง่าย เนื่องจากความจุไฟฟ้าจะเปลี่ยนแปลงตามขนาดพื้นที่หน้าตัดของแผ่นโลหะและระยะห่างระหว่างแผ่นโลหะทั้งสอง
ช่องว่างระหว่างแผ่นโลหะ จะมีลักษณะเป็นชั้นของฉนวน เรียกว่า "ไดอิเล็คทริค" Dielectric ซึ่งเป็นพื้นที่เก็บประจุๆไฟฟ้าไว้ และกั้นไม่ให้แผ่นโลหะนั้นลัดวงจรเข้าหากัน โดยไดอิเล็คทริคนี้อาจจะเป็น อากาศ กระดาษ ไมก้า อิเล็กทรอไลท์ หรือสารประกอบพลาสติกอื่นๆ โดยไดอิเล็คทริคแต่ละชนิดก็จะมีความสามารถในการเก็บประจุไฟฟ้าในปริมาณที่แตกต่างกัน ค่าความจุไฟฟ้าจึงแตกต่างกันไปครับ
-
มาทราบถึงโครงสร้างพื้นฐานของตัวเก็บประจุครับ ประจุไฟฟ้าสามารถเกิดขึ้นได้ระหว่างตัวนำที่วางขนานกันและมีศักย์ไฟฟ้า(แรงดัน) แตกต่างกัน เช่น ระหว่างสายไฟ 2 เส้น แต่ค่าความจุไฟฟ้าที่เกิดขึ้นขึ้นอยู่กับลักษณะของตัวนำที่วางขนานกันครับ รูปแบบที่เป็นที่นิยมใช้ทำเป็นตัวเก็บประจุมากที่สุดคือ รูปแบบแผ่นโลหะขนานกัน เนื่องจากสามารถควบคุมค่าความจุไฟฟ้าได้ง่าย เนื่องจากความจุไฟฟ้าจะเปลี่ยนแปลงตามขนาดพื้นที่หน้าตัดของแผ่นโลหะและระยะห่างระหว่างแผ่นโลหะทั้งสอง
ช่องว่างระหว่างแผ่นโลหะ จะมีลักษณะเป็นชั้นของฉนวน เรียกว่า "ไดอิเล็คทริค" Dielectric ซึ่งเป็นพื้นที่เก็บประจุๆไฟฟ้าไว้ และกั้นไม่ให้แผ่นโลหะนั้นลัดวงจรเข้าหากัน โดยไดอิเล็คทริคนี้อาจจะเป็น อากาศ กระดาษ ไมก้า อิเล็กทรอไลท์ หรือสารประกอบพลาสติกอื่นๆ โดยไดอิเล็คทริคแต่ละชนิดก็จะมีความสามารถในการเก็บประจุไฟฟ้าในปริมาณที่แตกต่างกัน ค่าความจุไฟฟ้าจึงแตกต่างกันไปครับ
Y]
-
ทราบแล้ว ;) ;)
-
กะว่าเรียนเรื่องนี้จบ พัน Paper in oil ใช้เองเป็นไงครับ
-
เอ๋.. มันก็ไม่น่ายากนะ ผมว่าพันหม้อ ยังยากกว่ามั้ง แต่ เอ..ทำไมไม่ค่อยมีใครพันCใช้กันเนี่ย
-
ดีไอวาย ซะอย่างไม่น่ามีอะไรยาก แต่พันออกมาแล้ว เสียงจะใช้ได้หรือป่าวนี่สิ จำได้ว่าที่ญี่ปุ่นก็มี นักดีไอวาย ที่พัน ซี ใช้เองแล้วเสียงเป็นที่ยอมรับ รู้สึกจะชื่อ นาย คอนโด๊ะ อะไรนี่แหละครับ
-
อาจารย์ครับฟื้นหรือยังครับ อิอิ d_d
-
อาจารย์ครับฟื้นหรือยังครับ อิอิ d_d
เพิ่งกลับมาถึงครับพี่ ขอพักผ่อนสักวัน สองวัน ครับ ;D
-
c) c) c)
-
จากรูปตัวอย่างในคราวที่แล้ว เป็นลักษณะประจุไฟฟ้าที่เกิดขึ้นระหว่างแผ่นตัวนำที่วางขนานกัน คั่นด้วยไดอิเล็กทริค รูปแบบนี้เป็นรูปแบบที่นิยมนำมาทำเป็นตัวเก็บประจุในปัจจุบัน เนื่องจากค่าความจุแปรผันตามปริมาณพื้นที่ของตัวนำที่ขนานกัน การผลิตตัวเก็บประจุให้มีค่าหลากหลายจึงสามารถทำได้ง่าย โดยการนำแผ่นตัวนำคั่นด้วยไดอิเล็กทริค แล้วนำมาม้วนเพื่อเพิ่มพื้นที่หน้าตัด ดังรูป วิธีนี้จึงเป็นที่นิยมและพบเห็นกันอยู่ทั่วไป ในตัวเก็บประจุที่เราใช้ๆกันครับ
-
จากรูปตัวอย่างในคราวที่แล้ว เป็นลักษณะประจุไฟฟ้าที่เกิดขึ้นระหว่างแผ่นตัวนำที่วางขนานกัน คั่นด้วยไดอิเล็กทริค รูปแบบนี้เป็นรูปแบบที่นิยมนำมาทำเป็นตัวเก็บประจุในปัจจุบัน เนื่องจากค่าความจุแปรผันตามปริมาณพื้นที่ของตัวนำที่ขนานกัน การผลิตตัวเก็บประจุให้มีค่าหลากหลายจึงสามารถทำได้ง่าย โดยการนำแผ่นตัวนำคั่นด้วยไดอิเล็กทริค แล้วนำมาม้วนเพื่อเพิ่มพื้นที่หน้าตัด ดังรูป วิธีนี้จึงเป็นที่นิยมและพบเห็นกันอยู่ทั่วไป ในตัวเก็บประจุที่เราใช้ๆกันครับ
แล้วขั้วล่ะ มีวิธีการกำหนดอย่างไร :)
-
ผมของตอบจามข้อมูลที่ได้มาน่ะครับ แต่จะจริงเท็จประการใด โปรดหาข้อมูลสนับสนุนอีกครั้งน่ะครับ
1. กรณีการคั่นด้วยไดอิเล็กทริคแล้วม้วน จะเกิด Outer Foil (แผ่นตัวนำที่อยู่ด้านนอก) และ Inner Foil (แผ่นตัวนำที่อยู่ด้านใน) แผ่นตัวนำที่อยู่ด้านนอก เมื่อมองในเรื่องการกันสัญญาณรบกวน จะมีคุณสมบัติเหมือนเป็นชิลล์ ห่อหุ้มประจุไฟฟ้าที่อยู่ภายใน จึงกำหนดให้แผ่นตัวนำที่อยู่ชั้นนอกเป็น Negative ต่อลงกราวด์ หรือเป็นขั้วลบ ส่วนแผ่นที่อยู่ชั้นในก็เป็น Positive ต่อกับศักย์ไฟฟ้าที่สูงกว่า หรือเป็นขั้วบวกครับ
-
:D :)
-
สัญลักษณ์แทนตัวเก็บประจุในวงจรไฟฟ้า ในวงจรไฟฟ้าที่พบเห็นกันอยู่ทั่วไป สัญลักษณ์ที่เขียนแทนตัวเก็บประจุ จะมีลักษณะเป็นเส้น 2 เส้นวางขนานกัน รูปแบบของสัญลักษณ์ก็แตกต่างกันบ้างตามมาตรฐานครับว่าเป็นอเมริกา ยุโรป หากเราแบ่งตัวเก็บประจุออกตามรูปแบบขั้ว จะสามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ แบบมีขั้ว (Polar) และแบบไม่มีขั้ว (Non-Polar) ซึ่งจะมีการกำหนดขั้วหรือไม่ขึ้นอยู่กับชนิดของตัวเก็บประจุนั้นๆครับ นอกจากนั้นยังมีตัวเก็บประจุแบบปรับค่าได้ ซึ่งสัญลักษณ์ทั้งหมดแสดงดังรูปด้านล่างครับ
-
:)
-
สัญลักษณ์แทนตัวเก็บประจุในวงจรไฟฟ้า ในวงจรไฟฟ้าที่พบเห็นกันอยู่ทั่วไป สัญลักษณ์ที่เขียนแทนตัวเก็บประจุ จะมีลักษณะเป็นเส้น 2 เส้นวางขนานกัน รูปแบบของสัญลักษณ์ก็แตกต่างกันบ้างตามมาตรฐานครับว่าเป็นอเมริกา ยุโรป หากเราแบ่งตัวเก็บประจุออกตามรูปแบบขั้ว จะสามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ แบบมีขั้ว (Polar) และแบบไม่มีขั้ว (Non-Polar) ซึ่งจะมีการกำหนดขั้วหรือไม่ขึ้นอยู่กับชนิดของตัวเก็บประจุนั้นๆครับ นอกจากนั้นยังมีตัวเก็บประจุแบบปรับค่าได้ ซึ่งสัญลักษณ์ทั้งหมดแสดงดังรูปด้านล่างครับ
Y]
-
พี่เดียร์ ไม่มาเปิดสอนนานเลย ไปทำงาน กลับมายังครับ... :D
-
ขอสมัครเป็นลูกศิทย์ด้วยคนครับ ;D
-
มาขอเข้าห้องเรียนด้วยคนครับ อาจาร์ย :whistling :whistling
-
:) :drive1
-
มาขอเข้าห้องเรียนด้วยคนครับ อาจาร์ย :whistling :whistling
ที่อื่นเปิดเรียนกันหมดแล้วนี่ :kicking
-
กลับมาจากรับ Job 1 สัปดาห์ สภาพสะบักสะบอมพอสมควร ปกติดำอยู่แล้ว กลับมายังกะต่อตะโกเลย แถมอากาศเปลี่ยนสุขภาพเริ่มไม่สู้ดี เปิดช้ากว่าที่อื่นเค้าหน่อยละกันน่ะครับ :cold
-
ขอเปนลูกศิษย์ด้วยคนครับ มาใหม่ครับมีอะไรแนะนำด้วยนาครับ (แอบดูมานานแร้ว) :shutup
-
กลับมาจากรับ Job 1 สัปดาห์ สภาพสะบักสะบอมพอสมควร ปกติดำอยู่แล้ว กลับมายังกะต่อตะโกเลย แถมอากาศเปลี่ยนสุขภาพเริ่มไม่สู้ดี เปิดช้ากว่าที่อื่นเค้าหน่อยละกันน่ะครับ :cold
มันยังดำได้อีกเหรอ ผมว่าก็เหมือนเดิมนะอาจารย์ ;D
-
ชนิดและรูปแบบตัวเก็บประจุ ตัวเก็บประจุมีชนิดและรูปแบบที่หลากหลายมากครับ ซึ่งแต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติและการนำไปใช้งานที่แตกต่างกันไป ผมจะเริ่มไล่เรียงจากชนิดที่ใกล้ตัวเราในงาน DIY ไปเืรื่อยๆน่ะครับ แต่จะไม่ขอพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับผลทางเสียงครับ ข้อมูลทั้งหมดที่ผมให้ไปอย่าถือว่าเป็ยวิชาการไปเสียหมด บางอยากก็ได้จากการสังเกต หากเกิดความบกพร่องก้เอามาแนะนำ แลกเปลี่ยนกันได้เสมอครับ
1.ตัวเก็บประจุชนิดอิเล็กโทรไลท์ (Electrolytic Capacitors) เป็นตัวเก็บประจุที่พบเจอและมีการใช้งานมากที่สุด เนื่องจากมีช่วงค่าความจุไฟฟ้าที่กว้างตั้งแต่ค่าต่ำๆประมาณ 0.1 ไปจนถึง 10000 uF หรือมากว่านี้ก็มี เหตุที่เรียกตัวเก็บประจุชนิดนี้ว่า "อิเล็กทรอไลท์" นั่นก็คือ โครงสร้างของแผ่นเพลทตัวนำที่คั่นด้วยฉนวนแล้ว เมื่อบรรจุลงในตัวถัง จะถูกบรรจุสารที่มีคุณสมบัติเป็นฉนวนคือ "อิเล็กทรอไลท์" ลงไปด้วย การนำไปใช้งานในงาน DIY ของตัวเก็บประจุชนิดนี้ก็เช่น ใช้เป็นตัวกรองแรงดันในวงจรเรียงกระแส ใช้เป็นคาโทด อื่นๆแล้วแต่จะใช้ครับ ;D
ตัวเก็บประจุลักษณะตัวถังเป็นแบบทรงกระบอก มีทั้งแบบวางแนวตั้งซึ่งขั้วต่อใช้งานอยู่ด้านเดียวกัน และแบบวางแนวนอนที่ขั้วอยู่คนละด้าน(หางหนู) และยังมีทั้งชนิดมีขั้ว (Polar) กับชนิดไม่มีขั้ว (Non-Polar) ครับ
-
กลับมาจากรับ Job 1 สัปดาห์ สภาพสะบักสะบอมพอสมควร ปกติดำอยู่แล้ว กลับมายังกะต่อตะโกเลย แถมอากาศเปลี่ยนสุขภาพเริ่มไม่สู้ดี เปิดช้ากว่าที่อื่นเค้าหน่อยละกันน่ะครับ :cold
มันยังดำได้อีกเหรอ ผมว่าก็เหมือนเดิมนะอาจารย์ ;D
:whistling :whistling :whistling ;D 2f 2f
-
อันนี้ก็อิเล็กทรอไลท์ครับ มีแบบที่เป็นหางหนูด้วย ส่วนตัวสีฟ้าๆกลมไม่ใช่น่ะครับผม ;D
-
กลับมาจากรับ Job 1 สัปดาห์ สภาพสะบักสะบอมพอสมควร ปกติดำอยู่แล้ว กลับมายังกะต่อตะโกเลย แถมอากาศเปลี่ยนสุขภาพเริ่มไม่สู้ดี เปิดช้ากว่าที่อื่นเค้าหน่อยละกันน่ะครับ :cold
มันยังดำได้อีกเหรอ ผมว่าก็เหมือนเดิมนะอาจารย์ ;D
:whistling :whistling :whistling ;D 2f 2f
ยังมีมาขำซ้ำเติมกันอีก ปกติผมออกจะขาวนวลผ่องขนาดนั้น ไม่ดำอย่างนี้ซ่ะหน่อย 2f
-
2f 2f
-
ขอบคุณ สำหรับความรู้ที่ได้รับ
แอบลองทำแบบฝึกหัดดู ทำถูกด้วยครับ
-
เปนกระทู้ที่ดีมากครับ :help
-
ตื่นแต่เช้าเลยนะอาจารย์ ล้างหน้าล้างตา แปรงฟันยังเนี้ย ;D
-
แบบมีขั้ว (Polar) และแบบไม่มีขั้ว (Non-Polar) [/quote]
:)
ใช้แทนกันได้ไหม
-
อันนี้ก็อิเล็กทรอไลท์ครับ มีแบบที่เป็นหางหนูด้วย ส่วนตัวสีฟ้าๆกลมไม่ใช่น่ะครับผม ;D
:) เราจะมีวิธีตรวจสอบอย่างไรครับว่า C เสียหรือไม่เสียครับ ใช้อะไรวัดครับ
-
แบบมีขั้ว (Polar) และแบบไม่มีขั้ว (Non-Polar)
:)
ใช้แทนกันได้ไหม
[/quote]
แบบไม่มีขั้วใช้กับไฟฟ้ากระแสสลับครับ ส่วนในไฟฟ้ากระแสตรงจะใช้แบบไหนก็ได้ครับ
ส่วนเรื่องการตรวจสอบ C เอาไว้ตอนท้ายเรื่อง C จะมาอธิบายครับ
-
2.ตัวเก็บประจุชนิดน้ำมัน (Oil Capacitor) เป็นตัวเก็บประจุที่ใช้น้ำมันเป็นส่วนประกอบไดอิเล็กทริค แต่แผ่นเพลทที่วางขนานมักใช้เป็นอะลูมิเนียม หรือบางรุ่นอาจใช้เป็นทองแดงก็มี ฉนวนที่คั่นระหว่างแผ่นเพลทที่พบเจอบ่อยจะใช้เป็นกระดาษ บางครั้งจึงเคยได้ยินชื่อเรียกว่า Paper In Oil เป็นต้น ตัวเก็บประจุชนิดนี้ ส่วนใหญ่แล้วค่าความจุจะไม่มากเหมือนแบบอิเล้กทรอไลท์ที่กล่าวมาแล้ว แต่มีอัตราการทนแรงดันที่สูงกว่า ในงาน DIY เป็นงานที่นิยมนำตัวเก็บประจุชนิดมาใช้งาน ส่วนใหญ่จะนิยมนำมาใช้เป็นตัวเก็บประจุตัวแรก สำหรับหลอดเร็คติไฟร์เออร์ ส่วนจุดอื่นๆแล้วแต่ความชอบครับผม
-
นอกจากใช้ในภาคเร็คติไฟร์เออร์แล้ว ยังใช้เป็นตัวเก็บประจุคับปลิงสัญญาณเสียง กั้นไม่ให้แรงดันไฟกระแสตรงไหลเข้าสู่กริด ให้ผ่านได้เฉพาะสัญญาณเสียงที่เป็นกระแสสลับเท่านั้น
-
ตัวนี้ก็เป็น Oil ที่ใครหลายๆคนใฝ่ฝัน รวมถึงผมด้วย ;D ฝันกลางคืน
-
ขอนั่งด้วยครับ หลังห้องก็ได้ครับ ยิ่งอ่านน้ำลายเริ่มไหลแล้วครับ หลังๆมานี่คุณครูเริ่มนำกิเลสมาสู่นักเรียนแล้วครับ ;D
-
3. ตัวเก็บประจุชนิดฟิล์มพลาสติก เป็นตัวเก็บประจุซึ่งใช้ฟิล์มพลาสติกคั่นระหว่างแผ่นเพลท ซึ่งฟิล์มพลาสติกที่นิมใช้มักเป็นสารประกอบพลาสติก ที่เราเจอและใช้งานก็เช่น โพลีโพรพิลีน (Polypropylene)
โพลีสไตลีน (Polystyrene) โพลีเอสเตอร์ (Polyester) เป็นต้น โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะระบุชนิดของตัวเก้บประจุเหล่านี้ในรูปแบบอักษรย่อแทนชนิดของฟิล์มนั้นๆ ดังนี้
KP: โพลีโพรพิลีน
KS : โพลีสไตลีน
KT: โพลีเอสเตอร์
MKP : เมตัลไลซ์โพลีโพรพิลีน
MKS: เมตัลไลซ์โพลีสไตลีน
MKT: เมตัลไลซ์โพลีเอสเตอร์
MKT-P : เมตัลไลซ์โพลีเอสเตอร์/กระดาษ (P=Paper)
MK : เมตัลไลซ์พลาสติก
MKC : เมตัลไลซ์โพลีคาร์บอเนต
MKL (MKO) : เมตัลไลซ์แลคเกอร์
รูปตัวอย่างตัวเก็บประจุชนิดฟิล์มพลาสติกแบบต่างๆครับ
1.โพลีโพรพิลีน (KP)
-
เมทัลไลซ์โพลีโพรพิลีน (MKP)
-
เมทัลไลซ์โพลีสไตลีน (MKS)
-
โพลีสไตลีน (KS)
-
โพลีเอสเตอร์ (KT) หรือเรียกอีกอย่างนึงว่า ตัวเก็บประจุชนิดไมล่าร์ (Mylar Capacitor)
-
เมทัลไลซ์โพลีเอสเตอร์ (MKT)
-
เมตัลไลซ์โพลีคาร์บอเนต (MKC)
-
วันอาทิตย์ไม่หยุดสอนเหรอครับจารย์ ;D
-
แวะมาเช็ตชื่อ ครับ
c)
-
วันอาทิตย์ไม่หยุดสอนเหรอครับจารย์ ;D
เปลี่ยนมาหยุดงานวันอาิทิตย์แล้วครับน้าเอก ช่วงนี้งานยุ่งๆหลายๆเรื่อง เลยไม่ค่อยได้เข้ามาเพิ่มข้อมูลให้ เดี๋ยวจะว่าละทิ้งหน้าที่ซ่ะอีก
-
O0 :headphone
-
วันอาทิตย์ไม่หยุดสอนเหรอครับจารย์ ;D
เปลี่ยนมาหยุดงานวันอาิทิตย์แล้วครับน้าเอก ช่วงนี้งานยุ่งๆหลายๆเรื่อง เลยไม่ค่อยได้เข้ามาเพิ่มข้อมูลให้ เดี๋ยวจะว่าละทิ้งหน้าที่ซ่ะอีก
;D O0
-
โรงเรียนปิดหลายวันมานั่งรอครับ กำลังสนในเรื่อง c oil พอดี ไม่เคยใช้ มันมีจุดสีแดงข้างหนึ่งเอาเป็นขั้วบวกหรือเปล่า ไปเซิร์จดูแล้วไม่เคลียร์ ที่ทำๆ กันทำไงครับ
-
โรงเรียนปิดหลายวันมานั่งรอครับ กำลังสนในเรื่อง c oil พอดี ไม่เคยใช้ มันมีจุดสีแดงข้างหนึ่งเอาเป็นขั้วบวกหรือเปล่า ไปเซิร์จดูแล้วไม่เคลียร์ ที่ทำๆ กันทำไงครับ
ลองถ่ายรูปมาแบ่งปันกันครับ จะได้ช่วยๆกันดู
-
วันอาทิตย์ไม่หยุดสอนเหรอครับจารย์ ;D
เปลี่ยนมาหยุดงานวันอาิทิตย์แล้วครับน้าเอก ช่วงนี้งานยุ่งๆหลายๆเรื่อง เลยไม่ค่อยได้เข้ามาเพิ่มข้อมูลให้ เดี๋ยวจะว่าละทิ้งหน้าที่ซ่ะอีก
ขอบคุณครับ ที่มาเพิ่มข้อมูลให้ ลูกศิษย์ยังรออยู่ครับ
-
จารย์หายไปหลายวันเชียว
-
4. ตัวเก็บประจุที่มีไดอิเล็คทริกแบบอื่น นอกจากไดอิเล็คทริคที่ได้กล่าวมาแล้วยังมีตัวเก็บประจุชนิดอื่นๆที่ใช้ในงาน DIY จะยกตัวอย่างคร่าวๆน่ะครับ
ตัวเก็บประจุชนิดเซรามิค โดยส่วนใหญ่จะมีค่าความจุไฟฟ้าน้อย และมีขนาดเล็ก มีค่าใช้งานต่ำๆตั้งแต่ 1pF โครงสร้างก็เช่นเดียวกับตัวเก็บประจุทั่วไป แต่ชั้นฉนวนระหว่างเพลทจะเป็นเซรามิคครับ
-
ตัวเก็บประจุชนิดซิลเวอร์ไมก้า ( Silver Mica Capasitor) เพลทซึ่งเป็นตัวนำทำมาจากแผ่นเงินบางๆที่คั่นระหว่างแผ่นด้วยไมก้าที่มีคุณสมบัติเป็นฉนวน ส่วนใหญ่จะระบุค่าเป็น pF มีค่าตั้งแต่หลักสิบถึงหลักหมื่นพิโกฟารัด ในงาน DIY เจอใช้งานในการ Bi-Coupling สัญญาณเสียงเพื่อเพิ่มผลการตอบสนองสัญญาณความถี่สูง เป็นต้น
-
c) c) c)
-
คุณสมบัติที่สำคัญของตัวเก็บประจุ กระแสที่ไหลผ่านตัวเก็บประจุ เมื่อแรงดันที่ตกคร่อมตัวเก็บประจุไม่เปลี่ยนแปลงตามเวลา เช่น แรงดันแบบไฟตรง (DC) จะพบว่ากระแสที่ไหลผ่านตัวเก็บประจุเท่ากับศูนย์ นั่นคือตัวเก็บประจุจะเปิดวงจรเมื่อแรงดันเป็นไฟตรง นี้เป็นที่มาของการนำตัวเก็บประจุมาคับปลิงสัญญาณเสียงครับ จะเห็นว่าที่เพลทของหลอดในขณะที่ไม่มีสัญญาณมากระต้นที่กริด แรงดันไฟฟ้าที่ตกคร่อมและตัวต้านทานคาโทดจะมีค่าคงที่ แรงดันกระแสตรงจึงไม่สามารถไหลผ่านตัวเก็บประจุคับปลิงได้ แต่เมื่อกริดได้รับสัญญาณจะทำให้หลอดเกิดการสวิงแรงดัน แรงดันที่เพลทเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นเป็นกระแสสลับ ซึ่งสัญญาณที่เกิดการเปลี่ยนแปลงนี้จะไหลผ่านตัวเก็บประจุได้ครับ
-
สมาชิกใหม่ลงทะเบียนเรียนด้วยคนครับ
-
คุณสมบัติอีกข้อหนึ่งของตัวเก็บประจุ คือ แรงดันที่ตกคร่อมตัวเก็บประจุจะต้องมีความต่อเนื่อง (continuity) สาเหตุมาจากสมการกระแสที่ไหลผ่านตัวเก็บประจุ การเปลี่ยนแปลงทันทีทันใดของแรงดันที่ตกคร่อมตัวเก็บประจุนั้น ต้องการค่ากระแสที่เข้าใกล้อนันต์ (Infinite) ซึ่งในทางปฏิบัติไม่สามารถสร้างได้ ดังนั้นแรงดันที่ตกคร่อมตัวเก็บประจุไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอย่างทันทีทันใด ในทางกลับกันกระแสที่ไหลผ่านตัวเก็บประจุสามารถเปลี่ยนแปลงอย่างทันทีทันใดได้ ดังนั้นในทางปฏิบัติจะเห็นว่า แรงดันที่ตกคร่อมตัวเก็บประจุจะค่ิอยๆเพิ่มขึ้น เมือทำการชาร์จ และแรงดันก็จะค่อยๆลดลงเมื่อทำการคายประจุ
-
อาจารย์มาสอนต่อแล้วครับ c) c) c)
-
อาจารย์มาสอนต่อแล้วครับ c) c) c)
อ่านแล้ว งง ไหมครับพี่
-
อาจารย์มาสอนต่อแล้วครับ c) c) c)
อ่านแล้ว งง ไหมครับพี่
สองสามบรรทัดแรกงงครับ ตอนที่เข้าใจคือบรรทัดสุดท้าย(ดังนั้นในทางปฏิบัติจะเห็นว่า แรงดันที่ตกคร่อมตัวเก็บประจุจะค่อยๆเพิ่มขึ้น เมื่อทำการชาร์จ และแรงดันจะค่อยๆลดลงเมื่อทำการคายประจุ) แต่ตอนที่ C มันคายประจุใส่เรา(ตอนเราเผลอ)นี่สิแรงดันไม่ค่อยลดลงเลยเอาซะ...สดุ้งโหยงเลย
-
ผมว่างแล้ว ตามมาอ่านตั้งแต่กระทู้แรกครับ อ่านเข้าใจง่ายดี เดี๋ยวจะติดตามต่อครับ
O0 O0
-
ผมว่างแล้ว ตามมาอ่านตั้งแต่กระทู้แรกครับ อ่านเข้าใจง่ายดี เดี๋ยวจะติดตามต่อครับ
O0 O0
ขอบคุณทุกกำลังใจครับ จะลงเนื้อหาให้เรื่อย จนกว่าผมจะไม่มีอะไรจะลงแล้ว แต่คงอีกนานโขเลย d_d
ว่าแล้วก็เพิ่มเนื้อหานิดนึง ;D
-
การต่อตัวเก็บประจุแบบอนุกรมและแบบขนาน ในบางกรณีหรือในบางวงจรที่จำเป็นต้องมีการต่อตัวเก็บประจุร่วมกัน อาจจะเพื่อผลในการเก็บประจุให้เพิ่มขึ้น หรือเพื่อเพิ่มอัตราการทนแรงดัน หรือในวงจรจำพวก band pass filter โดยการต่อร่วมกันของตัวเก็บประจุแบ่งได้ 2 แบบดังนี้
1.การต่อตัวเก็บประจุแบบขนาน (Parallel Capacitors) คือการนำตัวเก็บประจุมาต่อในลักษณะขนานกันหรือคร่อมกันไปเรื่อยๆ การต่อในลักษณะนี้จะมีผลทำให้ค่าความเก็บประจุใหม่ที่ได้มีค่าเพิ่ม ในขณะที่อัตราการทนแรงดันของตัวเก็บประจุจะมีค่าเท่าเดิม ลองเปรียบเทียบตัวเก็บประจุเป็นแบตเตอรี่ซิครับ ถ้าเราเอาแบตเตอรี่ต่อขนานกันจะสามารถจ่ายกระแสได้เพิ่มขึ้น แต่แรงดันที่ได้จะมีค่าเท่าเดิม ใช่หรือไม่ครับ ?
-
นักเรียนภาคค่ำ รายงานตัวครับ ;D
-
การต่อตัวเก็บประจุแบบขนานสามารถหาค่าความจุใหม่ที่เกิดขึ้น (Cp) ตามวงจร ได้จากสมการดังรูปด้านล่างครับ
-
c) c) c)
-
1.การต่อตัวเก็บประจุแบบอนุกรม (Series Capacitors) คือการนำตัวเก็บประจุมาต่อในลักษณะอนุกรมกันหรือพ่วงกันไปเรื่อยๆ การต่อในลักษณะนี้จะมีผลทำให้ค่าความเก็บประจุใหม่ที่ได้มีค่าลดลงในลักษณะผกผัน ในขณะที่อัตราการทนแรงดันของตัวเก็บประจุจะมีค่าเพิ่มขึ้นตามอัตราการทนแรงดันของตัวเก็บประจุแต่ละตัวรวมกัน หากเปรียบเทียบตัวเก็บประจุเป็นแบตเตอรี่ ถ้าเราเอาแบตเตอรี่ต่ออนุกรมกันจะสามารถจ่ายแรงดันได้เพิ่มขึ้นครับ จากรูปเป็นลักษณะการต่อแบบอนุกรมครับ
-
การต่อตัวเก็บประจุแบบอนุกรมสามารถหาค่าความจุที่เกิดขึ้นใหม่ได้จากสมการดังรูปด้านล่างครับ
-
ขอเข้ามาเก็บความรู้ ด้วยคนครับ
c) c) c)
-
ก่อนผ่านไปเรื่องการตรวจเช็คตัวเก็บประจุ ลองทำแบบทดสอบกันหน่อยครับ
1. จากรูปเป็นตัวเก็บประจุค่า 3900uF / 400V อยากทราบค่า CS ใหม่ที่ได้จะมีค่าเก็บประจุเท่าไหร่ ทนแรงดันได้กี่โวลท์ ?
-
2. แล้วถ้าต่อแบบนี้ครับ ตัวเก็บประจุค่าเดียวกันกับข้อ 1 จะได้ค่าเก็บประจุใหม่เท่าไหร่ ทนแรงดันได้กี่โวลท์ ?
-
ตอบการบ้าน
ข้อ1 ค่าความจุเท่ากับ 3900MFD ทนแรงดัน 3200v.
ข้อ2 ค่าความจุเท่ากับ 31200 MFD ทนแรงดัน 400v.
ถูกอ๊ะป่าว คุณครู ;D
-
ตอบการบ้าน
ข้อ1 ค่าความจุเท่ากับ 3900MFD ทนแรงดัน 3200v.
ข้อ2 ค่าความจุเท่ากับ 31200 MFD ทนแรงดัน 400v.
ถูกอ๊ะป่าว คุณครู ;D
ข้อ 1 ผิดครับ ;D
-
รอเฉลย K]
-
ตอบการบ้าน
ข้อ1 ค่าความจุเท่ากับ 3900MFD ทนแรงดัน 3200v.
ข้อ2 ค่าความจุเท่ากับ 31200 MFD ทนแรงดัน 400v.
ถูกอ๊ะป่าว คุณครู ;D
ข้อ 1 ผิดครับ ;D
น่าจะ 3900/8=487.5 uF 400*8=3200V ครับ
-
พี่ครับ ผมเคยเห็น C แบบ Electrolytic ค่าความจุกับค่าทนแรงดันเท่ากัน แต่ขนาดต่างกัน กระป๋องใหญ่กับกระป๋องเล็กมันต่างกันยังไงครับ
-
พี่ครับ ผมเคยเห็น C แบบ Electrolytic ค่าความจุกับค่าทนแรงดันเท่ากัน แต่ขนาดต่างกัน กระป๋องใหญ่กับกระป๋องเล็กมันต่างกันยังไงครับ
ลองถ่ายรูปมาดีกว่าครับ จะได้ช่วยกันวิเคราะห์ Y]
-
เฉลยจากตัวอย่างที่ตั้งคำถามไว้ครับ
รูปที่ 1 ค่าความจุรวมเท่ากับ 1/Cs = (1/3900 + 1/3900 + 1/3900 + 1/3900 + 1/3900 + 1/3900 + 1/3900 + 1/3900)
1/Cs = ( 0.0002564 x 8 )
1/Cs = 0.002051...
Cs = 1 / 0.002051...
Cs = 487.5uF
หรือหากค่าที่นำมาต่ออนุกรมมีค่าเท่ากันหมดก็เอาค่านั้นหารจำนวนตัวที่อนุกรมได้เลย เช่น 3900 / 8 = 487.5uF
สามารถทนแรงดันได้ = 400V x 8 = 3200 V
รูปที่ 2 ค่าความจุรวมเท่ากับ Cs = 3900+3900+3900+3900+3900+3900+3900+3900 = 31200uF
หรือ Cs = 3900 x 8 = 31200uF
สามารถทนแรงดันได้ = 400V
ท่านใดได้คำตอบตามนี้ O0 พบกันใหม่ในเรื่องการตรวจเช็คตัวเก็บประจุครับ มีข้อสงสัยสอบถามได้ครับ Y]
-
เฉลยจากตัวอย่างที่ตั้งคำถามไว้ครับ
รูปที่ 1 ค่าความจุรวมเท่ากับ 1/Cs = (1/3900 + 1/3900 + 1/3900 + 1/3900 + 1/3900 + 1/3900 + 1/3900 + 1/3900)
1/Cs = ( 0.0002564 x 8 )
1/Cs = 0.002051...
Cs = 1 / 0.002051...
Cs = 487.5uF
หรือหากค่าที่นำมาต่ออนุกรมมีค่าเท่ากันหมดก็เอาค่านั้นหารจำนวนตัวที่อนุกรมได้เลย เช่น 3900 / 8 = 487.5uF
สามารถทนแรงดันได้ = 400V x 8 = 3200 V
รูปที่ 2 ค่าความจุรวมเท่ากับ Cs = 3900+3900+3900+3900+3900+3900+3900+3900 = 31200uF
หรือ Cs = 3900 x 8 = 31200uF
สามารถทนแรงดันได้ = 400V
ท่านใดได้คำตอบตามนี้ O0 พบกันใหม่ในเรื่องการตรวจเช็คตัวเก็บประจุครับ มีข้อสงสัยสอบถามได้ครับ Y]
อาจารย์ครับ ยกตัวอย่างการต่อแบบอนุกรมแล้วค่า C ไม่เท่ากันลองดูครับ ขอบคุณครับ
-
จัดให้ตามที่พี่ duang53 ขอมาครับ ลองไปคิดกันเล่นๆก่อนครับ ได้คำตอบเท่าไหร่ (ค่าความจุเท่าไหร่ ทนแรงดันได้เท่าไหร่)
-
จัดให้ตามที่พี่ duang53 ขอมาครับ ลองไปคิดกันเล่นๆก่อนครับ ได้คำตอบเท่าไหร่ (ค่าความจุเท่าไหร่ ทนแรงดันได้เท่าไหร่)
ขอตอบครับ ค่าความจุ 24.3 ไมโครฟารัด ค่าแรงดัน 1450 โวลท์ ครับ
-
จัดให้ตามที่พี่ duang53 ขอมาครับ ลองไปคิดกันเล่นๆก่อนครับ ได้คำตอบเท่าไหร่ (ค่าความจุเท่าไหร่ ทนแรงดันได้เท่าไหร่)
ขอตอบครับ ค่าความจุ 24.3 ไมโครฟารัด ค่าแรงดัน 1450 โวลท์ ครับ
แสดงวิธีทำด้วยครับ เดี๋ยวมีรางวัลส่งไปให้ :whistling
-
จัดให้ตามที่พี่ duang53 ขอมาครับ ลองไปคิดกันเล่นๆก่อนครับ ได้คำตอบเท่าไหร่ (ค่าความจุเท่าไหร่ ทนแรงดันได้เท่าไหร่)
ขอตอบครับ ค่าความจุ 24.3 ไมโครฟารัด ค่าแรงดัน 1450 โวลท์ ครับ
แสดงวิธีทำด้วยครับ เดี๋ยวมีรางวัลส่งไปให้ :whistling
1/cs=1/330+1/470+1/68+1/47
1/cs=.0030303+.0021276+.0147058+.0212765
1/cs=0.0411394
cs=1/0.0411394
cs=24.3 ไมโครฟารัด
หาโวลท์ ต่อแบบอนุกรม จะได้โวลท์เพิ่ม =200+450+400+400= 1450โวลท์ ครับ
-
จัดให้ตามที่พี่ duang53 ขอมาครับ ลองไปคิดกันเล่นๆก่อนครับ ได้คำตอบเท่าไหร่ (ค่าความจุเท่าไหร่ ทนแรงดันได้เท่าไหร่)
ขอตอบครับ ค่าความจุ 24.3 ไมโครฟารัด ค่าแรงดัน 1450 โวลท์ ครับ
แสดงวิธีทำด้วยครับ เดี๋ยวมีรางวัลส่งไปให้ :whistling
1/cs=1/330+1/470+1/68+1/47
1/cs=.0030303+.0021276+.0147058+.0212765
1/cs=0.0411394
cs=1/0.0411394
cs=24.3 ไมโครฟารัด
หาโวลท์ ต่อแบบอนุกรม จะได้โวลท์เพิ่ม =200+450+400+400= 1450โวลท์ ครับ
เดี๋ยวหาของรางวัลก่อน ส่งให้แล้วจะแจ้งน่ะครับ :whistling
-
จัดให้ตามที่พี่ duang53 ขอมาครับ ลองไปคิดกันเล่นๆก่อนครับ ได้คำตอบเท่าไหร่ (ค่าความจุเท่าไหร่ ทนแรงดันได้เท่าไหร่)
ขอตอบครับ ค่าความจุ 24.3 ไมโครฟารัด ค่าแรงดัน 1450 โวลท์ ครับ
แสดงวิธีทำด้วยครับ เดี๋ยวมีรางวัลส่งไปให้ :whistling
1/cs=1/330+1/470+1/68+1/47
1/cs=.0030303+.0021276+.0147058+.0212765
1/cs=0.0411394
cs=1/0.0411394
cs=24.3 ไมโครฟารัด
หาโวลท์ ต่อแบบอนุกรม จะได้โวลท์เพิ่ม =200+450+400+400= 1450โวลท์ ครับ
เดี๋ยวหาของรางวัลก่อน ส่งให้แล้วจะแจ้งน่ะครับ :whistling
สงสัยรางวัล เป็นบ้าน พร้อมหนี้สิน
-
จัดให้ตามที่พี่ duang53 ขอมาครับ ลองไปคิดกันเล่นๆก่อนครับ ได้คำตอบเท่าไหร่ (ค่าความจุเท่าไหร่ ทนแรงดันได้เท่าไหร่)
ขอตอบครับ ค่าความจุ 24.3 ไมโครฟารัด ค่าแรงดัน 1450 โวลท์ ครับ
แสดงวิธีทำด้วยครับ เดี๋ยวมีรางวัลส่งไปให้ :whistling
1/cs=1/330+1/470+1/68+1/47
1/cs=.0030303+.0021276+.0147058+.0212765
1/cs=0.0411394
cs=1/0.0411394
cs=24.3 ไมโครฟารัด
หาโวลท์ ต่อแบบอนุกรม จะได้โวลท์เพิ่ม =200+450+400+400= 1450โวลท์ ครับ
เดี๋ยวหาของรางวัลก่อน ส่งให้แล้วจะแจ้งน่ะครับ :whistling
สงสัยรางวัล เป็นบ้าน พร้อมหนี้สิน
c) c) 2f 2f 2f
-
1450V เป็นคำตอบที่ผิดครับ อาจารย์ Audio Boy ลองหาคำตอบมาเฉลยลูกศิษย์หน่อยครับ บอกใบ้ว่าอย่าลืมกฎของตัวเก็บประจุ Q = C x V ครับ ;D
-
1450V เป็นคำตอบที่ผิดครับ อาจารย์ Audio Boy ลองหาคำตอบมาเฉลยลูกศิษย์หน่อยครับ บอกใบ้ว่าอย่าลืมกฎของตัวเก็บประจุ Q = C x V ครับ ;D
สงสัยคงต้องรบกวนอาจารย์อาร์ตชี้แนะแล้วครับ ผมเองก็ลักจำมาแบบนี้ พอไปเปิดตำราดูอีกที :D อ่านแล้วยังงง งานนี้รบกวนอาจารย์อาร์ตชี้แนะด้วย :stretcher
-
กฏของตัวเก็บประจุ Q = C x V, Q = จำนวนประจุ (Coulomb), C = Capacitance (Farad), V = แรงดันระหว่าง Plate (Volt) การเอาตัวเก็บประจุมาอนุกรม โดยพื้นฐานแล้วจำนวนประจุ Q ที่เก็บได้จะเท่ากับของตัวเก็บประจุที่เล็กที่สุดครับ เล็กที่สุดในที่นี้หมายถึง Q นะครับ ไม่ใช่ C
ทีนี้สมมุติกรณีที่เราเอา C1 1uF/100V มาอนุกรมกับ C2 1uF/1V C ชุดนี้จะทนได้กี่ Volt? ต้องคำนวณจำนวนประจุ Q บนแต่ละ C ก่อนครับ Q1 = 100uC (micro-coulomb) Q2 = 1uC นั่นเท่ากับว่า C ชุดนี้อนุกรมกัน จะเก็บประจุได้ 1uC เท่านั้น เมื่อคำนวณกลับไปหา V ที่ตกคร่อม C แต่ละตัว จะได้ว่า V = Q/C, V1=1uC/1uF = 1V และ C2 = 1uC/1V = 1V เช่นกัน เท่ากับ C ชุดนี้ทนแรงดันได้ 2V เท่านั้นครับ ไม่ใช่ 101V อย่างที่เข้าใจกันว่าบวกกันได้เลย
แล้วถ้าเราเอา C ชุดนี้ต่อกับแรงดันมากกว่า 2V แล้วจะเป็นอย่างไร สมมุติ 10V ละกัน เนื่องจากค่า C ทั้ง 2 = 1uF เหมือนกัน แรงดันตกคร่อม C ทั้ง 2 จึงเท่ากัน V2 = 5V เกิน Rating 1V ที่มันทนได้ และน่าจะเสียหายครับ
เพราะฉะนั้นเอา C ค่าไม่เท่ากันมาต่ออนุกรมกัน จะต้องคำนวณว่าแรงดันตกคร่อม C แต่ละตัวจะเป็นเท่าไหร่ บนพื้นฐานว่าประจุที่ C ทั้งชุดจะเก็บได้ ต้องไม่เกิน Q ที่เล็กที่สุด
อาจารย์ Audio Boy ลองทำความเข้าใจหลักการคิดและประยุกต์กับโจทย์ที่ตั้งมาดูนะครับ อาจจะลองตัด C ให้เลือก 3 ตัวก่อนก็ได้ครับ สู้ๆ ครับ :victory
-
ลองพิจารณาดูในเวบนี้ครับ http://elec.chandra.ac.th/learn/courses/ELTC1203/capacitor/ccircuit.htm :D
-
ขอสรุปแนวคิดการคำนวณหาค่าเก็บประจุและการทนแรงดันของตัวเก็บประจุที่นำมาต่อกันแบบอนุกรม ตามแนวคิดของอาจารย์อาร์ตที่เพิ่มเติมมาเพื่อความเข้าใจ แบ่งได้เป็น 2 กรณี
1. เมื่อตัวเก็บประจุที่นำมาต่ออนุกรมมีค่าเก็บประจุเท่ากัน และ ทนแรงดันได้เท่ากัน สามารถหาค่าเก็บประจุได้จากสมการด้านล่างนี้
(http://image.ohozaa.com/i/e2b/seriescapacitor.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=5a860c7d6d3f8d158480a0080ab6d6d9)
และสามารถทนแรงดันได้เท่ากับ ผลรวมของแรงดันที่แต่ละตัวทนได้ครับ
Veq = Vc1 + Vc2 + Vc3 + ..... + Vcn
2. เมื่อตัวเก็บประจุที่นำมาต่ออนุกรมมีค่าเก็บประจุไม่เท่ากัน หรือ ทนแรงดันได้ไม่เท่ากัน สามารถหาค่าเก็บประจุได้โดยใช้สมการในกรณีที่ 1
และสามารถหาค่าการทนแรงดันได้โดยใช้ความสัมพันธ์จากกฎของคูลอมบ์ คือ Q = C x V
เมื่อ Q คือ ค่าความจุไฟฟ้า หน่วยคูลอมบ์
C คือ ค่าความจุไฟฟ้า หน่วยฟารัด
V คือ ค่าแรงดันไฟฟ้า หน่วยโวลท์
โดยเลือกค่าเก็บประจุ (คูลอมบ์) ค่าที่น้อยที่สุด นำมาคำนวณหาค่าอัตราการทนแรงดันใหม่ครับ
หรืออาจจะหาค่าแรงดันที่ทนได้ก่อนและนำไปคำนวณหาค่าความเก็บประจุทีหลังก็จะได้ค่าเท่ากับที่คำนวณได้จากสมการในกรณีที่ 1 ครับ
-
ตัวอย่างการคำนวณหาค่าเก็บประจุและอัตราการทนแรงดัน ของตัวเก็บประจุที่ค่าความจุไม่เท่ากันและทนแรงดันไม่เท่ากัน นำมาต่ออนุกรมกัน จากตัวอย่างเดิมครับ
(http://image.ohozaa.com/i/60e/capacitor_test_0022.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=c492576551b43cd87fc1fb76c9bb405a)
1. หาค่าความจุไฟฟ้าโดยใช้สมการหาค่าเก็บประจุต่ออนุกรมกัน
ค่าความจุรวมเท่ากับ 1/Cs = (1/330 + 1/470 + 1/68 + 1/47 )
1/Cs = (.0030303+.0021276+.0147058+.0212765)
1/Cs = 0.0411394
Cs = 1 / 0.0411394
Cs = 24.3 uF
2. หาค่าการทนแรงดันไฟฟ้าจากความสัมพันธ์จากกฎของคูลอมบ์ Q = C x V โดยหา Q ของตัวเก็บประจุแต่ละตัว และพิจารณา Q ที่เล็กที่สุด นำมาคำนวณอัตราการทนแรงดันรวม
Q1 = C1 x V1 = 330uF x 200V = 0.066 คูลอมบ์
Q2 = C2 x V2 = 470uF x 450V = 0.2115 คูลอมบ์
Q3 = C3 x V3 = 68uF x 400V = 0.0272 คูลอมบ์
Q4 = C4 x V4 = 47uF x 400V = 0.0188 คูลอมบ์ * ค่าเล็กที่สุดที่จะนำไปพิจารณา (Qs)
คำนวณอัตราการทนแรงดันจากกฎของคูลอมบ์ V = Q / C
V = 0.0188 / 24.3uF = 773.66 V ( ตัวเก็บประจุที่ต่ออนุกรมกันสามารถทนแรงดันได้ 773.66 โวลท์ )
หรือหากพิจารณาแรงดันที่ตกคร่อมแรงดันแต่ละตัว
Vc1 = Qs / C1 = 0.0188 / 330uF = 56.97 V
Vc2 = Qs / C2 = 0.0188 / 470uF = 40 V
Vc3 = Qs / C3 = 0.0188 / 68uF = 276.47 V
Vc4 = Qs / C4 = 0.0188 / 47uF = 400 V
ผลรวมของแรงดันที่ตกคร่อมตัวเก็บประจุแต่ละตัวจะมีค่าเท่ากับ 773.44 โวลท์ (ใกล้เคียงกัน) แต่จะเห็นว่าตัวเก็บประจุที่ค่าน้อยที่สุดจะมีแรงดันตกคร่อมมากที่สุด
วิธีที่ดีที่สุดสำหรับการนำไปใช้งานจริง เช่นนำไปใช้ในวงจร Filter ไฟแรงดันสูง คือ ใช้ตัวเก็บประจุที่มีค่าเท่ากันและทนแรงดันได้เท่ากัน จะดีกว่าครับ
ต้องขอขอบคุณอาจารย์อาร์ต (Mr.Tube) ที่แนะนำครับ หากมีส่วนไหนจะเพิ่มเติ่มในเรื่องต่อๆไปก็ยินดีครับ
-
ถูกต้องครับ :clap เชิญสาธยายต่อเลยครับอาจารย์ O0
-
เอาหละครับเริ่มเข้าใจแล้วครับ ต้องให้การบ้านลูกศิษย์หน่อยครับ :wiggle
-
หลงเข้าใจผิดมาซะนาน ตอนนี้เข้าใจแล้วครับ Y]
-
จบอิเล็คมาครับหมดค่าเหล้าให้อาจารณ์ไปก็หลายขวดกว่าจะรอดตัวมาได้ เพิ่งรู้จริงๆก็วันนี้แหละ c) ขอบคุณทุกๆท่านมากครับ
-
เข้าใจเลยว่าผิดมานาน ผมมี SE อยู่เครื่องหนึ่งแรงดัน 460V. ผมใช้ C 220UF/450V ต่ออนุกรม C 220UF/400V ใช้ได้ประมาณ 2 เดือน C บวมเยิ้ม มีเสียง แป๊ด ๆ ๆออกลำโพงเลยครับ ขอบคุณครับ
-
เข้าใจเลยว่าผิดมานาน ผมมี SE อยู่เครื่องหนึ่งแรงดัน 460V. ผมใช้ C 220UF/450V ต่ออนุกรม C 220UF/400V ใช้ได้ประมาณ 2 เดือน C บวมเยิ้ม มีเสียง แป๊ด ๆ ๆออกลำโพงเลยครับ ขอบคุณครับ
O0 O0 O0
-
:bye1 สวัสดีครับสมาชิกใหม่ครับ ไม่มีความรู้ด้านนี้เลย ขอเข้ามาแอบศึกษาหาความรู้ด้วยคนนะครับ
ลองอ่านข้อมูลแล้ว เข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง จะพยายามเก็บเกี่ยวข้อมูลไปก่อนนะครับ :victory
-
สวัสดีครับวันที่สมัครสมาชิกคือวันที่ได้วิทยุโบราณ Graetz 155WT มาหนึ่งตัว ดูแล้วถูกซ่อมมา คนขายเค้าบอกว่ามาจากสุพรรณ
ผมเปิดwetของเค้าดูแล้ว มีการมาเปิดตัวที่ปีนัง 1953 ---มี6หลอด ไม่กล้าเปิดคนขายบอกมันเสียอยู่ ซื้อมาหลักพันนะ
แต่ตอนนี้ก็กำลังทำแอมร์หลอดอยู่อีกหนึ่งตัว ยังไม่เสร็จครับ ต้องมาอ่านวิชาทำแอมร์หลอดจากห้องนี้ครับ
ขอบคุณคณาจารย์ทั้งหลายไว้ณ ที่นี้ :clap c)
นกตีทอง
-
:D :D :D ยิ่งอ่านยิ่งมึน ค่อยๆเก็บข้อมูลตามเรื่อยๆครับ สู้ๆๆๆ :showoff :showoff :showoff
-
การวัดและตรวจสอบตัวเก็บประจุ เมื่อเกิดข้อสงสัยว่าตัวเก็บประจุที่เราๆนั้นได้มาจะเอามาใส่แอมป์หลอดหรือวงจรอันเป็นที่รักนั้น จะมีอาการเสีย/เสื่อมหรือไม่ เราจะมีวิธีการทดสอบอย่างไร ผมมีวิธีการทดสอบมาแนะนำกันครับ โดยคร่าวๆแล้วเราสามารถใช้เครื่องมือวัดทดสอบได้ เครื่องมือวัดที่ว่านี้อาจจะเป็น LCR มิเตอร์ คาปาซิเตอร์มิเตอร์ ย่านวัดโอห์มของมิเตอร์ชนิดเข็ม หรือการทำสอบโดยแรงดันทดสอบเป็นต้น
1. การวัดค่าตัวเก็บประจุโดยใช้ LCR มิเตอร์ ทำได้โดยการปรับเลือกย่านสำหรับวัดค่าตัวเก็บประจุและเลือกย่านวัดที่เหมาะสม การจะพิจารณาว่าค่าที่ได้นั้นดีหรือเสีย นำไปใช้งานได้หรือไม่ ให้พิจารณาจากค่าที่วัดได้เปรียบเทียบกับค่าที่ระบุไว้ โดยจะต้องไม่เกินช่วงความผิดพลาดที่ระบุไว้ เช่น +- 10% +- 20% เป็นต้น แต่หากไม่มีการระบุช่วงค่าความผิดพลาดไว้ ผมแนะนำไม่เกิน +- 20% ซึ่งเป็นค่าที่มากทีเดียวอันนี้แล้วแต่ความสบายใจน่ะครับ ตัวอย่างเช่น ตัวเก็บประจุระบุค่า 220uF ค่าที่วัดได้แล้วอยู่ในเกณฑ์ที่นำไปใช้งานได้จะอยู่ในช่วง 176 - 264 uF เป็นต้นครับ
-
การวัดและตรวจสอบตัวเก็บประจุ เมื่อเกิดข้อสงสัยว่าตัวเก็บประจุที่เราๆนั้นได้มาจะเอามาใส่แอมป์หลอดหรือวงจรอันเป็นที่รักนั้น จะมีอาการเสีย/เสื่อมหรือไม่ เราจะมีวิธีการทดสอบอย่างไร ผมมีวิธีการทดสอบมาแนะนำกันครับ โดยคร่าวๆแล้วเราสามารถใช้เครื่องมือวัดทดสอบได้ เครื่องมือวัดที่ว่านี้อาจจะเป็น LCR มิเตอร์ คาปาซิเตอร์มิเตอร์ ย่านวัดโอห์มของมิเตอร์ชนิดเข็ม หรือการทำสอบโดยแรงดันทดสอบเป็นต้น
1. การวัดค่าตัวเก็บประจุโดยใช้ LCR มิเตอร์ ทำได้โดยการปรับเลือกย่านสำหรับวัดค่าตัวเก็บประจุและเลือกย่านวัดที่เหมาะสม การจะพิจารณาว่าค่าที่ได้นั้นดีหรือเสีย นำไปใช้งานได้หรือไม่ ให้พิจารณาจากค่าที่วัดได้เปรียบเทียบกับค่าที่ระบุไว้ โดยจะต้องไม่เกินช่วงความผิดพลาดที่ระบุไว้ เช่น +- 10% +- 20% เป็นต้น แต่หากไม่มีการระบุช่วงค่าความผิดพลาดไว้ ผมแนะนำไม่เกิน +- 20% ซึ่งเป็นค่าที่มากทีเดียวอันนี้แล้วแต่ความสบายใจน่ะครับ ตัวอย่างเช่น ตัวเก็บประจุระบุค่า 220uF ค่าที่วัดได้แล้วอยู่ในเกณฑ์ที่นำไปใช้งานได้จะอยู่ในช่วง 176 - 264 uF เป็นต้นครับ
cosmos ค่า ตรงเป๊ะ ทุกตัว ;D ;D ;D
-
รายงานตัวหน่อย เนื่องจากหายจากกระทู้นี้ไปนาน ไม่ได้ต่อเติมเนื้อหา เนื่องจากผมกำลังเคลียร์เรื่องการเรียนอยู่ครับ ไว้เสร็จแล้วจะมาเพิ่มเติมที่ค้างคาไว้ แล้วจะเอาเรื่องเรียนที่กำลังเคลียร์อยู่มาโม้ที่นี่ด้วย หุหุหุ :headphone
-
รายงานตัวหน่อย เนื่องจากหายจากกระทู้นี้ไปนาน ไม่ได้ต่อเติมเนื้อหา เนื่องจากผมกำลังเคลียร์เรื่องการเรียนอยู่ครับ ไว้เสร็จแล้วจะมาเพิ่มเติมที่ค้างคาไว้ แล้วจะเอาเรื่องเรียนที่กำลังเคลียร์อยู่มาโม้ที่นี่ด้วย หุหุหุ :headphone
นึกว่าอาจารย์ลืมลูกศิษย์เสียแล้ว
-
เมื่อไร จะมาเปิดห้องเรียนต่อละครับ
-
อาจารย์ครับเปิดเทอมแล้วครับ
-
อาจารย์ครับเปิดเทอมแล้วครับ
รับทราบ ขอเตรียมรูปภาพประกอบสักแป็บนึงน่ะครับ ;)
-
ต้องขออภัยก่อนที่ห่างหายไปนานน่ะครับ ขอต่อเลยดีกว่า ไม่อยากโม้มากเอาเนื้อๆน้ำไม่ต้อง ;D ;D ;D มีข้อมูลดีๆก็เสริมกันได้ กระทู้นี้เป็นของเพื่อนๆสมาชิกทุกคน ใครมีอะไรที่เป็นความรู้ดีๆก็เอามาแบ่งปันกันที่นี่ได้เลยครับ
การทดสอบตัวเก็บประจุด้วยมิเตอร์ชนิดเข็ม
วิธีนี้ผมนิยมใช้บ่อยๆครับ คิดว่าเป็นที่นิยมวิธีหนึ่ง แม้วิธีการนี้จะไม่สามารถวัดค่าความจุได้ แต่สามารถทดสอบได้ว่า C ตัวนั้นๆ รั่วหรือเปล่า ผมให้ความถูกต้องในการทดสอบด้วยวิธีนี้ 90% ครับ O0
อุปกรณ์ที่ใช้ก็ง่ายคือ มัลติมิเตอร์ชนิดเข็ม (ที่เชื่อถือได้ ;D) 1 ตัว กับตัวเก็บประจุที่ต้องการทดสอบ
ขั้นตอนในการทดสอบมีดังนี้
1. ปรับย่านวัดของมัลติมิเตอร์ไปที่ "ย่านวัดความต้านทาน"
หลักในการพิจาณาว่าควรตั้งย่านวัดไว้ที่ x1 , x10 , x1k , x10k .... หากทราบค่าความจุให้พิจารณาว่า ค่าความจุมากตั้งย่านวัดต่ำๆ (x1 , x10 ...) ค่าความจุน้อยตั้งย่านวัดสูงขึ้น (x1k , x10k ...)
-
c) c) c) ต่อเนื่องแล้ว :drive1
-
ขอเรียนศึกษาด้วยคน ครับ
-
2. แตะสายวัดที่ขาของตัวเก็บประจุ จะสังเกตุเห็นเข็มของมิเตอร์สวิงขึ้นแล้วค่อยลงอย่างช้าๆ จนสุด จากนั้นสลับขั้วตัวเก็บประจุแล้วแตะสายวัดอีกครั้ง เข็มมิเตอร์ก็จะสวิงขึ้นและค่อยๆลงอย่างช้าๆ
- หากเข็มมิเตอร์สวิงลงช้าเกินไปให้ลองปรับย่านวัดลดลงเช่น x 10k เป็น x 1k เป็นต้น
- การสวิงลงของเข็มมิเตอร์จะลงมาจนสุดหรือใกล้สเกลด้านซ้ายมากที่สุด
- หากเข็มมิเตอร์สวิงลงไม่สุดหรือค้าง หมายถึงตัวเก็บประจุนั้น "เสีย" หรือ "รั่ว" ครับ
- ข้อควรระวัง " อย่าใช้มือจับปลายสายวัดหรือขั้วตัวเก็บประจุทั้ง 2 ขั้วพร้อมกัน เพราะจะทำให้ผลการทดสอบผิดพลาดได้ "
-
อาจารย์ครับ เครื่องมือวัดค่าไมโครฟารัด เชื่อถือได้มากแค่ไหน หรือใช้ควบคู่พร้อมกับเครื่องวัดแบบเข็มครับ
-
อาจารย์ครับ เครื่องมือวัดค่าไมโครฟารัด เชื่อถือได้มากแค่ไหน หรือใช้ควบคู่พร้อมกับเครื่องวัดแบบเข็มครับ
ขอตอบแบบส่วนตัวน่ะครับ
ส่วนใหญ่ผมจะใช้มิเตอร์แบบดิจิตอลวัดค่าก่อน ถ้าได้ตามที่ฉลากมันระบุหรือ +/- ไม่เกินที่มันระบุไว้ก็เอาไปใช้งานเลย แต่ถ้าวัดแล้วได้ค่ามาก/น้อยกว่าที่ระบุก็วัดด้วยมิเตอร์เข็มอีกทีนึง เพื่อความสบายใจ
แต่ในจุดที่มีความเสี่ยงต่อความมั่นคง เช่น พวกซีคับปลิงทั้งหลาย ก็วัดไปเหอะครับ สบายใจกว่าครับ Y]
-
อาจารย์ครับ เครื่องมือวัดค่าไมโครฟารัด เชื่อถือได้มากแค่ไหน หรือใช้ควบคู่พร้อมกับเครื่องวัดแบบเข็มครับ
ขอตอบแบบส่วนตัวน่ะครับ
ส่วนใหญ่ผมจะใช้มิเตอร์แบบดิจิตอลวัดค่าก่อน ถ้าได้ตามที่ฉลากมันระบุหรือ +/- ไม่เกินที่มันระบุไว้ก็เอาไปใช้งานเลย แต่ถ้าวัดแล้วได้ค่ามาก/น้อยกว่าที่ระบุก็วัดด้วยมิเตอร์เข็มอีกทีนึง เพื่อความสบายใจ
แต่ในจุดที่มีความเสี่ยงต่อความมั่นคง เช่น พวกซีคับปลิงทั้งหลาย ก็วัดไปเหอะครับ สบายใจกว่าครับ Y]
ครับผม ขอขอบคุณครับ
-
ได้ความรู้มากมาย ขอบคุณครับ แล้วจะคอยติดตาม O0
-
สมาชิกใหม่ขอเข้าห้องเรียนครับ c)
-
ขอแอบชม รำลึกถึงตอนเป็นนักเรียน ด้วยคนนะครับ :clap
-
ขออนุญาติอาจารย์แน่ะนำเทคนิควิธีการอ่านค่า C แบบไมล่าครับ
สมมุติว่าได้ค่า 425 มา ให้เราแยกสองตัวหน้าออกมาจะได้ 42 จากนั้นให้ถือเลข 5 เป็นหลักสำหรับเริ่มนับ โดยเราจะใช้วิธีนับหลักถอยหลังดังนี้
ให้นับเริ่มที่ห้าที่ตัวมันเองแล้วถอยไปที่เลข 2 ให้นับหก ถอยไปที่ 4 นับเจ็ด ตัวไหนสุดที่การนับเจ็ด ให้ใส่ทสนิยม (.) ลงไปข้างหลัง อย่าง 425 จะได้ 4.2 uF
ถ้า 473 ให้นับ 7 เป็นหลักที่ 4 , นับ 4 เป็นหลักที่ 5 จากนั้นใส่ 0 หลักที่ 6 , ใส่ 0 อีกตัวที่หลัก 7 จากนั้นใส่จุดทดสนิยม จะได้ 0.047 uF
สูตรนี้ใช้สอบตอนปีหนึ่งครับ สอบอ่านค่า C 10 ข้อ ทำเสร็จภายใน 1 นาที :whistling
-
ขออนุญาติอาจารย์แน่ะนำเทคนิควิธีการอ่านค่า C แบบไมล่าครับ
สมมุติว่าได้ค่า 425 มา ให้เราแยกสองตัวหน้าออกมาจะได้ 42 จากนั้นให้ถือเลข 5 เป็นหลักสำหรับเริ่มนับ โดยเราจะใช้วิธีนับหลักถอยหลังดังนี้
ให้นับเริ่มที่ห้าที่ตัวมันเองแล้วถอยไปที่เลข 2 ให้นับหก ถอยไปที่ 4 นับเจ็ด ตัวไหนสุดที่การนับเจ็ด ให้ใส่ทสนิยม (.) ลงไปข้างหลัง อย่าง 425 จะได้ 4.2 uF
ถ้า 473 ให้นับ 7 เป็นหลักที่ 4 , นับ 4 เป็นหลักที่ 5 จากนั้นใส่ 0 หลักที่ 6 , ใส่ 0 อีกตัวที่หลัก 7 จากนั้นใส่จุดทดสนิยม จะได้ 0.047 uF
สูตรนี้ใช้สอบตอนปีหนึ่งครับ สอบอ่านค่า C 10 ข้อ ทำเสร็จภายใน 1 นาที :whistling
งงตั้งนาน เคล็ดลับแบบนี้เอง
-
สมาชิกใหม่ขอเข้าห้องเรียนครับ
-
ขอบคุณมากครับ ได้ความรู้เยอะมาก
-
ความรู้ทั้งนั้น
-
ขอบคุณความรู้เบื้องต้นครับ
-
425 แยกเป็น 42 คูณ 100000(ศูนย์ 5 ตัว) แล้ว หาร 1000000(1ล้าน) ค่าที่ได้เป็น 4.2 ไมโครฟารัด
473 แยกเป็น 47 คูณ 1000(ศูนย์ 3 ตัว) แล้ว หาร 1000000(1ล้าน) ค่าที่ได้เป็น 0.047 ไมโครฟารัด
bigz
-
ข้อมูลดีๆขอบคุณครับ
-
ความรู้ดีๆทั้งนั้นเลย
ขอบคุณครับ
-
เรียนถามท่านอาจารย์ในห้องนี้ครับ
ผมต่อขาสวิทซื ที่ขา๑ กับขา๒ ไฟเข้าแต่สีแดงไม่ติด ผมเลยย้ายสายที่ขา๑มาขา๓ ไฟเข้า๑๖๕V สีแดงไม่ติดอีก ขา๑ละลายมากเลยไปซื้ออีกตัว หัวหน้าบอกไฟแดงต้องติด
เรียนถามท่านทั้งหลายด้วยผมจะต่ออย่างไรดีครับ ขอบคุณครับ
ฝั่งธนตลาดพูลน้ำกำลังจะมายังไม่ถึง อยู่ฝั่งท่าพระครับ
นกตีทอง เสืออ้อย
-
เรียนถามท่านอาจารย์ในห้องนี้ครับ
ผมต่อขาสวิทซื ที่ขา๑ กับขา๒ ไฟเข้าแต่สีแดงไม่ติด ผมเลยย้ายสายที่ขา๑มาขา๓ ไฟเข้า๑๖๕V สีแดงไม่ติดอีก ขา๑ละลายมากเลยไปซื้ออีกตัว หัวหน้าบอกไฟแดงต้องติด
เรียนถามท่านทั้งหลายด้วยผมจะต่ออย่างไรดีครับ ขอบคุณครับ
ฝั่งธนตลาดพูลน้ำกำลังจะมายังไม่ถึง อยู่ฝั่งท่าพระครับ
นกตีทอง เสืออ้อย
หลอดในสวิตส์เป็นแบบที่ใช้ 220 V ใช่หรือเปล่าครับ ถ้าใช่
ลองเอามิเตอร์ ตั้งย่านวัดความต้านทาน วัดที่ขา 1-2 ลองปิด เปิดสวิตส์ ถ้าขึ้นลงตามการเปิด ปิด แสดงว่า ชุด 1-2 เป็นสวิตส์ เอาสายที่มีไฟเข้าขา 1 สานออกไฟเข้าวงจร ต่อที่ขา 2 เอาสายนิวตรอน เข้าที่ขา 3 ครับ
-
สวิทช์ แบบ 220V 10Aครับ ขา 1 ไฟๆมาจากฟิวส์ ขา2ไปปลั้ก ด้าน G ขา3ป N ถูกต้องครับ
ขอบคุณครับ
-
ทำเสร็จแล้วครับ โง่ตั้นาน
น้ำทวมมีเวลาแอมป์ตัวที่สองต่อไปครับได้๕๐%แล้ว
-
แวะมาหาความรู้ชนิดของ ซีครับ จำไม่ค่อยได้สักที K] K]
-
มีประโยชน์มาก..ขอบคุณมากครับ
-
เข้ามาอ่านแล้ว ได้ความรู้เยอะเลย ขอบคุณมากครับ
-
แจ่มจริงๆ ขอบคุณครับ 8)
-
ขอเรียนด้วยคนครับ
ขอบคุณสิ่งดีๆที่ท่านๆมอบให้ครับ
-
สวัสดี ปีใหม่ครับ
-
สมาชิกใหม่ขอเข้าห้องเรียน กศน ด้วยครับ :yahoo ไม่มีความรู้ด้านนี้เลยแต่ได้อ่านบทเรียนทั้งที่อาจารและพี่ๆในห้องนี้ทาช่วยกัน ก็ทำให้เข้าใจไปอีกระดับนึงครับ
-
ความรู้ล้วนๆ
-
ขอบคุณครับกับข้อมูลดีๆ :clap :clap :clap
-
ดีจัง..ต้องขอบคุณท่านมากๆ ที่ช่วยให้ไม่ต้องไป search หานะครับ..เยี่ยมมากครับ..
-
มาลงทะเบียนเข้าเรียนอีกคนครับ ริ้อฟื้นความรู้และเพิ่มเติมส่วนที่ขาด ยอดมากครับ
-
ขอบคุณทุกท่าน d_d
...ในวาระดิถีขึ้นปีใหม่
ขออวยชัยทุกๆท่านจงสุขขี
ให้ประสพพบแต่สิ่งดีดี
และจงมีชีวีที่ยืนนาน :) :)
-
รออ่านต่ออยู่นะครับ c) :clap
-
เก็บความรู้ ขอบคุณครับ
-
เข้ามาเก็บความรู้ ขอบคุณครับ
-
ไม่มีใครมาสอนเพิ่มแล้วหรือครับ
-
อยากสอนต่อครับ แต่ผมห่างหายไปนานเลย ไม่รู้จะสอนตรงไหนต่อครับ เพราะหลุดออกนอกวงการไปพักใหญ่ ความรู้ก็คืนอาจารย์ไปหมดล่ะ ;D ปกติก็ไม่ได้มีความรู้อะไรมากมายน่ะครับ แต่อยากแบ่งปัน เด่วจะหามาแบ่งปันกันต่อน่ะครับ :victory
-
ผมขอถามต่อเรื่องวัดซีรั่วหรือไม่กรณีมีแต่ดิจิตอลมัลติมิตเตอร์(จีน),สามารถทำด้วยวิธีที่ว่ามาได้หรือไม่ครับ
ขอบคุณครับ
-
เป็นกระทู้ที่มีประโยชน์สำหรับมือใหม่อย่างผมจริงๆ ขอบคุณมากครับ ต่อๆ :)
-
ผมขอถามต่อเรื่องวัดซีรั่วหรือไม่กรณีมีแต่ดิจิตอลมัลติมิตเตอร์(จีน),สามารถทำด้วยวิธีที่ว่ามาได้หรือไม่ครับ
ขอบคุณครับ
หากมีย่านวัดค่าคาปาซิเตอร์ ก็ใช้ได้เลยครับ ค่าที่อ่านได้ก็ไม่ควรเกินหรือต่ำกว่าค่าบวก/ลบที่ระบุไว้ที่ฉลากหรือไม่ +/- เกิน10% ครับ ก็ถือว่ายังพอเอาไปใช้ได้
-
ถามเรื่องคาปาซิเตอร์ครับ ปกติมีวิธีคลายประจุในคาปาซิเตอร์ยังไงบ้างครับ
-
ห้องเรียนนี้ดีมากนะครับ ขอชื่นชม เหมื่อนเป็น
"วิกิพีเดีย" สารานุกรมงานดีไอวายเลยครับ :clap :clap :clap
-
ขอบคุณครับ มีประโยชน์มากเลยครับ
-
ถามเรื่องคาปาซิเตอร์ครับ ปกติมีวิธีคลายประจุในคาปาซิเตอร์ยังไงบ้างครับ
ถ้าไฟสูง ใช้ R 270 K 5 วัตต์คร่อมขั้วเลยครับ
-
ทบทวนความรู้ใหม่ดีครับ
-
ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ :clap
-
ขอบคุณครับ :kicking :wiggle :yahoo
-
สวัสดีครับ หายจากแวดวงไปนาน อยากจะเขียนกระทู้นี้ต่อแต่ยังไม่รู้จะเริ่มตรงไหน ความรู้ก็หายไปหมดแล้ว ทำไงดีครับ :cry2
-
เอาที่จำได่ก่อน :headphone
-
like ได้ความรู้มากครับ :clap
-
ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ :headphone
-
ขอบคุณครับ